ปิยกุล บุญเพิ่ม
ปิยกุล บุญเพิ่ม (28 ตุลาคม พ.ศ. 2499) ประธานศาลฎีกา คนที่ 47 โดยเป็นประธานศาลฏีกาหญิงที่สองในประวัติศาสตร์ศาลยุติธรรมของประเทศไทย[1] ประวัติปิยกุลสำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) มหาวิทยาลัยรามคำแหง นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา[2] ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา เมื่อพ.ศ. 2525 และได้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญ เช่น ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลแพ่ง ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ ประธานแผนกคดีล้มละลายในศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์[2] ในการทำงานผู้พิพากษา ปิยกุลเคยเป็นองค์คณะพิจารณาชั้นอุทธรธ์คดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เช่น คดี อม.อธ.3/2562 (คดีจีทูจี) ในส่วนของจำเลยที่ 16 (นายสุธี เชื่อมไธสง), อม.อธ.4/2562 ของนางชญาดา วิภัติภูมิประเทศ อดีตสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ในคดีบัญชีทรัพย์สิน, คดี อม.อธ.5/2562 คดีนางนาที รัชกิจประการ ถูกกล่าวหาจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินด้วยข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อเท็จจริง[3] เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) ได้พิจารณาเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา คนที่ 47 ต่อจากนางเมทินี ชโลธร โดยดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564[4] - 30 กันยายน พ.ศ. 2565 สิ้นสุดวาระเนื่องจากอายุครบ 65 ปี ระหว่างการดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา ได้มีการจัดตั้งแผนกคดีซื้อขายออนไลน์ในศาลแพ่ง เนื่องจากช่องทางระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ไม่เอื้อต่อการที่ผู้บริโภคจะเข้าถึงได้โดยสะดวก เป็นผลให้ผู้บริโภคจำนวนมากไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหาย จากการถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่สุจริต จึงมีความจำเป็นต้องจัดตั้งแผนกคดีซื้อขายออนไลน์ขึ้นในศาลแพ่งให้เป็นระบบศาลอิเล็กทรอนิกส์เต็มรูปแบบ ซึ่งผู้ที่มีข้อพิพาทอันเกิดจากการบริโภควิถีใหม่สามารถเข้าถึงศาล และใช้สิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีด้วยตนเองได้โดยสะดวก เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้อย่างเป็นธรรมและเป็นไปด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้น[5] หลังจากพ้นจากตำแหน่งประธานศาลฎีกา ปิยกุลยังคงทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา และเป็นองค์คณะพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เช่น คดี อม.9/2567[6] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|