รอยเท้าคาร์บอนรอยเท้าคาร์บอน (อังกฤษ: carbon footprint) เป็นการวัดผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ที่มีต่อระบบสิ่งแวดล้อมในแง่ของปริมาณแก๊สเรือนกระจกที่สร้างขึ้นมาจากกิจกรรมนั้นๆ โดยวัดคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมา[1] รอยเท้าคาร์บอนใช้สำหรับประมาณว่าคน ประเทศ หรือองค์กรหนึ่ง ๆ มีผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนมากน้อยเพียงใด วิธีการหลักของรอยเท้าคาร์บอนคือ ประเมินปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยออกมาสู่สิ่งแวดล้อมและประเมินความมากน้อยในการส่งเสริมพลังงานทดแทนหรือพลังงานสะอาดขององค์กรนั้น เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ หรือการปลูกป่า รอยเท้าคาร์บอนเป็นส่วนย่อยของรอยเท้าระบบนิเวศ (ecological footprint) ซึ่งจะรวมเอาความต้องการของมนุษย์ทั้งหมดในระบบชีวนิเวศเข้าไปด้วย นิยามของรอยเท้าคาร์บอนรอยเท้าคาร์บอนเป็นการวัดประมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO คำว่า "วงจร" ในนิยามของรอยเท้าคาร์บอนนี้จะคิดจากสาเหตุที่เป็นไปได้ทั้งหมดที่มีผลต่อการปลดปล่อยคาร์บอนออกมา หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ จะต้องนับทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการปล่อยทั้งทางตรง (on-site, internal) และทางอ้อม (off-site, external, embodied, upstream, downstream) [2] ปกติแล้ว รอยเท้าคาร์บอน ก็คือปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (นิยมใช้หน่วยกิโลกรัมหรือตัน) ซึ่งเป็นแก๊สที่ส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนเช่นเดียวกับแก๊สเรือนกระจกชนิดอื่นๆ (สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งรัฐสภาสหราชอาณาจักร (POST), 2006) รอยเท้าคาร์บอนยังสามารถคำนวณได้จากการใช้วิธีดูวงจรการผลิต (Life Cycle Assessment) หรือดูจากปริมาณแก๊สที่ปล่อยออกมาจากพลังงานเชื้อเพลิง อย่างไรก็ตาม ทั้งสองกรณีนี้ก็สามารถใช้วัดปริมาณที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ได้ด้วย นอกจากปริมาณที่ใช้พลังงานจะมีความสำคัญแล้ว ที่มาของพลังงานเหล่านั้นก็มีความสำคัญต่อการคำนวณเช่นกัน (ตัวอย่างเช่นว่า พลังงานเหล่านั้นมาจากเชื้อเพลิงหรือมาจากแหล่งพลังงานทดแทน) คำนิยามอื่นๆของรอยเท้าคาร์บอน คือ ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดที่มาจากการกระทำของมนุษย์แต่ละคนในระยะเวลา 1 ปี (ซึ่งรวมถึงการปล่อยออกมาผ่านการใช้พลังงานด้วย) นิยามนี้ให้ความสำคัญเรื่องของการคำนวณปริมาณคาร์บอนของแต่ละบุคคล ซึ่งมาจากแนวความคิดที่ว่ารอยเท้านี้เป็นสิ่งที่มาจากการกระทำของมนุษย์ทกุๆคนรวมกัน รอยเท้าคาร์บอนอาจจะพิจารณาเฉพาะการปล่อยโดยตรงอย่างเดียว (คำนวณจากปริมาณพลังงานที่ใช้ในครัวเรือนและการขนส่ง รวมไปถึงการเดินทางด้วยรถยนต์ เครื่องบิน รถไฟ หรือการขนส่งสาธารณะอื่นด้วย) หรืออาจจะรวมเอาการการปล่อยทางอ้อมไว้ด้วยก็ได้ (รวมปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นผลมาจากสินค้าและบริการที่บริโภคในแต่ละวัน) การคำนวณจากล่างขึ้นบนจะให้ผลรวมเป็นปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่แต่ละคนปล่อยออกมาจากกิจกรรมของตัวเอง ส่วนการคำนวณจากบนลงล่างจะให้ผลรวมเป็นปริมาณที่ประเทศนั้นๆปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาทั้งหมด และสามารถนำไปหารเป็นปริมาณเฉลี่ยที่ครัวเรือนหนึ่งปล่อยออกมา อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|