Share to:

 

พระสรรเพลงสรวง (บัว กมลวาทิน)

พระสรรเพลงสรวง (บัว กมลวาทิน) เกิดที่ตำบลผักไห่ แขวงเมืองกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2430 เป็นบุตรของนายจัน และนางพัน บัวเข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ จนสอบได้ชั้นสี่ประโยคที่วัดชนะสงครามเมื่ออายุได้ 16 ปี แล้วจึงถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งยังทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เมื่อทรงขึ้นครองราชย์แล้ว โปรดเกล้า ฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้มหาดเล็กบัวเป็นขุนสรรเพลงสรวง ถือศักดินา ๓๐๐ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2457 จากนั้นจึงได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น หลวงสรรเพลงสรวง ถือศักดินา ๔๐๐ เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2460 และได้เลื่อนขึ้นเป็นพระสรรเพลงสรวง ถือศักดินา ๖๐๐ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2467 และได้รับราชการต่อมาจนถึงแก่กรรมในสมัยรัชกาลที่ 7

พระสรรเพลงสรวง เรียนดนตรีตั้งแต่เด็กจนสามารถร่วมวงกับผู้ใหญ่ได้ เมื่อมาเรียนต่อที่กรุงเทพฯ ได้เรียนด้านดนตรีต่อจากพระยาประสานดุริยศัพท์ มีความสามารถในการเป่าปี่และสีซออู้ ได้ร่วมงานอัดแผ่นเสียงกับพระยาประสานดุริยศัพท์และเดี่ยวปี่เพลงลาวแพน ไว้กับบริษัทแผ่นเสียง His Master Voice และได้ควบคุมวงดนตรีของพระสุจริตสุดา พระสนมเอกในรัชกาลที่ 6 ส่วนในรัชกาลที่ 7 ท่านยังเป็นคนปี่ของวงปี่พาทย์หลวง ต่อมาป่วยด้วยโรคริดสีดวงทวารแล้วมีโรคบาดทะยักแทรก ถึงแก่กรรมเมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2469 รวมอายุได้ 39 ปี[1]

ชีวิตส่วนตัว

พระสรรเพลงสรวง สมรสครั้งแรกกับ นางสาวทับทิม เมื่อ พ.ศ. 2449 มีบุตร 5 คน ชาย 3 คน ชื่อ

และหญิง 2 คน ชื่อ

  • พัน กมลวาทิน
  • บุษรา กมลวาทิน

และได้หย่าขาดจากคุณทับทิม เมื่อ พ.ศ. 2464 มาแต่งงานกับ หม่อมหลวงชลินทร์ ทินกร มีบุตรชาย ๓ คน ชื่อ

  • บรรเลง กมลวาทิน
  • ดำรงค์ กมลวาทิน
  • สมพงษ์ กมลวาทิน

พระสรรเพลงสรวง ได้รับพระราชทานนามสกุล "กมลวาทิน" เพราะมีชื่อเดิมว่า "บัว" ตามประกาศ ลงวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2456

บรรดาศักดิ์

  • 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2457 ขุนสรรเพลงสรวง ถือศักดินา ๓๐๐[2]
  • 19 ตุลาคม พ.ศ. 2460 หลวงสรรเพลงสรวง ถือศักดินา ๔๐๐[3]
  • 23 มิถุนายน 2462 – เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ที่พระที่นั่งอนันตสมาคม[4]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2467 พระสรรเพลงสรวง ถือศักดินา ๖๐๐[5]

ยศ

  • มหาดเล็กวิเศษ
  • 12 ธันวาคม พ.ศ. 2457 นายรอง[6]
  • 24 มีนาคม พ.ศ. 2457 - นายหมู่เอก[7]
  • 8 พฤศจิกายน 2458 – นายหมู่ใหญ่[8]
  • 28 ตุลาคม 2459 – นายหมวดตรี[9]
  • รองหุ้มแพร
  • 31 ธันวาคม พ.ศ. 2461 - หุ้มแพร[10]
  • – นายกองตรี
  • 2 มีนาคม 2467 – นายกองโท[11]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ข่าวตาย (หน้า ๒๕๙๖)
  2. พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ (หน้า ๙๙๒)
  3. เลื่อนบรรดาศักดิ์
  4. รายวันพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
  5. พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๓๓๙๘)
  6. พระราชทานยศ (หน้า ๒๑๘๑)
  7. พระราชทานยศเสือป่า (หน้า ๒๙๒๙)
  8. พระราชทานยศเสือป่า
  9. พระราชทานยศเสือป่า
  10. ประกาศกรมมหาดเล็ก (หน้า ๒๗๐๖)
  11. พระราชทานยศนายเสือป่า (แผนกเกียกกายกองเสนา)
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๐๔, ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๕
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๗, ๗ พฤษภาคม ๒๔๖๕
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๓๙, ๑๙ มกราคม ๑๓๑
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๕๓, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๙๐, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
Kembali kehalaman sebelumnya