ฝรั่ง
ฝรั่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Psidium guajava Linn.) เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ในวงศ์ Myrtaceae ฝรั่งเป็นพืชที่มีจุดกำเนิดอยู่ในอเมริกากลางและหมู่เกาะเวสต์อินดีส หลักฐานทางโบราณคดีในเปรูชี้ให้เห็นว่า มีฝรั่งมาตั้งแต่ 800 ปีก่อนคริสตกาล พ่อค้าชาวสเปนและโปรตุเกสเป็นผู้นำผลไม้ชนิดนี้ไปยังถิ่นต่าง ๆ ทั่วโลก เข้ามาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ 17 ส่วนในประเทศไทย คาดว่าเข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช[1] คำว่าฝรั่งในภาษาอังกฤษคือ Guava ซึ่งมาจากภาษาสเปน คำว่า Guayaba และ ภาษาโปรตุเกส คำว่า Goiaba ฝรั่งมีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ อีกคือ ย่าหมู (สุราษฎร์ธานี) ชมพู่ (ตรัง, ปัตตานี) มะก้วย (เชียงใหม่,เหนือ) มะก้วยกา (เหนือ) มะกา (กลาง,แม่ฮ่องสอน) มะจีน (ตาก) มะมั่น (เหนือ) ยะมูบุเตบันยา (มลายู นราธิวาส) ยะริง (ละว้า เชียงใหม่) ยามุ หรือ ย่าหมู หรือ ย่าหวัน[2] (ใต้) และ สีดา (นครพนม,นราธิวาส)[3] ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ฝรั่งเป็นไม้ยืนต้น สูง 3-10 เมตร ต้นเกลี้ยงมัน เปลือกต้นเรียบ ใบเดี่ยว กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ยอดอ่อนมีขนสั้น ๆ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-8 ซม. ยาว 6-14 ซม. ดอกเดี่ยวหรือช่อ 2-3 ดอก ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ร่วงง่าย มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก ผลดิบสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีเหลือง [4] การใช้ประโยชน์ชาวยุโรปนิยมบริโภคฝรั่งสุก โดยนำไปทำพายและขนมได้หลายชนิด ส่วนชาวเอเชียนิยมบริโภคฝรั่งแก่จัดแต่ยังไม่สุก และนำไปแปรรูป เช่นทำเป็นฝรั่งดอง ฝรั่งแช่บ๊วย นอกจากนั้น ฝรั่งยังมีฤทธิ์เป็นยาสมุนไพร ใบฝรั่งใช้ดับกลิ่นปาก น้ำต้มใบฝรั่งสด มีฤทธิ์ทางด้านป้องกันลำไส้อักเสบ ท้องเสีย ใช้ทาแก้ผื่นคัน พุพองได้ น้ำต้มผลฝรั่งตากแห้ง มีฤทธิ์แก้คออักเสบ เสียงแห้ง ชาวอินเดียใช้ใบรักษาแผลและแก้ปวดฟัน ในฟิลิปปินส์ใช้ใบแก้เหงือกบวมและท้องเดิน เปลือกต้นฝรั่งใช้ทำสีย้อมผ้า[5] สารสกัดใบฝรั่งด้วยเอธานอลความเข้มข้น 62.5 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรยับยั้งการเจริญของ Aeromonas hydrophila ในอาหารเลี้ยงเชื้อได้ เมื่อนำสารสกัดจากใบฝรั่งไปผสมในอาหารปลาในอัตราส่วน 1:24 (w/w) ทำให้ปลานิลตายเนื่องจากการติดเชื้อ A. hydrophila น้อยลง[6] พันธุ์ต่าง ๆ
อ้างอิง
บรรณานุกรม
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ Psidium guajava วิกิสปีชีส์มีข้อมูลภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ [[Wikispecies:Psidium guajava|]] |