มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชัน
มิตซูบิชิ แลนเซอร์ อีโวลูชั่น (Mitsubishi Lancer Evolution) หรือ อีโว (Evo) เป็นรุ่นรถในเครือของ มิตซูบิชิ แลนเซอร์ มีตัวถังรถคล้ายแลนเซอร์ทั่วไป แต่มีเครื่องยนต์ที่มีสมรรถนะสูงกว่า สอดคล้องกับคำว่า Evolution ซึ่งแปลว่า วิวัฒนาการ แลนเซอร์ อีโวลูชั่น จึงหมายถึง แลนเซอร์รุ่นพิเศษที่ได้วิวัฒนาการขึ้นมาเป็นรถแข่งที่เครื่องยนต์มีความแรงกว่าแลนเซอร์ทั่วไป อีโวลูชันรุ่น 1 ถึง 9 จะใช้เครื่องยนต์รุ่น 4G63 เทอร์โบชาร์จ 2,000 ซีซี ขับเคลื่อนสี่ล้อ อีโวลูชั่น รุ่นที่ 1 ผลิตขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2535 โดยใช้ตัวถังของแลนเซอร์รุ่นที่ 6 อีโวลูชั่นที่ใช้เครื่องยนต์รุ่น 4G63 วิวัฒนาการไปถึงรุ่นที่ 9 ในขณะที่อีโวลูชั่นพัฒนาไปถึงรุ่นที่ 10 และเปลี่ยนเครื่องยนต์เป็นรุ่น 4B11 เทอร์โบชาร์จ ขนาดความจุ 2,000 ซีซี[1] เพราะอีโวลูชันมีการพัฒนาประสิทธิภาพ สมรรถนะค่อนข้าวเร็ว ดังนั้น การเกิดโมเดลเชนจ์จึงมีบ่อย ช่วงเวลาของแต่ละรุ่นจึงสั้น เดิมทีนั้น ทางมิตซูบิชิขายอีโวลูชันภายในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น ไม่ส่งออก แต่ทว่า กลุ่มบริษัทนำเข้ารถยนต์อิสระ จึงได้ใช้สิทธิตามกฎหมายเป็นผู้ส่งอีโวลูชั่นออกไปขายตามตลาดภูมิภาคต่างๆ ของโลก จนอีโวลูชั่นกลายเป็นรถที่มีชื่อเสียง มิตซูบิชิจึงตัดสินใจเริ่มส่งออกอีโวลูชั่นไปขายเองในปี พ.ศ. 2546 โดยเริ่มส่งออกอีโวลูชั่นเองในรุ่นที่ 8 เป็นรุ่นแรก สำหรับในประเทศไทย อีโวลูชั่นของจริงพบเห็นได้น้อยมาก เพราะด้วยสมรรถนะสูงและออพชั่นต่างๆ ของอีโวลูชั่น ทำให้มีราคาแพง และยิ่งเมื่อรวมภาษีและค่าการตลาดต่างๆ เข้าไปแล้ว อีโวลูชั่นมีราคาแพงมาก ผู้ใช้ที่ต้องการรถที่เครื่องแรงจึงเปลี่ยนใจซื้อมิตซูบิชิ แลนเซอร์ ไปแต่งเองเสียมากกว่า ทำให้ อีโวลูชั่นในไทยหายากมาก[2] รุ่นที่ 1 (CD9A; พ.ศ. 2535 - 2537)อีโวลูชันรุ่นแรก ใช้ตัวถังของแลนเซอร์รุ่นที่ 6 หรือโฉม E-CAR ได้เข้าร่วมการแข่งขัน World Rally Championship ขุมพลัง 4G63 DOHC 16 วาล์ว มีเทอร์โบชาร์จและอินเตอร์คูลเลอร์ ให้กำลังสูงสุด 247 แรงม้า ที่6,000 รอบต่อนาที และแรงบิดสูงสุด 31.6 กิโลกรัม-เมตร ที่ 3,000 รอบต่อนาที ใช้เกียร์ธรรมดา 5 สปีด ส่งกำลังลงสู่ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ คู่หน้าแบบมีรูระบายความร้อน ด้านมิติ ความยาวตัวถัง 4310 มิลลิเมตร กว้าง 1695 มิลลิเมตร สูง 1395 มิลลิเมตร ระยะฐานล้อ 2500 มิลลิเมตร น้ำหนักตัวรถ 1170-1240 กิโลกรัม[2] รุ่นที่ 2 (CE9A EVO II; พ.