มารีอา ลูโดวีคาแห่งออสเตรีย-เอสเต
มาเรีย ลูโดวีกาแห่งออสเตรีย-เอ็สเทอ หรือที่ทรงรู้จักในพระนาม มาเรีย ลูโดวีกาแห่งโมเลนา (เยอรมัน: Maria Ludovika Beatrix von Modena; 14 ธันวาคม ค.ศ. 1787 – 7 เมษายน ค.ศ. 1816) เป็นพระราชธิดาในอาร์ชดยุกแฟร์ดีนันท์แห่งออสเตรีย-เอ็สเทอ (1754–1806) กับพระชายาของพระองค์ มารีอา เบียทริซ ริคซีอาดา เดเอสเท (1750–1829) พระองค์เป็นสมาชิกของราชวงศ์ออสเตรีย-เอ็สเทอซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของฮาพส์บวร์ค-ลอแรน พระราชประวัติอาร์ชดัชเชสมาเรีย ลูโดวีกาทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1787 ณ เมืองมอนซา ประเทศอิตาลี เป็นพระธิดาองค์สุดท้องจากทั้งหมด 10 พระองค์ ของแฟร์ดีนันท์ คาร์ล อาร์ชดยุกแห่งออสเตรีย-เอ็สเทอ และพระชายามารีอา เบียทริซ เดเอสเท ดัชเชสแห่งมาสตา (องค์รัชทายาทหญิงแห่งดัชชีโมเดนาและเรจโจ) โดยเมื่อทรงพระเยาว์ พระองค์มีพระนามเดิมว่า มารีอา ลูอีกีอา (Archduchess Maria Luigia of Austria-Este) พระองค์ทรงเข้ารับการศึกษาพร้อมกับพระเชษฐา และพระเชษฐภคินี โดยทุกพระองค์ทรงได้รับการศึกษาอย่างเข้มงวดจากพระอัยกี จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา โดยพระองค์มีพระบัญชาให้อาจารย์สอนอย่างเข้มงวด ทั้งเรื่องมารยาทและขนบธรรมเนียมประเพณี ในช่วงทรงพระเยาว์ อาร์ชดัชเชสมาเรีย ลุยเกียทรงประทับอยู่ในปราสาทมอนซาในนครมิลาน พระบิดาของพระองค์ทรงเป็นผู้ว่าการรัฐลอมบาร์เดีย พระบิดา พระมารดา รวมทั้งพระเชษฐา และพระเชษฐภคินีทรงประทับอยู่ในมิลานจนถึงการรุกรานของนโปเลียน โบนาปาร์ตที่นำกองทัพฝรั่งเศสามารถยึดครองมิลานได้เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1796 พระบิดาได้พระชายาและพระบุตรหลบหนีไปยังเมืองทรีเอสต์ จักรพรรดิฟรันทซ์ พระนัดดาทรงส่งขบวนราชรถไปรับสมเด็จพระราชปิตุลามายังกรุงเวียนนา อาร์ชดัชเชสมาเรีย ลูอีกีอาและพระบิดา พระมารดา รวมทั้งพระเชษฐาและพระเชษฐภคินีทรงประทับอยู่ที่พระราชวังดีทริชสไตน์ จนพระบิดาสิ้นพระชนม์เมื่อปี ค.ศ. 1806 อภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1808 พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับพระญาติของพระองค์ จักรพรรดิฟรันทซ์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ภายหลังทรงเป็นจักรพรรดิออสเตรีย) โดยจักรพรรดิฟรันทซ์เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิเลโอพ็อลท์ ซึ่งเป็นพระราชปิตุลาของพระองค์ โดยการอภิเษกสมรสครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 3 ของจักรพรรดิฟรันทซ์ ซึ่งก่อนหน้านี้ ทรงอภิเษกสมรส 2 ครั้งกับดัชเชสเอลีซาเบ็ทแห่งเวือร์ทเทิมแบร์ค และเจ้าหญิงมารีอา เทเรซาแห่งเนเปิลส์และซิซิลี การอภิเษกสมรสครั้งนี้ ถูกจัดขึ้นอย่างเรียบง่าย ทั้ง 2 พระองค์ทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสโดยทรงรับคำถวายพระพรกับอาร์ชดยุกคาร์ล บิชอปแห่งเอสเตอร์กอม ซึ่งเป็นพระเชษฐาในอาร์ชดัชเชสมารีอา หลังจากการอภิเษกสมรสแล้ว พระองค์ทรงได้รับการสถาปนาเป็นจักรพรรดินีแห่งออสเตรีย และพระองค์ทรงเปลี่ยนพระนามใหม่เป็น มารีอา ลูโดวีกา (Her Imperial and Royal Majesty The Empress Maria Ludovika of Austria) ทั้งสองพระองค์ทรงไม่มีพระราชโอรสหรือพระราชธิดาเลย แต่พระองค์เป็นพระราชชนนีที่ดีต่อพระราชบุตรของพระราชสวามี ที่ประสูติจากพระชายาองค์ก่อน เจ้าหญิงมารีอา เทเรซา การคุกคามของนโปเลียน โบนาปาร์ตหลังจากทั้งสองพระองค์ทรงอภิเษกสมรสไม่นาน กองทัพฝรั่งเศส นำโดยนโปเลียน โบนาปาร์ต ได้ประกาศสงครามเพื่อล้างแค้นอีกครั้ง โดยกองทัพฝรั่งเศสได้บุกเข้าโจมตีรัสเซีย ปรัสเซีย รวมทั้งออสเตรียด้วย โดยเมื่อกองทัพเดินทางเข้ามาถึงจักรวรรดิออสเตรีย อาร์ชดยุกคาร์ล อัมโบรซิโอสแห่งออสเตรีย-เอ็สเทอ บิชอปแห่งเอสเตอร์กอม ได้ทรงเดินทางมาเจรจากับนโปเลียน ทรงทูลกับนโปเลียนให้จบสงครามโดยเร็ว เพราะการก่อสงครามกับออสเตรียนั้น จะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งการอภิเษกสมรสซึ่งผ่านมาไม่นานอีกด้วย สงครามน่าจะจบลงตั้งแต่ตอนนั้น แต่มารีอา ลูโดวีกาทรงลุกฮือขึ้นมาต่อต้านและประณามการกระทำของนโปเลียน ที่มาวิพากย์วิจารณ์การอภิเษกสมรสของพระองค์ ซึ่งถือเป็นเรื่องส่วนพระองค์ พระองค์จึงทรงสนับสนุนพระราชสวามีทำสงครามกับจักรวรรดิฝรั่งเศสทันที พระองค์ทรงนำกองทัพเข้าร่วมสงครามจนได้รับชัยชนะเมื่อปี ค.