Share to:

 

ภาษามอลโดวา

ภาษามอลโดวา
  • limba moldovenească
  • лимба молдовеняскэ
ออกเสียง[ˈlimba moldoveˈne̯askə]
ตระกูลภาษา
ชื่อพ้องของภาษาโรมาเนีย
ระบบการเขียน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน
รหัสภาษา
ISO 639-3ไม่มี (mis)

ภาษามอลโดวา (อักษรโรมัน: limba moldovenească; อักษรซีริลลิก: лимба молдовеняскэ) หรือที่ในอดีตรู้จักกันในชื่อ ภาษามอลเดเวีย เป็นหนึ่งในชื่อท้องถิ่นสองชื่อที่ใช้เรียกภาษาโรมาเนียในประเทศมอลโดวา[1][2]

มีการเรียกชื่อภาษาของชาวมอลโดวาปะปนกันระหว่าง ภาษามอลโดวา กับ ภาษาโรมาเนีย มานานนับศตวรรษ แต่ในสมัยสหภาพโซเวียต ภาษามอลโดวา (หรือที่ในสมัยนั้นเรียกว่า ภาษามอลเดเวีย) เป็นเพียงชื่อเดียวที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ นโยบายของสหภาพโซเวียตเน้นย้ำการจำแนกชาวมอลโดวาออกจากกลุ่มชนโรมาเนียเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โดยอ้างว่าชนทั้งสองกลุ่มมีกระบวนการสร้างชาติแตกต่างกัน จึงเป็นที่มาของการกำหนดให้ภาษามอลโดวาเป็นภาษาโรมานซ์แยกต่างหากจากภาษาโรมาเนีย

เมื่อประเทศมอลโดวาได้รับเอกราชจากสหภาพโซเวียต ภาษามอลโดวา ได้รับการประกาศให้เป็นภาษาแห่งรัฐตามมาตรา 13 ของรัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้ใน ค.ศ. 1994[3] ในขณะที่คำประกาศอิสรภาพมอลโดวาใน ค.ศ. 1991 ระบุชื่อภาษาแห่งรัฐว่า ภาษาโรมาเนีย ต่อมาใน ค.ศ. 2003 รัฐสภามอลโดวามีมติเห็นชอบร่างกฎหมายที่นิยามว่าวลี ภาษามอลโดวา และวลี ภาษาโรมาเนีย นั้นสื่อถึงภาษาเดียวกัน[4] จากนั้นใน ค.ศ. 2013 ศาลรัฐธรรมนูญมอลโดวาตีความว่ามาตรา 13 ของรัฐธรรมนูญมีศักดิ์ต่ำกว่าคำประกาศอิสรภาพ[5] ส่งผลให้วลี ภาษาโรมาเนีย มีสถานะเป็นทางการ[6][7] อย่างไรก็ตาม ภูมิภาคทรานส์นีสเตรียซึ่งประกาศแยกตัวจากประเทศมอลโดวายังคงถือว่า ภาษามอลโดวา เป็นหนึ่งในภาษาราชการของตนร่วมกับภาษารัสเซียและภาษายูเครน[8] ในประเทศยูเครนมีการจำแนกความต่างระหว่าง ภาษามอลโดวา กับ ภาษาโรมาเนีย เช่นกัน โดยหมู่บ้านบางแห่งประกาศว่าภาษาทางการระดับหมู่บ้านคือภาษาโรมาเนีย ในขณะที่บางแห่งประกาศว่าภาษาทางการระดับหมู่บ้านคือภาษามอลโดวา แต่ทางการยูเครนได้ประกาศเจตจำนงว่าจะดำเนินการยกเลิกสถานะทางกฎหมายของ ภาษามอลโดวา ต่อไป[9] เมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 2023 รัฐสภามอลโดวามีมติเห็นชอบร่างกฎหมายที่กำหนดให้แก้ไขวลี ภาษามอลโดวา เป็นวลี ภาษาโรมาเนีย ในรัฐธรรมนูญและกฎหมายทุกฉบับ และเมื่อวันที่ 22 มีนาคม ประธานาธิบดีมายา ซันดู ก็ได้ประกาศใช้กฎหมายฉบับดังกล่าว[10]

ชาวมอลโดวาส่วนใหญ่ที่มีการศึกษาสูง[11] รวมทั้งประชากรส่วนใหญ่ในกรุงคีชีเนา เมืองหลวงของประเทศมอลโดวา[12] มักเรียกภาษาของพวกเขาว่า ภาษาโรมาเนีย ในขณะที่ประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่ชนบทระบุว่า ภาษามอลโดวา เป็นภาษาแม่ของพวกเขาในการสำรวจสำมะโนประชากร ค.ศ. 2004[12] โรงเรียนต่าง ๆ ในมอลโดวาเรียกภาษานี้ว่า ภาษาโรมาเนีย มาตั้งแต่มอลโดวาได้รับเอกราช[13]