ศ. 2537 - 2538)อีโวลูชันรุ่นที่สอง มีการปรับปรุงระบบเครื่องยนต์โดยเพิ่มแรงดัน BoosterTurbo ทำให้มีกำลังเพิ่มจาก 247 เป็น 256 แรงม้า ที่ 6000 รอบต่อนาที (เครื่องยนต์ 2000 ซีซีเท่ากัน) ทอร์ค 31.6 กิโลกรัม-เมตร ที่ 3000 รอบต่อนาที ใช้เกียร์ธรรมดา 5 สปีดส่งกำลังสู่ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ มีการปรับปรุงระบบการควบคุมรถ เพิ่มระยะฐานล้อจาก 2500 เป็น 2510 มิลลิเมตร และเพิ่มขนาดสปอยเลอร์ เพิ่มความสูงจาก 1395 เป็น 1420 มิลลิเมตร น้ำหนักตัวรถ 1180-1250 กิโลกรัม[2] รุ่นที่ 3 (CE9A EVO III; พ.ศ. 2538 - 2539)อีโวลูชันรุ่นที่ 3 ได้มีการติดตั้งแอโรพาร์ท และสปอยเลอร์รอบคัน เพื่อเพิ่มแรงกด(ให้ยึดติดกับพื้นถนน กันลอย) และลดค่าการต้านทานอากาศ(แอโรไดนามิค)ลง ทำให้รถพุ่งได้ดียิ่งขึ้น และเปลี่ยนคอมเพรสเซอร์ของระบบเทอร์โบชาร์จ ทำให้มีกำลังเพิ่มขึ้นอีก จาก 256 เป็น 270 แรงม้า ที่ 6250 รอบต่อนาที (เครื่องยนต์ 2000 ซีซี) ทอร์ค 31.6 กิโลกรัม-เมตร ที่ 3000 รอบต่อนาที ใช้เกียร์ธรรมดา 5 สปีด น้ำหนักรถ 1190-1260 กิโลกรัม ส่วนมิติกว้างยาวและระยะฐานล้อคงเดิม[2] รุ่นที่ 4 (CN9A; พ.ศ. 2539 - 2541)อีโวลูชันรุ่นที่ 4 ได้เปลี่ยนมาใช้ตัวถังพื้นฐานของแลนเซอร์รุ่นที่ 7 หรือ โฉมท้ายเบนซ์ หรือแลนเซอร์เอ็มจี ตัวถังยาว 4330 มิลลิเมตร กว้าง 1690 มิลลิเมตร สูง 1415 มิลลิเมตร ระยะฐานล้อ 2510 มิลลิเมตร น้ำหนัก1260 - 1350 กิโลกรัม เป็นได้มีการเปลี่ยนมาใช้พวงมาลัยแบบ 3 ก้านทรงสปอร์ต มีการติดตั้งถุงลมนิรภัย และระบบ Active Yaw Control หรือระบบควบคุมแรงบิดล้อหลังเป็นรุ่นแรกของโลก ทำให้สามารถเข้าโค้งได้ที่ความเร็วสูง และทรงตัวได้ดีเมื่อเบรกกะทันหัน เครื่องยนต์ที่ใช้ ยังเป็นเครื่อง 4G63 ขนาด 2000 ซีซี เช่นเดียวกับรุ่นก่อนหน้าทั้ง 3 รุ่น แต่ใช้เครื่องยนต์แบบเทอร์โบคู่ (Twin Scroll Turbo) ปรับสมรรถนะขึ้น โดยมีกำลัง 276 แรงม้า ที่ 6500 รอบต่อนาที และแรงบิดสูงสุด 36.0 กิโลกรัม-เมตร ที่ 3000 รอบต่อนาที นอกจากนี้ยังมีการย้ายตำแหน่งเครื่องยนต์เยื้องมาทางฝั่งคนขับ เพื่อให้ทำงานประสานกับเกียร์ธรรมดา 5 