Share to:

 

ภาษารัสต์

รัสต์ (Rust)
The official Rust logo
กระบวนทัศน์Multi-paradigm: concurrent, functional, generic, imperative, structured
ผู้ออกแบบGraydon Hoare
ผู้พัฒนามูลนิธิรัสต์
เริ่มเมื่อ7 กรกฎาคม 2010; 14 ปีก่อน (2010-07-07)
รุ่นเสถียร
1.83.0[1] แก้ไขบนวิกิสนเทศ / พฤศจิกายน 28, 2024
แพลตฟอร์มAMD64 , i686, arm, AArch64, armv7, mips, mips64, mipsel, mips64el, powerpc, powerpc64, powerpc64le, risc-v, s390x
ระบบปฏิบัติการWindows, Linux, macOS, FreeBSD, NetBSD
สัญญาอนุญาตMIT หรือ Apache 2.0
นามสกุลของไฟล์.rs, .rlib
เว็บไซต์www.rust-lang.org

ภาษารัสต์ (อังกฤษ: Rust) เป็นภาษาโปรแกรมหลายกระบวนทัศน์สำหรับวัตถุประสงค์ทั่วไปที่ถูกออกแบบมาเพื่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยของหน่วยความจำ[2][3] ภาษารัสต์มีวากยสัมพันธ์คล้ายกับภาษาซีพลัสพลัส[4]แต่สามารถรับประกันความปลอดภัยของหน่วยความจำโดยใช้ borrow checker เพื่อตรวจสอบการอ้างอิง[5] ภาษารัสต์สามารถรักษาความปลอดภัยของหน่วยความจำได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้ Garbage collection[6]

เริ่มแรกภาษาพัฒนาถูกพัฒนาโดย Graydon Hoare จาก Mozilla Research พร้อมการสนับสนุนจาก Dave Herman, Brendan Eich และคนอื่น ๆ [7][8] โดยพัฒนาภาษารัสต์เพื่อใช้งานร่วมกับ Servo ซึ่งเป็นเร็นเดอริงเอนจินที่กำลังพัฒนา ณ ตอนนั้น ต่อมาภาษารัสต์ถูกนำไปใช้งานในเชิงอุตสาหกรรมและไมโครซอฟท์ได้ทดลองนำภาษาไปใช้กับส่วนประกอบซอฟต์แวร์ที่ต้องการความปลอดภัย[9][10] นอกจากนี้ไมโครซอฟท์ยังทดสอบไลบรารี Rustls ของภาษารัสต์และพบว่าประสิทธิภาพและการใช้หน่วยความจำสามารถเอาชนะ OpenSSL ได้[11]

ตัวอย่าง

Hello World

fn ระบุฟังก์ชัน[12]

fn main() {
    println!("Hello, World!");
}

อ้างอิง

  1. "Announcing Rust 1.83.0" (ภาษาอังกฤษ). 28 พฤศจิกายน 2024. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2024.
  2. Hoare, Graydon (2016-12-28). "Rust is mostly safety". Graydon2. Dreamwidth Studios. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-02. สืบค้นเมื่อ 2019-05-13.
  3. "FAQ – The Rust Project". Rust-lang.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-09. สืบค้นเมื่อ 27 June 2019.
  4. "Rust vs. C++ Comparison". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 November 2018. สืบค้นเมื่อ 20 November 2018.
  5. "Unsafe Rust". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-14. สืบค้นเมื่อ 2020-10-17.
  6. "Fearless Security: Memory Safety". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 November 2020. สืบค้นเมื่อ 4 November 2020.
  7. Noel (2010-07-08). "The Rust Language". Lambda the Ultimate. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-23. สืบค้นเมื่อ 2010-10-30.
  8. "Contributors to rust-lang/rust". GitHub. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-26. สืบค้นเมื่อ 2018-10-12.
  9. "Why Rust for safe systems programming". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-22. สืบค้นเมื่อ 2019-07-22.
  10. "How Microsoft Is Adopting Rust". August 6, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-10. สืบค้นเมื่อ 2020-08-07.
  11. "Rust มาแรง? ผลทดสอบประสิทธิภาพ Rustls พบเร็วกว่า OpenSSL 5-40% ไมโครซอฟท์ระบุน่าสนใจสำหรับงานต้องการความปลอดภัย". Blognone. สืบค้นเมื่อ 2021-12-17.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. Klabnik & Nichols 2019, pp. 5–6.
Kembali kehalaman sebelumnya