มหาหิงคุ์
มหาหิงคุ์ (ฮินดี: :हींग ถอดรูปได้เป็น หีค หรือ หีงคะ ชื่อภาษาอังกฤษคือ asafoetida หรือเรียกสั้น ๆ ว่า hing) เป็นยางที่หลั่งจากพืชหลายชนิดในสกุลมหาหิงคุ์ (Ferula) ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในประเทศอิหร่าน อัฟกานิสถาน และนิยมเพาะปลูกใกล้กับประเทศอินเดีย มหาหิงคุ์มีกลิ่นเหม็นฉุน รสเผ็ดร้อน นิยมใช้ทำยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อในเด็ก นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาระบาย ยาแก้ไข้หวัด และใช้ผสมอาหารได้อีกด้วย ศัพทมูลวิทยา/ที่มาของชื่อชื่อภาษาอังกฤษของมหาหิงคุ์คือ asafoetida ซึ่งมาจากคำภาษาลาติน asa ซึ่งแปลว่ายางไม้ และ foetidus ซึ่งแปลว่ากลิ่นเหม็นแรง บางทีอาจเรียกว่า Devil's dung ซึ่งแปลว่ามูลผี อนึ่งคำ aza มาจากภาษาเปอร์เซีย ว่า azā ส่วนชื่อภาษาฮินดี ใช้ หีค (हींग) เนื่องจากพืชชนิดนี้มีกลิ่นแรงมาก ในภาษาฝรั่งเศสจึงเรียกว่า แมร์ดดูดียาบล์ (merde du Diable) ซึ่งแปลว่ามูลผีเช่นเดียวกับชื่อภาษาอังกฤษ[1] ประโยชน์การใช้ประกอบอาหารมหาหิงคุ์เป็นเครื่องเทศที่มีฤทธิ์ช่วยย่อยอาหาร มักใช้ร่วมกันกับขมิ้น ใส่ในแกงกะหรี่ มหาหิงคุ์มีกลิ่นแรงมาก จึงต้องใส่ไว้ในโหลปิดแน่นมิให้อากาศเข้าออกได้ มิเช่นนั้นจะทำให้กลิ่นไปปะปนเครื่องเทศชนิดอื่น บางทีนิยมผสมกับแป้งปริมาณมาก เพื่อมิให้กลิ่นแรงเกินไปเวลาใช้[2] ถึงจะมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ แต่เมื่อใส่ในน้ำมันร้อน ๆ หรือเนยใส จะได้กลิ่นหอมหวนคล้ายกับหัวหอมผสมกับกระเทียม (นิยมใช้ในบรรดาผู้ที่ไม่รับประทานหัวหอมหรือกระเทียม[3][4]) นิยมใส่ขณะทำการ tempering หรือการผัดเครื่องเทศกับน้ำมันในขั้นแรกของการทำอาหารอินเดีย มหาหิงคุ์ยังช่วยให้รสชาติของอาหารกลมกล่อม ใช้เพียงเล็กน้อยในการประกอบอาหาร ในบางลัทธิเช่น โยคี จะห้ามการรับประทาน กระเทียม หัวหอม และมหาหิงคุ์ เช่นเดียวกับ เนื้อสัตว์และแอลกอฮอล์ การใช้เป็นยามหาหิงคุ์เป็นยาแก้ท้องอืด ลดอาการปวดเกร็งในช่องท้อง โดยมีฤทธิ์ลดการเจริญและแบ่งตัวของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้[5][6] รวมทั้งใช้เป็นยาช่วยย่อย เป็นยาระบายแก้อาการท้องผูกได้ด้วย[7] ในไทย มหาหิงคุ์ใช้ผสมกับเอทิลแอลกอฮอล์ทาท้องเด็กอ่อนเพื่อช่วยให้ขับลม หรืออาจจะผสมน้ำหยอดให้เด็กรับประทาน อาจใช้แก้พิษฝิ่นที่สูบเข้าไปด้วยได้[8] เมื่อมหาหิงคุ์ถูกนำเข้าสู่โลกตะวันตก ก็ได้มีการทดลองใช้สารละลายมหาหิงคุ์ในแอลกอฮอล์รักษาแผล [9] แก้ไข้หวัด โดยมีการนำไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยจากไข้หวัดสเปนเมื่อ พ.ศ. 2461 จนในเวลาต่อมาได้มีการบรรจุลงในรายการตำรายากลางของสหรัฐอเมริกา (United States Pharmacopeia) เพื่อใช้เป็นยาป้องกันโรคไข้หวัด[10] ล่าสุดมีการทดลองใช้รากของมหาหิงคุ์เพื่อฆ่าไวรัสไข้หวัดใหญ่ H1N1[11][12] ยิ่งไปกว่านั้น มหาหิงคุ์สามารถใช้ลดอาการโรคลมชัก ได้อีกด้วย[13] ลักษณะยางจากต้นมหาหิงคุ์ประกอบด้วยยางเหนียว 40 - 65% ยางภายในเซลล์ 25% น้ำมันหอมระเหย 10–15% โดยมีเถ้า 1.5–10% ประกอบด้วยสารสำคัญเช่น อะซาเรซิโนแทนนอล (asaresinotannol) A และ B, กรดเฟรูลิก, อัมเบลลิเฟอโรน และสารอื่น ๆ[14] ยางมหาหิงคุ์ได้จากการเจาะหรือตัดเอาน้ำเลี้ยงลำต้นและรากออกแล้วตากให้แห้งเป็นผลึกคล้ายอำพัน เวลาจะใช้ต้องนำไปบดกระแทกให้แตกเสียก่อน แล้วจึงเข้าผสมในยาหรือผสมกับแป้งเพื่อโรยอาหาร ต้นมหาหิงคุ์ Ferula assafoetida เป็นพืชล้มลุกใบเลี้ยงเดี่ยวในวงศ์มหาหิงคุ์ มีความสูงไม่เกิน 2 เมตร และชูดอกขึ้นสูงราว ๆ 2.5 - 3 เมตร ลำต้นตอนที่ชูดอกกลวง วัดผ่านศูนย์กลางได้ 10 เซนติเมตร ภายใต้เปลือกลำต้นเป็นยางสีจาง ๆ ดอกมีสีเหลือง ส่วนผลเป็นรูปไข่แบนสีน้ำตาลแดง ภายในมีน้ำยางสีขาวข้น รากมีลักษณะหนาหนักเนื้อมาก มียางเช่นเดียวกับลำต้น ทุกส่วนของพืชมีกลิ่นเหม็นฉุน[15] ดูเพิ่มการใช้ประกอบอาหารhttp://www.seriouseats.com/2010/06/spice-hunting-asafoetida-hing.html อ้างอิง
|