วิธภาษาของภาษาโรมาเนียที่ใช้พูดในประเทศมอลโดวาคือภาษาถิ่นย่อยมอลเดเวียซึ่งแพร่หลายภายในอาณาเขตของอดีตราชรัฐมอลเดเวียโดยประมาณ (ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศมอลโดวา ประเทศโรมาเนีย และประเทศยูเครน) ภาษาถิ่นมอลเดเวียถือเป็นหนึ่งในวิธภาษาพูดหลักทั้งห้าของภาษาโรมาเนีย อย่างไรก็ตาม วิธภาษาพูดทั้งห้าเขียนออกมาเป็นตัวหนังสือได้ตรงกัน และประเทศมอลโดวาและประเทศโรมาเนียใช้อักขรวิธีแบบเดียวกัน[14]

ชุดตัวอักษรมาตรฐานที่ใช้ในประเทศมอลโดวาสอดคล้องกับชุดตัวอักษรโรมาเนียซึ่งใช้อักษรโรมัน ในอดีตมีการใช้ชุดตัวอักษรซีริลลิกโรมาเนียหลากหลายรูปแบบมาจนกระทั่ง ค.ศ. 1918 จากนั้น ชุดตัวอักษรซีริลลิกมอลโดวา (ซึ่งแปลงมาจากชุดตัวอักษรรัสเซีย) ได้รับการกำหนดมาตรฐานและใช้อย่างเป็นทางการในสหภาพโซเวียตระหว่าง ค.ศ. 1924–1932 และระหว่าง ค.ศ. 1938–1989 และทุกวันนี้ก็ยังคงใช้กันอยู่ในทรานส์นีสเตรีย[15]

อ้างอิง

  1. Kogan Page 2004, p. 242.
  2. Directorate-General for Translation of the European Commission (2008). "A Field Guide to the Main Languages of Europe – Spot That Language and How to Tell Them Apart" (PDF) (3rd ed.). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 17 November 2015. สืบค้นเมื่อ 7 April 2020.
  3. "Constitution of the Republic of Moldova" (PDF). Article 13, line 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 26 February 2008.
  4. "Politics of National Conception of Moldova". Law No. 546/12-19-2003 (ภาษาโรมาเนีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 March 2014. สืบค้นเมื่อ 10 March 2014.
  5. "Hotărâre Nr. 36 din 05.12.2013 privind interpretarea articolului 13 alin. (1) din Constituție în corelație cu Preambulul Constituției și Declarația de Independență a Republicii Moldova (Sesizările nr. 8b/2013 și 41b/2013)" (ภาษาโรมาเนีย). Constitutional Court of Moldova. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2016. สืบค้นเมื่อ 20 December 2013. 124. ... Prin urmare, Curtea consideră că prevederea conținută în Declarația de Independență referitoare la limba română ca limbă de stat a Republicii Moldova prevalează asupra prevederii referitoare la limba moldovenească conținute în articolul 13 al Constituției.
  6. "Moldovan court rules official language is 'Romanian', replacing Soviet-flavored 'Moldovan'". Fox News. Associated Press. 2013-12-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-09. สืบค้นเมื่อ 2013-12-07.
  7. "Chisinau Recognizes Romanian As Official Language". Radio Free Europe/Radio Liberty. 5 December 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2016. สืบค้นเมื่อ 11 March 2014.
  8. "Article 12 of the Constitution of Pridnestrovskaia Moldavskaia Respublika". kspmr.idknet.com. 24 December 1995. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 August 2018. สืบค้นเมื่อ 14 July 2016.
  9. "Ministerul de Externe: Bogdan Aurescu cere Ucrainei să recunoască oficial inexistența 'limbii moldovenești'". Digi24 (ภาษาโรมาเนีย). 19 June 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 November 2021. สืบค้นเมื่อ 13 September 2021.
  10. "Președinta Maia Sandu a promulgat Legea care confirmă că limba de stat a Republicii Moldova este cea română" (ภาษาโรมาเนีย). Presidency of the Republic of Moldova. Astăzi am promulgat Legea care confirmă un adevăr istoric și incontestabil: limba de stat a Republicii Moldova este cea română.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  11. "CBS AXA/IPP nov. 2012" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 14 December 2013.
  12. 12.0 12.1 "Population by main nationalities, mother tongue and language usually spoken, 2004" (XLS). National Bureau of Statistics of the Republic of Moldova. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 November 2013. สืบค้นเมื่อ 14 July 2016.
  13. "Ministerul Educatiei a Republicii Moldova : Acte Normative și Publicații : Acte normative și legislative : Domeniul învațămîntului preuniversitar". www.edu.md (ภาษาโรมาเนีย). 2004-10-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2021-08-24.
  14. * Minahan, James (1989). Miniature Empires: A Historical Dictionary of the Newly Independent States. Greenwood. p. 276.
  15. Denis Deletant, Slavonic Letters in Moldova, Wallachia & Transylvania from the Tenth to the Seventeenth Centuries, Ed. Enciclopedicӑ, Bucharest, 1991.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya