พระยามหิบาลบริรักษ์ (สวัสดิ์ ภูมิรัตน์)
มหาอำมาตย์ตรี พระยามหิบาลบริรักษ์ (สวัสดิ์ ภูมิรัตน์) (22 กุมภาพันธ์ 2410 – 30 พฤษภาคม 2470)[1] เป็นขุนนางชาวไทย ผู้ว่าราชการเมืองน่าน, ข้าหลวงพิเศษชำระความเมืองชลบุรี, ผู้ว่าราชการเมืองชลบุรี, อัครราชทูตประจำประเทศรัสเซีย, ข้าหลวงใหญ่บริเวณแขก 7 หัวเมือง และข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลสุราษฎร์ ประวัติมหาอำมาตย์ตรี พระยามหิบาลบริรักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2410 ที่ตำบลท่าเตียน จังหวัดพระนคร เป็นบุตรชายของ พระยาไกรโกษา (เทศ ภูมิรัตน์) มารดาชื่อบุบผา หรือ ถมยา ศึกษาเล่าเรียนและบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ คุณหญิงมหิบาลบริรักษ์ (อุ๊น ภูมิรัตน์) มีบุตร-ธิดารวม 4 คนคือ ประดับ โกมลมาลย์, ไกรเกรียง-เกรียงไกร ภูมิรัตน์ และ พัฒนะ ภูมิรัตน์ นอกจากนี้ยังได้รับหม่อมศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยา พระธิดาของพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช และหม่อมของหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร เป็นบุตรบุญธรรม[2] มหาอำมาตย์ตรี พระยามหิบาลบริรักษ์ ถึงแก่กรรมด้วยโรคหืดและหัวใจอ่อน เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2470 และได้มีการจัดงานพระราชทานเพลิงศพที่วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2509 ตามคำสั่งเสียของท่านที่ให้จัดงานได้เมื่อลูกหลานมีความพร้อม[3] รับราชการพระยามหิบาลบริรักษ์เริ่มต้นรับราชการในตำแหน่งมหาดเล็กวิเศษในกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ต่อมาในปี 2427 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็น นายนเรศธิรักษ์ มหาดเล็กหุ้มแพร ฝ่ายพระราชวังบวร ถือศักดินา 200 ในปี 2429 ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น หลวงชาญภูเบศร์ นายเวรมหาดเล็ก ฝ่ายพระราชวังบวร ถือศักดินา ต่อมาในวันที่ 9 พฤษภาคม 2436 ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระพรหมสุรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจขวา ฝ่ายพระราชวังบวร ถือศักดินา 1500[4] ก่อนหน้านั้นในปี 2435 ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นข้าหลวงประจำเมืองน่าน (เทียบเท่าตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดน่านในปัจจุบัน) จากนั้นในเดือนมิถุนายน 2439 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น ข้าหลวงพิเศษจัดการศาลยุติธรรมมณฑลปราจิณบุรี พร้อมกับตำแหน่งข้าหลวงว่าราชการเมืองชลบุรี (เทียบเท่าตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีในปัจจุบัน)[5] ก่อนจะพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2440 เนื่องจากมีการย้ายที่ทำการศาลยุติธรรมมณฑลไปอยู่ที่ฉะเชิงเทราและตัวท่านรับราชการเป็นข้าหลวงว่าราชการเมืองชลบุรีไม่สามารถย้ายตามไปทำหน้าที่ได้[6] กระทั่งวันที่ 2 มกราคม 2440 (แบบสากลคือ 2441) ได้โปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์ท่านเป็น พระยาชลบุรานุรักษ์ ผู้ว่าราชการเมืองชลบุรี ถือศักดินา 3000[7] ในปี 2441 ท่านได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระอภิบาลของ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ ระหว่างเสด็จไปศึกษาที่ประเทศรัสเซีย โดยได้เข้าเฝ้ากราบถวายบังคมลาเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2441 และในวันรุ่งขึ้นได้เข้าเฝ้าที่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร เพื่อรับพระราชทานสัญญาบัตรเปลี่ยนบรรดาศักดิ์เป็น พระยามหิบาลบริรักษ์ คงถือศักดินา 3000[8] ในปีถัดมาคือ 2442 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นอรรคราชทูตสยามประจำรัสเซีย ต่อมาในวันที่ 9 มกราคม 2444 ได้โปรดเกล้าฯ ให้เรียกตัวกลับเข้ามารับราชการที่กรุงเทพฯ โดยมีพระยาศรีธรรมสาส์น อุปทูตรับหน้าที่แทน[9] ในระหว่างเป็นอรรคราชทูตที่รัสเซีย พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ได้พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชื่อ เซนต์สตานิสลาส ชั้นที่ 1[10] ต่อมาท่านได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงใหญ่บริเวณ 7 หัวเมือง จากนั้นในวันที่ 25 สิงหาคม 2448 ท่านได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลชุมพร แทนพระยาวรสิทธิ์เสวีวัตร ที่ย้ายกลับไปรับราชการที่กรุงเทพฯ[11] จากนั้นในวันที่ 20 สิงหาคม 2454 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศให้ท่านเป็น มหาอำมาตย์ตรี พระยามหิบาลบริรักษ์[12] ต่อมาในวันที่ 19 พฤศจิกายน ศกเดียวกัน ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ท่านแต่งตัวชั้นเสวกเอกในกระทรวงวัง[13] ในวันที่ 26 มกราคม 2455 ท่านได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการทำให้พ้นจากตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลชุมพร โดยมี อำมาตย์โท พระบริรักษ์ภูธร มารักษาราชการแทน[14] เครื่องราชอิสริยาภรณ์พระยามหิบาลบริรักษ์ (สวัสดิ์ ภูมิรัตน์) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสยามและต่างประเทศ ดังนี้ เครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
อ้างอิง
|