สปีดได้ดียิ่งขึ้น[2] ด้านการตกแต่งภายใน อีโวลูชัน โฟว์ ถือเป็นรุ่นแรก ในตระกูลอีโวลูชัน ที่ติดตั้งพวงมาลัย 3 ก้านทรงสปอร์ตที่ฝังถุงลมนิรภัยด้านคนขับจาก MOMO เอาไว้ โดยใช้ด้ายสีแดง เย็บหนังหุ้มพวงมาลัยเอาไว้ ขณะที่หัวเกียร์หุ้มหนังด้วยเช่นกันกระนั้น สิ่งที่ยังไม่เปลี่ยนไป นั่นคือ มิตซูบิชิ ยังคงใช้บริการเบาะนั่งแบบบักเก็ตซีต บุผ้าจาก RECARO ตามเคย มาตรวัดขาว ตัวเลขเรืองแสงสีแดง เครื่องปรับอากาศดิจิตอลแบบสหกรณ์ พบได้ในรถรุ่นหรูๆของค่ายนี้ มีให้เลือกทั้งรุ่น RS – "Rally Sport" – สำหรับลูกค้าที่ต้องการรถสภาพเดิม ไปโมดิฟายต่อเพื่อลงแข่งในสนาม และรุ่น GSR – "Gran Sport Racing" – สำหรับลูกค้าทั่วไป รุ่นที่ 5 (CP9A EVO V; พ.ศ. 2541 - 2542)อีโวลูชันรุ่นที่ 5 ได้เพิ่มช่องรับอากาศขนาดใหญ่เพื่อระบายความร้อนในเครื่องยนต์ ตัวถังยาว 4350 มิลลิเมตร กว้าง 1770 มิลลิเมตร สูง 1405-1415 มิลลิเมตร หนัก 1260 - 1360 กิโลกรัม เครื่องยนต์มีแรงม้าเท่าเดิม แต่แรงบิดเพิ่มเป็น 38.1 กิโลกรัม-เมตร ที่ 3000 รอบต่อนาที[2] รุ่นที่ 6 (CP9A EVO VI; พ.ศ. 2542 - 2544)อีโวลูชันรุ่นที่ 6 ได้มีการปรับปรุงระบบแอโรพาร์ท และระบบหล่อเย็นเครื่องยนต์ให้ได้ตามมาตรฐานของ Fédération Internationale de l'Automobile หรือ FIA ปรับปรุงระบบ Active Yaw Control ให้ทันสมัยขึ้น เปลี่ยนแกนเทอร์ไบน์เป็นไททาเนียม ปรับปรุงระบบสั่นสะเทือนเพื่อให้ยึดเกาะถนนได้ดีขึ้น ในปีเดียวกัน มิตซูบิชิได้ผลิตแลนเซอร์ อีโวลูชัน เวอร์ชันพิเศษ เพื่อเป็นเกียรติให้ ทอมมี มาคิเนน (Tommi Makinen) ซึ่งเป็นนักแข่งแรลลี่อาร์ตของทีมมิตซูบิชิ ที่ได้ใช้แลนเซอร์ อีโวลูชัน คว้าชัยชนะในอันดับต้นๆ ในการแข่งแรลลี่อาร์ตระดับโลกได้หลายครั้ง โดยยึดการตกแต่งด้วยสีแดง ออกแบบชุดแอโรพาร์ทใหม่ทั้งหมด พร้อมฝาปิดถังน้ำมันแบบใหม่เพื่อกันการกระฉอกในการเข้าโค้งด้วยความเร็วสูง เครื่องยนต์ของอีโวลูชัน 6 มีแรงม้าเท่าเดิม แต่แรงบิด เปลี่ยนเป็น 38.1 กิโลกรัม-เมตร ที่ 2750 รอบต่อนาที และอีโวลูชันรุ่นที่ 6 ได้ปรากฏตัวในภาพยนตร์เรื่อง Taxi 2 โดยเป็นรถของแก๊งค์ยากูซ่า ในฉากที่ไล่กวดรถ เปอรโยต์ 406 และพุ่งเข้าชนรถถัง ในขณะที่เปอร์โยต์ 406 พุงลอยข้ามรถถังไป ด้านมิติ ตัวถังรถยาว 4350 มม. กว้าง 1770 มม. สูง1405-1415 มม. ระยะฐานล้อ 2510 มม. น้ำหนัก 1250 - 1360 กก.