ภาษาเฉพาะวงการ[1] (อังกฤษ: jargon) เป็นคำเรียกการใช้ภาษาหรือคำศัพท์สำหรับเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะอาชีพ ซึ่งมีลักษณะของศัพท์สแลงหรือภาษาพูด ภาษาเฉพาะอาชีพมักใช้ในการพูดสำหรับเข้าใจกันเฉพาะกลุ่มเพื่อไม่ต้องใช้ภาษาหรือคำที่ยืดยาว ซึ่งมักจะทำให้ผู้ใช้ภายนอกไม่เข้าใจ
ลักษณะที่มีใช้
- การแพทย์: คำศัพท์ที่ใช้ในการสนทนาระหว่างแพทย์และพยาบาล โดยส่วนใหญ่จะเป็นคำศัพท์ในชื่อของขั้นตอนวิธีการตรวจโรค ชื่อยา ชื่อส่วนประกอบหรืออวัยวะภายในร่างกาย
- กีฬา: ภาษาที่ใช้โดยผู้สื่อข่าวกีฬา และผู้ชมกีฬา เช่นคำว่า ล้ำหน้า หรือ ทัชดาวน์ ที่เฉพาะคนสนใจในด้านกีฬานั้นที่เข้าใจ
- สายงานอาชีพ: ศัพท์ที่ใช้เฉพาะทางในแต่ละอาชีพ ซึ่งบุคคลที่ไม่ได้ทำงานในสายนั้นจะไม่สามารถสื่อสารหรือเข้าใจความหมายของคำ
- คอมพิวเตอร์: ศัพท์เทคนิคที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ เช่น คลาส หรือ คุกกี้
- สมาคม: ศัพท์ที่ใช้กลุ่มที่มีความชอบหรือนิยมคลั่งไคล้อะไรที่เหมือนกัน เช่น กลุ่มผู้ชื่นชอบวัฒนธรรมญี่ปุ่น จะปรากฏคำทับศัพท์ที่มาจากภาษาญี่ปุ่น ซึนเดเระ หมายถึง เย็นชาแต่ภายหลังอ่อนหวาน [2] กลุ่มผู้ที่ชื่นชอบคลั่งไคล้ในการ์ตูนญี่ปุ่นจะต่างๆที่มาจากคำพื้นฐานที่มีอยู่แล้ว เช่น ตุรกี หมายถึง แหล่งรวมอนิเมะโหลดตรง[3] เป็นต้น
อ้างอิง