พระยามนูสารบัญชา (อัมพร จารุประกร)พระยามนูสารบัญชา นามเดิม อัมพร เกิดเมื่อ พ.ศ ๒๔๒๓ สันนิษฐานว่าสืบเชื้อสายมาจากสกุลหนึ่งในสกุลเจ้าเมืองมลายูที่ส่งลูกหลานเข้ามาศึกษาเล่าเรียนในบางกอก ประวัติการรับราชการเริ่มรับราชการในกระทรวงยุติธรรม และศึกษากฎหมายในโรงเรียนกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม ซึ่งก่อตั้งโดยมหาอำมาตย์เอก มหาเสวกเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ โดยสำเร็จเป็นเนติบัณฑิตไทยในปี พ.ศ. ๒๔๔๘ เมื่ออายุได้ ๒๕ ปี จึงได้รับราชการในตำแหน่งผู้พิพากษาในกระทรวงยุติธรรมเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๙[1] ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ ดังนี้ พ.ศ. ๒๔๔๙ หลวงพฤฒิสารประสิทธิ์ พ.ศ. ๒๔๖๒ พระสารธรรมวินิจฉัย[2] พ.ศ. ๒๔๗๐ พระยามนูสารบัญชา[3] เคยมีหนังสือกราบบังคมทูลลาออกจากราชการครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. ๒๔๕๓[4] โดยเป็นการลาออกตามกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ จากคดีพญาระกา[5] หนังสือกราบบังคมทูลลาออก ลงวันที่ ๒ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๙ แสดงรายนามผู้ลงชื่อลาออก ได้แก่ พระยาจักรปาณีศรีศีลปริสุทธิ์, ขุนหลวงพระยาไกรสี, พระยาธนกิจรักษา, พระยามนูสารสาสตร์บัญชา, หลวงนรนิติบัญชาการ, หลวงสุธรรมานุวัตร, หลวงประไพพิทยาคุณ, หลวงประดิษฐ์พิจารณการ, หลวงภักดีวินิจฉัย, หลวงไพจิตรสัตยาดุล, หลวงนิติธรรมพิทักษ์, หลวงปริพนธพจนพิสุทธิ์, หลวงพิศัลย์สารนิติ, หลวงธรารักษ์มนตรี, หลวงอำไพพิจารณกิจ, นายบุญช่วย, หลวงวิศาลวินิจฉัย, พระยาธรรมสารเวทย์, พระยามนูเนตรบรรหาร, พระอนุบุตรศาสตราคม, หลวงศรีสัตยารักษ์, หลวงวิไชยนิตินาท, หลวงสกลสัตยากร, หลวงอาทรคดีราษฎร, นายชม, หลวงอภิบาลประเพณี, หลวงพฤฒิสารประสิทธิ์ และหลวงฤชาประมวญ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระมหากรุณาพระราชทานอภัยให้กลับเข้ารับราชการในภายหลัง ลาออกจากราชการในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยตำแหน่งราชการตำแหน่งสุดท้าย คือผู้พิพากษาศาลฏีกา ประวัติเดิมนับถือศาสนาอิสลาม แต่เมื่อสอบเนติบัณฑิตไทยได้ จึงเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ เพื่อเข้าพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาและรับราชการเป็นผู้พิพากษา ในปี พ.ศ. ๒๔๕๖ ได้รับพระราชทานนามสกุล จารุประกร[6] เนื่องจากอยู่ในสกุลช่างชุบ และมีร้านชื่อ นาถาจารุประกร (น.ถ.จ.ก.) ตั้งอยู่ในย่านถนนตีทอง ใกล้กับวัดราชบพิตรสถิตมหาสีมาราม ซึ่งผลิตทั้งทอง เหรียญพระ เช่น เหรียญหลวงพ่อโต พ.ศ. ๒๔๖๑[7] และเหรียญพระแก้วมรกตที่ระลึกในวาระสมโภชพระนครครบ ๑๕๐ ปี[8] ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ สมรสกับนางสุ่น สารธรรมวินิจฉัย (บุตร คุณนางฮวย อัษรมัติ)[9] มีบุตร-ธิดา อย่างน้อย ๓ คน ภายหลังภริยาคนแรกถึงแก่กรรม จึงสมรสกับ ประไพ (สกุลเดิม แว่นสุวรรณ) บุตรนายกรและนางเฮียง แว่นสุวรรณ บ้านบางปลาม้า มีบุตร-ธิดา รวม ๑๐ คน ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ สิริอายุได้ ๘๑ ปี เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|