[2] รุ่นที่ 7 (CT9A EVO VII; พ.ศ. 2544 - 2546)อีโวลูชันรุ่นที่ 7 ได้เปลี่ยนมาใช้ตัวถังของแลนเซอร์รุ่นที่ 8 หรือ แลนเซอร์ ซีเดีย (Lancer Cedia) ตัวถังยาว 4455มม. กว้าง 1770มม.สูง 1450 มม. ระยะฐานล้อ 2625มม. หนัก 1320-1400 กก. รุ่นที่ 7 ยังใช้เครื่องยนต์ 4G63 แต่ปรับปรุงระบบทางเดินไอเสียให้ระบายไอเสียได้ดีขึ้น มีแรงม้าสูงสุด 280 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 39.4 กิโลกรัม-เมตร ส่งกำลังด้วยเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ ระบบขับเคลื่อนเปลี่ยนมาใช้ระบบ Active Center Differential แทนระบบ Viscous Coupling ติดตั้งระบบไฮดรอลิกควบคู่กับระบบคลัตช์หลายแผ่น และติดตั้งระบบเรกแบบ ABS และระบบกระจายแรงเบรก EBD มีระบบลดความร้อนของจานเบรก และวาล์วปรับแรงดันน้ำมันเบรก Pressure Control Value;PVC นอกจากนี้ อีโวลูชันรุ่นที่ 7 เป็นรุ่นแรก(และรุ่นเดียว)ของตระกูลอีโวลูชันที่มีการผลิตเกียร์อัตโนมัติขาย [ด้วยเพราะตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผู้ที่ศึกษาเรื่องรถจะทราบดีว่า เกียร์อัตโนมัติจะส่งกำลังได้น้อยกว่าเกียร์ธรรมดาอย่างเห็นได้ชัด (อันที่จริง เปราะบางกว่าด้วย) ซึ่งเมื่อการส่งแรงอันเปรียบเหมือนหัวใจของรถสปอร์ตทำได้ไม่สมบูรณ์ จึงไม่นิยมซื้อรถเกียร์อัตโนมัติเป็นรถสปอร์ต] แต่ในรุ่นที่ 7 นี้ ได้มีการผลิตเกียร์อัตโนมัติในอีโวลูชนเป็นรุ่นแรก แต่ก็แน่นอน มีกำลังน้อยกว่า คือ มีกำลัง 264 แรงม้า (เกียร์กระปุก 280) และมีแรงบิด 35 กิโลกรัม-เมตร (เกียร์กระปุก 39) [2] รุ่นที่ 8 (CT9A EVO VIII; พ.ศ. 2546 - 2548)อีโวลูชันรุ่นที่ 8 เป็นรุ่นแรกที่มิตซูบิชิได้ส่งออกไปขายในประเทศอเมริกาเป็นครั้งแรก มีการปรับปรุงระบบอินเตอร์คูลเลอร์และเทอร์โบชาร์จ เพิ่มความทนทานของก้านลูกสูบอลูมีเนียม ก้านสูบแบบเหล็กหล่อ เปลี่ยนไปใช้สปริงวาล์วแบบเบา เพื่อลดแรงเสียดทานในการทำงาน พร้อมระบบ ACD แบบใหม่ เลือกการทำงานตามสภาพถนนได้ 3 แบบ คือ ฝุ่นกรวด(Gravel), ถนนลาดยาง(Tarmac) และพื้นหิมะ (Snow) ในประเทศญี่ปุ่น อีโวลูชันมีกำลังสูงสุด 280 แรงม้า ที่6500 รอบต่อนาที และแรงบิดสูงสุด 40.1 กิโลกรัม-เมตร ที่3500 รอบต่อนาที นอกจากนี้ ยังมีระบส่งกำลังด้วยเกียร์ธรรมดาแบบอัตราทดชิด (Close Ration) คือการที่ความแตกต่างของขนาดเฟืองในแต่ละเกียร์นั้นน้อยกว่ารถทั่วไป