พระประยุทธชลธี (แป๊ะ วีราสา) |
---|
|
|
ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด |
---|
ดำรงตำแหน่ง 22 มีนาคม พ.ศ. 2476 – 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 |
ก่อนหน้า | พระวุฒิภาคภักดี |
---|
ถัดไป | พระศรีพิชัยบริบาล |
---|
|
ข้อมูลส่วนบุคคล |
---|
เกิด | 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2436 ประเทศไทย |
---|
เสียชีวิต | 10 มกราคม พ.ศ. 2524 (88 ปี) ประเทศไทย |
---|
เชื้อชาติ | ไทย |
---|
บุตร | นางเสริมศักดิ์ ศรีเพ็ญ นางสุรางค์ พรหมสุนทร พลตรี นาเวศ วีราสา นางจิตต์จำนง มิตรานนท์ นางสาวจำเนียร วีราสา นางสาวประนอม วีราสา นางสมศรี อรัณยภูติ นางสมทรง คุณวัฒน์ นางสารศรี แสงอรุณ พลเรือเอกวัฒนพงศ์ วีราสา นางปราณี สัมพันธรัตน์
|
---|
บุพการี | นายอาจ วีราสา นางพูน วีราสา |
---|
อาชีพ | ทหารเรือ นักการเมือง |
---|
|
นาวาโท พระประยุทธชลธี นามเดิม แป๊ะ วีราสา เป็นชาวไทยเชื้อสายมอญ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดตราด และเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร ในสมัยนายควง อภัยวงศ์
ประวัติ
ชีวิตส่วนตัว
พระประยุทธชลธีเดิมมีชื่อว่า แป๊ะ เนื่องมาจากเป็นชาวมอญที่มีผิวขาวคล้ายชาวจีนเป็นบุตรชายของนาย อาจ กับนาง พูน เกิดเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2436 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนนายเรือ เข้าประจำการกองทัพเรือไทย ทางกองทัพส่งไปศึกษาเครื่องรับส่งวิทยุ นับว่าเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้สั่งเครื่องวิทยุมาจากเยอรมัน นำมาติดตั้งที่กรุงเทพมหานคร สงขลา และในเรืออีกสามลำ เพื่อใช้ในการสื่อสารในกองทัพเรือ ภายหลังจากติดตั้งเรียบร้อยแล้ว ได้รับการคัดเลือกให้เป็นนายสถานีวิทยุทหารเรือกรุงเทพคนแรก
พ.ศ. 2476 ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเสนาธิการทหารเรือ เป็นตำแหน่งสุดท้ายทางทหารเรือ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเลียบมณฑลปักษ์ใต้ในปี พ.ศ. 2458 ทรงประทับแรมที่สถานีวิทยุโทรเลขทหารเรือ จังหวัดสงขลา เพื่อทอดพระเนตรการซ้อมรบเสือป่าบริเวณนั้น ร.ท.แป๊ะ(ยศในขณะนั้น)เข้าขอรับพระราชทานนามสกุล ได้รับพระราขทานนามสกุลว่า "วีราสา"[1] โดยเขียนเป็นตัวโรมันว่า Virasa
หลังจากรับราชการในกองทัพเรือ ท่านได้ถูกย้ายสังกัดไปกระทรวงมหาดไทย รับการแต่งตั้งไปเป็นผู้ว่าราชการหรือในสมัยนั้นเรียกว่าข้าหลวง ประจำจังหวัดตราดและสมุทรปราการ[2]
ขณะที่เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ท่านได้เป็นผู้ตั้งชื่อโรงเรียนวิสุทธิกษัตรี เก็บถาวร 2018-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [3]ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาสตรีโรงเรียนแรกในจังหวัดสมุทรปราการ
ด้านครอบครัว
พระประยุทธชลธีมีภรรยาทั้งหมด 4 ท่าน มีบุตร-ธิดาทั้งหมดรวม 11 ท่านดังนี้
เกิดแต่คุณ ขลิบ 1 ท่าน
เกิดแต่คุณ พริ้ง 1 ท่าน
เกิดแต่คุณ อนันต์ วีราสา (โรหิตรัตนะ) 4 ท่าน
- พลตรี นาเวศ วีราสา
- คุณ จิตต์จำนง มิตรานนท์
- คุณ จำเนียร วีราสา
- คุณ ประนอม วีราสา
เกิดแต่คุณ บัวบุญเกิด วีราสา (จารุจินดา) 5 ท่าน
- คุณ สมศรี อรัณยภูติ
- คุณ สมทรง คุณวัฒน์
- คุณ สารศรี แสงอรุณ
- พลเรือเอกวัฒนพงศ์ วีราสา
- คุณ ปราณี สัมพันธรัตน์
ชีวิตด้านการเมือง
