Share to:

 

พระครูสุดานุโยค (สุข สุจิตโต)

พระครูสุดานุโยค

(สุข สุจิตโต)
ชื่ออื่นหลวงพ่อสุข วัดบันไดทอง
ส่วนบุคคล
เกิด24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2440 (78 ปี)
มรณภาพ9 ตุลาคม พ.ศ. 2518
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดบันไดทอง จังหวัดเพชรบุรี
อุปสมบทพ.ศ. 2464
พรรษา54
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบันไดทอง

หลวงพ่อสุข วัดบันไดทอง (24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2440 - 9 ตุลาคม พ.ศ. 2518) เป็นพระคณาจารย์อีกรูปหนึ่ง เป็นผู้มีเมตตาสูง ท่านเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อหนึ่ง วัดห้วยโรง เพชรบุรี ท่านจึงมีวิทยาคมไม่แพ้เกจิอาจารย์อื่น ๆ [1] ในรุ่นราวคราวเดียวกับท่านเป็นที่เคราพนับถือของชาวบ้านในถิ่นนั้นตลอดจนถิ่นอื่น ๆ เป็นอันมาก วัตถุมงคลของท่าน สร้างไว้ ก็มีเหรียญ พระปรกใบมะขาม และลูกอม ดีทางเมตตาและป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ

ประวัติ

ท่านมีนามเดิมว่า ทองสุข กลิ่นนาค เกิดเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2440 ที่บ้านหมู่ที่ 2 ตำบลห้วยโรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี บิดามารดามีอาชีพทำนา อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2464 ที่วัดห้วยโรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี โดยมีพระอธิการหนึ่ง วัดห้วยโรง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์นิ่ม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์เซ่ง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า สุจิตโต[2] ในระหว่างที่เป็นพระได้ศึกษาวิชาอักขระขอมจนแตกฉาน ต่อมาจึงได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดบันไดทอง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. 2479 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส และได้รับสมณศักดิ์ต่าง ๆ มากมาย ดังนี้ เป็นพระครูชั้นประทวน เป็นเจ้าคณะตำบล เป็นพระครูสุตานโยค และเป็นพระอุปัชฌาย์ ตามลำดับ [3]

สมณศักดิ์

  • พ.ศ. 2478 - ท่านได้รักษาการเจ้าอาวาสวัดบันไดทอง หลวงปู่เต็ง มรณภาพ
  • พ.ศ. 2479 - ท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบันไดทอง
  • พ.ศ. 2482 - ได้รับการแต่งตั้งเป็น พระครูชั้นประทวน
  • พ.ศ. 2492 - ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ในนาม พระครูสุดาโยค
  • พ.ศ. 2509 - ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท
  • พ.ศ. 2516 - ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตรชั้นเอก

ได้ศึกษาวิชากับหลวงพ่อหนึ่ง วัดห้วยโรง พระเกจิอาจารย์ชื่อดังที่มีวิทยาคมสูงรูปหนึ่งในสมัยนั้น หลวงพ่อหนึ่งท่านมีของดีหลายอย่าง เช่น ลูกอม ตะกรุด เหรียญ ผ้ายันต์ เสื้อยันต์ เป็นต้น [4] หลวงพ่อสุขจึงได้รับการถ่ายทอดวิชาเหล่านี้เอาไว้ทั้งหมด ต่อมาท่านได้สร้างเหรียญและลูกอมขึ้นมาเช่นเดียวกับอาจารย์ของท่าน หลวงพ่อสุขท่านเป็นพระแท้ที่ควรได้รับการเทิดทูนว่าเป็นพระแท้ที่ควรแก่การเทิดทูน ด้วยความเคร่งครัดต่อพระธรรมวินัย เปี่ยมด้วยเมตตาอย่างสูง โดยให้ความอนุเคราะห์แก่ผู้คนทั่วไปเสมอมา ทำการปกครองวัดบันไดทองจนก้าวหน้า เจริญยิ่งขึ้น เป็นที่ศรัทธาของประชาชนและเกิดผลดีต่อศาสนา ท่านถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2518 [5]

อ้างอิง

  1. หนังสือรวมสุดยอดพระคณาจารย์ทั้งหมด 180 พระองค์
  2. ประวัติหลวงพ่อสุข วัดบันไดทอง
  3. หนังสือวัตถุมงคลหลวงพ่อสุข
  4. หนังสือพระดีเมืองเพชร
  5. หนังสือชีวประวัติหลวงพ่อสุข วัดบันไดทอง
Kembali kehalaman sebelumnya