มาร์กาเรต บราวน์
มาร์กาเรต บราวน์ (อังกฤษ: Margaret Brown, สกุลเดิม โทบิน; 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1867 – 26 ตุลาคม ค.ศ. 1932) รู้จักกันหลังเสียชีวิตเป็น "มอลลี บราวน์ ผู้ไม่มีวันจม" เป็นคนดังในสังคมและนักการกุศลชาวอเมริกัน เธอเป็นผู้รอดชีวิตจากการอับปางของอาร์เอ็มเอส ไททานิก ใน ค.ศ. 1912 และเธอเป็นผู้เร่งเร้าให้ลูกเรือในเรือช่วยชีวิต หมายเลข 6 ให้กลับไปยังพื้นที่เศษซากเพื่อค้นหาผู้รอดชีวิต แต่ไม่สำเร็จ[1] ในช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ เพื่อนของเธอจะเรียกเธอว่า "แมกกี" แต่หลังจากที่เธอเสียชีวิต ข่าวมรณกรรมเรียกเธอเป็น "นางบราวน์ผู้ไม่มีวันจม"[2] จีน ฟาวเลอร์เรียกเธอในหนังสือ Timberline ที่เขียนใน ค.ศ. 1933 เป็น "มอลลี บราวน์"[3] ปีถัดมา เธอได้รับการเรียกขานในหนังสือพิมพ์เป็น "นางบราวน์ผู้ไม่มีวันจม" และ "มอลลี บราวน์"[4] ชีวิตช่วงต้นมาร์กาเรต โทบินเกิดในวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1867[5][6][7] ที่เดนเกลอส์แอลลีย์ (Denkler's Alley) ใกล้แม่น้ำมิสซิสซิปปีที่แฮนนิบัล รัฐมิสซูรี[6][a] กระท่อมสามห้องที่เธอเกิดปัจจุบันกลายเป็นสถานที่เกิดและพิพิธภัณฑ์มอลลี บราวน์ (Molly Brown Birthplace and Museum) ตั้งอยู่ที่ถนน 600 Butler Street ในแฮนนิบัล[6][8] พ่อแม่คือจอห์น โทบินกับโจฮันนา (คอลลินส์) โทบิน ผู้อพยพชาวไอริชที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก[9][b] พี่น้องของเธอได้แก่แดเนียล โทบิน, ไมเคิล โทบิน, วิลเลียม โทบิน และเฮเลน โทบิน พ่อแม่ของมาร์กาเรตเคยแต่งงานกับคู่สมรสคนอื่นที่เสียชีวิตไปแล้ว บราวน์มีพี่/น้องสาวต่างมารดาสองคน คือ แคเทอรีน บริดเจต โทบินจากการแต่งงานครั้งแรกของพ่อ และแมรี แอนน์ คอลลินส์จากการแต่งงานครั้งแรกของแม่[12] ตอนอายุ 18 ปี มาร์กาเรตย้ายไปที่ลีดวิลล์ รัฐโคโลราโดร่วมกับแดเนียล โทบิน, แมรี แอนน์ คอลลินส์ แลนดริแกน และจอห์น แลนดริแกน สามีของแมรี แอนน์ มาร์กาเร็ตและแดเนียลอาศัยอยู่ในบ้านไม้ซุงสองห้องร่วมกัน และเธอได้งานเย็บพรมและผ้าม่านที่ร้านขายสิ่งทอ[12] แดเนียลที่มีอาชีพนักประมงและช่างเหล็ก ทำอาชีพเป็นคนงานเหมือง[13] แต่งงานและลูกมาร์กาเรตกับเจ.เจ. แต่งงานที่โบสต์แม่พระรับสารลีดวิลล์เมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1886.[12] โดยให้กำเนิดลูกสองคน คือ: ลอว์เรนซ์ พาลเมอร์ บราวน์ (1887–1949) รู้จักกันในชื่อ แลร์รี และแคเทอรีน เอลเลน บราวน์ (1889–1969) รู้จักกันในชื่อ เฮเลน[14]: 51, 52, 117 ทั้งคู่ยังเลี้ยงดูหลานสาวสามคน คือ: เกรซ, ฟลอเรนซ์ และเฮเลน โทบิน[15]: xxiv ผู้โดยสารบนเรือ ไททานิก