มีการตราพระราชบัญญัติพรรคการเมือง 2498 ขึ้นเพื่อให้มีการจัดตั้งพรรคการเมืองแข่งขันกัน พรรคการเมืองสำคัญๆ เช่น พรรคเสรีมนังคศิลา พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเศรษฐกร พรรคเสรีประชาธิปไตย พรรคขบวนการไฮด์ปาร์ค พรรคชาตินิยม ฯลฯ
พ.ศ. 2499 พ.ต.หลวงสรสิทธิ นักการเมือง นายทะเบียนพรรคประชาธิปัตย์ได้มาชวนเป็นสมาชิกของพรรค จากนั้น เมื่อรัฐบาลได้จัดการเลือกตั้ง ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ท่านได้รับเลือกให้ลงสมัครรับเลือกตั้งในจังหวัดพระนคร[4] การเลือกตั้งครั้งนี้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งแรกด้วย [5]
ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในกรุงเทพฯ จำนวน 9 ที่นั่ง นั้น
พรรคเสรีมนังคศิลา ประสบชัยชนะ 7 ที่นั่ง คือ
- จอมพล ป. พิบูลสงคราม
- พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ
- พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษดิ์
- พลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุทธยา
- พระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์
- พลเอก มังกร พรหมโยธี
- พลเอก หลวงสวัสดิ์สรยุทธ์
ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ได้ 2 ที่นั่ง คือ
- นายควง อภัยวงศ์
- นาวาโท พระประยุทธชลธี
บั้นปลายชีวิต
เมื่ออายุมากขึ้น ท่านได้สนใจ รวบรวมและศึกษา เกี่ยวกับคุณประโยชน์ของอาหารในทางยา
ในบั้นปลายชีวิตท่านได้อาศัยที่กรุงเทพย่านซอยองครักษ์ บางกระบือ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2524 ด้วยโรคหัวใจ ในวัย 88 ปี
การศึกษา
- พ.ศ. 2451 สอบเข้าร.ร.นายเรือได้คะแนนเป็นลำดับ ที่ 1
- พ.ศ. 2455 โรงเรียนนายทหารชั้นสูงพรรคนาวิน
หน้าที่การงาน
- นายสถานีวิทยุโทรเลข เมืองสงขลา
- ต้นเรือพาลีรั้งทวีป
- ผู้บังคับการเรือวิเทศกิจการ
- ผู้บังคับการเรือผ่านสมุทร บริษัท พาณิชนาวีสยาม
- อาจารย์สอนโรงเรียนนายเรือ
- ผู้บังคับการเรือเสือทะยานชล
- (พ.ศ. 2464-2467) นายธงจเรทหารทั่วไป นายทหารประจำพระองค์จอมพลเรือ สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
- (พ.ศ. 2470-2473) เสนาธิการกองทัพเรือ
- พ.ศ. 2476 ผู้ช่วยเสนาธิการทหารเรือ
- (22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ) เป็นทหารเรือคนแรกที่รับตำแหน่งข้าหลวงจังหวัดตราด (ผู้ว่าราชการจังหวัด)
- (พ.ศ. 2481 - พ.ศ. 2482 ) รับตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดสมุทรปราการ
- ผู้อำนวยการฝ่ายเรือ บริษัทไทยเดินเรือ
- พ.ศ. 2500 ผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-05. สืบค้นเมื่อ 2010-08-26.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-12. สืบค้นเมื่อ 2010-08-26.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-28. สืบค้นเมื่อ 2018-07-23.
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-08. สืบค้นเมื่อ 2010-08-26.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๖๘๕, ๑๒ พฤศจิกายน ๒๔๘๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๘๖, ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนาม ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2022-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๓๙, ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๐๐, ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๑