ทำให้แต่ละเกียร์สามารถส่งกำลังได้มากกว่า ส่วนในประเทศอเมริกา มิตซูบิชิจำเป็นต้องลดกำลังและแรงบิดเครื่องยนต์ลดมา เพื่อให้เครื่องยนต์ใช้เชื้อเพลิงน้อย และมีมลภาวะต่ำกว่าอีโวลูชันในญี่ปุ่น เพื่อให้ผ่านมาตรฐานไอเสียสะอาดระดับ LEV1 - LEV ของมลรัฐแคลิฟอร์เนีย โครงสร้างตัวถังมีความยาว 4490-4535 มม. กว้าง 1770 มม. สูง 1450 มม. ระยะฐานล้อ 262 5มม. น้ำหนักตัวรถ 1320-1410 กก. ห้องโดยสารตกแต่งโดยเน้นโทนสีดำเป็นหลัก แผงหน้าปัดคอนโซลเพิ่มตัวเลขความเร็วสูงในหน้าปัดขึ้นไปถึง 260 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รุ่นที่ 9 (CT9A EVO IX & CT9W; พ.ศ. 2548 - 2550)อีโวลูชันรุ่นที่ 9 ใช้ระบบเทอร์โบคู่คูลเลอร์เวอร์ชันล่าสุด ทำงานพร้อมกับระบบ MIVEC ให้กำลังได้สูงสุด 300 แรงม้า แรงบิดสงสุด 40.1 กิโลกรัม-เมตร มีการตกแต่งภายในเลียนแบบให้เหมือนรถยานหุ้มเกาะมากที่สุด เบาะที่นั่งรถแข่งKirkey หุ้มอัลคันทาราและหนังแท้ พวงมาลัยสามก้านสีไททาเนียมของบริษัทโมโม แป้นเหยียบอะลูมิเนียมกันลื่น แผงข้างประตูและคอนโซลใช้วัสดุเหล็กกล้าคาร์บอน ตัวถังยาว 4490 มม. กว้าง 1770 มม. สูง 1450 มม. ฐานล้อ 2625 มม. น้ำหนักตัวรถ 1310 - 1490 กก.[2] รุ่นที่ 10 (CZ4A; พ.ศ. 2550 - 2559)อีโวลูชันรุ่นที่ 10 เปลี่ยนระบบขับเคลื่อนสี่ล้อแบบใหม่ S-AWC (Super-All Wheel Control) และระบบเบรก ABC (Active Brake Control) มีระบบเกียร์มาใหม่ คือ เกียร์แบบซีเควนเซียล 6 สปีด ใช้พื้นฐานของเกียร์ธรรมดา แต่ใช้คลัตไฟฟ้า เปลี่ยนเกียร์โดยใช้ปุ่ม +,- ที่ติดตั้งไว้ที่แป้นพวงมาลัย โดยขายควบคู่กับเกียร์ธรรมดา 5 สปีดแบบเดิม ในรุ่นที่ 10 ได้เปลี่ยนไปใช้ตัวถังใหม่ของแลนเซอร์รุ่นที่ 9 หรือโฉมหน้าฉลาม ตัวถังยาว 4495 มม. กว้าง 1810 มม. สูง 1480มม. ระยะฐานล้อ 2650 มม. น้ำหนักรถ 1420 - 1600 กก. มีการนำอะลูมิเนียมมาผลิตฝากระโปรง, พื้นตัวถังของห้องเก็บสัมภาระ, หลังคา, กันชน, แผงประตูทั้ง4บาน เพื่อเป็นการลดน้ำหนักของตัวรถ(รถใหญ่กว่ารุ่นก่อนมาก แต่น้ำหนักมากกว่าเล็กน้อย) และได้เปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์ 4B11 2000 ซีซี ให้กำลังได้ไม่ต่ำกว่า 280 แรงม้า แรงบิด 43 กิโลกรัม-เมตร และมีรุ่นพิเศษ ชื่อ super evo limited ทำการติดตั้งเครื่องยนต์ V8 ความจุ6200ซีซี แรงม้า 680 แรงบิด850นิวตันเมตร [1] อ้างอิงแหล่งข้อมูลอื่น
|