ช่วงหลังและเสียชีวิตเมื่อ ค.ศ. 1914 เธอช่วยเหลือคนงานเหมืองและครอบครัวหลังการสังหารหมู่ลัดโลว์ ค.ศ. 1914[16] และยังช่วยจัดการประชุมสิทธิสตรีสากลในปีนั้นซึ่งจัดขึ้นที่นิวพอร์ต รัฐโรดไอแลนด์[17] ตั้งแต่ระหว่างถึงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เธอทำงานให้กับหน่วยกาชาดในฝรั่งเศสและ American Committee for Devastated France ในภายหลัง เพื่อช่วยเหลือทหารฝรั่งเศสและอเมริกัน และสร้างพื้นที่หลังแนวหน้าใหม่ สำหรับผลงานของเธอในการจัดระบบพนักงานขับรถพยาบาล พยาบาล และผู้แจกจ่ายอาหาร ทำให้บราวน์ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์เมื่อ ค.ศ. 1932[9] เจ.เจ. บราวน์เสียชีวิตในวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 1922[15]: 220 มาร์กาเรตกล่าวในหนังสือพิมพ์ว่า แม้ว่าเธอพบกับพระบรมวงศานุวงศ์และผู้ยิ่งใหญ่รอบโลก "ฉันไม่เคยพบใครที่เก่งกว่า ใหญ่โตกว่า และมีคุณค่ามากกว่า เจ.เจ. บราวน์"[15]: 217 เจ.เจ. บราวน์ทิ้งอสังหาริมทรัพย์ กิจการเหมืองแร่ และหุ้นจำนวนมากที่มีความซับซ้อนไว้มากมาย ครอบครัวบราวน์และทนายความของพวกเขาไม่ทราบว่ามีทรัพย์สินเหลืออยู่เท่าใด ก่อนที่เจ.เจ. จะเสียชีวิต เขาได้โอนเงินจำนวนมากให้กับลูก ๆ ของเขา โดยที่ลูก ๆ ก็ไม่รู้เช่นกันว่ามาร์กาเรตมีเงินอยู่มากเพียงใด แต่ไม่พอใจที่เธอใช้เงินจำนวนมากไปกับการกุศล มาร์การ็ต บราวน์และลูก ๆ ของเธอต่อสู้ในศาลเพื่อแบ่งมรดกเป็นเวลาหกปี[15]: 220–221 ในคริสต์ทศวรรษ 1920 มาร์กาเรต บราวน์ใช้พลังงานของเธอมุ่งเน้นที่ความหลงใหลส่วนตัว โดยเฉพาะการละคร เธอเสียชีวิตขณะนอนหลับเมื่อเวลา 22:55 น. ของวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1932 ด้วยอายุ 65 ปี ที่โรงแรมบาร์บิซันในนครนิวยอร์ก การชันสูตรพลิกศพในเวลาต่อมาพบว่าเธอเป็นเนื้องอกในสมอง เธอได้รับการฝังถัดจากเจ.เจ. ที่สุสานเซนต์บริจิด ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อสุสานโฮลีรูดที่เวสต์บิวรี รัฐนิวยอร์ก[2][18] หลังจัดพิธีขนาดเล็กที่เพื่อนใกล้ชิดและครอบครัวเข้าร่วมในวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1932 มีการร้องเพลง แต่ไม่มีบทยกย่อง[2] สิ่งสืบทอดชื่อเสียงของบราวน์ในฐานะผู้รอดชีวิตจากเรือ ไททานิก ช่วยสนับสนุนเธอในประเด็นด้านการกุศลและการเคลื่อนไหวที่เธอรู้สึกอย่างแรงกล้า[16] เธอมีความกังวลเกี่ยวกับสิทธิคนงานและสตรี การศึกษาและการรู้หนังสือสำหรับเด็ก การอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ และการรำลึกถึงความกล้าหาญและการให้เกียรติที่แสดงโดยผู้คนบนเรือ ไททานิก[15] ใน ค.ศ. 1985 บราวน์ได้รับการแต่งตั้งเข้าในหอเกียรติยศแห่งสตรีโคโลราโด (Colorado Women's Hall of Fame)[16] หมายเหตุ
อ้างอิง
อ่านเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
|