ศ. 1800 โดยในระหว่างสงคราม มารีอา ลูโดวีกาทรงเป็นองค์แม่ทัพฝ่ายในปกป้องกรุงเวียนนาจากข้าศึก หลังจากข้าศึกแล้ว แต่ฝรั่งเศสยังไม่ยอมแพ้ ไม่ยอมถอยกองทัพ มารีอา ลูโดวีกาทรงสนับสนุนให้พระราชสวามีให้นำกองทัพเข้าไปจู่โจมฝรั่งเศสอีกครั้ง โดยทรงได้คำแนะนำจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ โยฮันน์ ฟิลลิพ สเตเดียน, เคานต์แห่งวาร์ทเฮาเซิน หลังจากนั้นไม่นาน จักรพรรดอฟรันทซ์ทรงสถาปนาพระองค์เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งฮังการีเมื่อวันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 1808 ณ เมืองบราติสลาวา (ปัจจุบันคือเมืองหลวงของประเทศสโลวาเกีย) การสถาปนาพระองค์เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งฮังการีนั้น สร้างความพึงพอใจต่อพสกนิกรชาวฮังการีเป็นอย่างมาก ที่จะได้มีการปรับโครงสร้างทางการเมืองการปกครอง รวมทั้งทางด้านการทหารอีกด้วย พระองค์จึงเป็นองค์แม่ทัพหญิงแห่งกองทัพฮังการี ที่จะนำไปร่วมรบในสมรภูมิกับพระสวามี นอกจากจะมีกองทัพของออสเตรียและฮังการีแล้ว พระองค์สามารถทูลขอความช่วยเหลือจากสเปนมาช่วยร่วมรบสงครามอีกด้วย และยังได้รับความช่วยเหลืออีกทางจากกลุ่มสมาพันธรัฐแห่งแม่น้ำไรน์ (Rhine Confederation) รวมทั้งปรัสเซียอีกด้วย ในที่สุดออสเตรียก็สามารถเอาชนะฝรั่งเศสได้ ฝรั่งเศสยอมถอยทัพกลับไป หลังจากสงครามแล้ว มารีอา ลูโดวีกาก็ทรงเป็นที่รักใคร่ของประชาชน ที่ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่เป็นพระองค์หลักในการป้องกันประเทศจากศึกสงคราม แทนที่จะเป็นพระสวามี ซึ่งทรงนำกองทัพออกรบในสมรภูมิ นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงให้ทางฝรั่งเศสปล่อยตัวคลีเม็นส์ ฟ็อน เม็ทเทอร์นิช ซึ่งเป็นนักการทูตและองค์ประธานของการประชุมที่เวียนนา (Congress of Vienna) ซึ่งทรงถูกฝรั่งเศสกักตัวไว้ ขณะที่ทรงเดินทางไปสเปน ดังนั้น ตั้งแต่นั้นมา พระองค์ทรงเป็นศัตรูตัวฉกาจของนโปเลียน ซึ่งให้สมญาพระนามแก่พระองค์ว่า The Greatest Enemy in Europe หลังจากนั้น จักรวรรดิออสเตรียก็ได้รับการกล่าวขวัญและชื่นชมยินดีจากหลายๆประเทศ เช่น ประเทศในกลุ่มสมาพันธรัฐแห่งไรน์ และสมาพันธรัฐแห่งเยอรมัน รวมทั้งจักรวรรดิรัสเซีย และปรัสเซียที่สามารถเอาชนะศัตรูตัวฉกาจของนโปเลียนที่บังอาจรุกล้ำ แก้วก่ายการเมืองการปกครอง รวมทั้งพระราชสำนักยุโรป จึงมีการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ในออสเตรีย หลังจากเสร็จสิ้นสงครามแล้ว พระองค์ทรงเป็นที่รักของพสกนิกร พระองค์ทรงช่วยแบ่งเบาพระราชภาระของพระสวามี โดยทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจหลายอย่าง ถึงแม้พระองค์จะประชวร แต่พระองค์ก็ยังทรงเด็ดเดี่ยว ทรงงานและพระราชกรณียกิจเพื่อช่วยเหลือประชาชน โดยเมื่อพระสวามีเสด็จไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่างประเทศ พระองค์ก็ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระสวามีทุกอย่าง รวมทั้งทรงดูแลพระราชโอรส และพระราชธิดาด้วย สวรรคตมารีอา ลูโดวีกาสวรรคตเมื่อวันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 1816 ด้วยโรควัณโรค ขณะที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปยังประเทศบ้านเกิดของพระองค์ รวมพระชนมพรรษาเพียง 28 พรรษา อ้างอิง
|