Share to:

 

ระบบพิกัดกริด

แผนที่แสดงกริดโลเคเตอร์ที่เขียนด้วยมือบนแผนที่ประเทศไทย ใช้เพื่อระบุตำแหน่งสถานีคู่สนทนา ระหว่างการแข่งขัน CQ World Wide VHF Contest 2016 ของชมรมวิทยุสมัครเล่นพระจอมเกล้าลาดกระบัง

กิจการวิทยุสมัครเล่นได้นำ ระบบพิกัดกริด หรือ Grid Locator System มาใช้เพื่อบอกตำแหน่งที่ตั้งของสถานีบนพื้นโลกด้วยรหัสที่กำหนดไว้แล้ว นักวิทยุสมัครเล่นชาวอังกฤษ ชื่อ Dr. John Morris สัญญาณเรียกขาน G4ANB เป็นผู้นำเสนอระบบนี้มาใช้ และต่อมาได้มีกลุ่มนักวิทยุสมัครเล่นที่สนใจการติดต่อสื่อสารย่าน VHF ได้มีการปรับเพื่อนำมาใช้ จากการประชุมที่เมือง Maidenhead ประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1980 ซึ่งต่อมาก็ได้มีการเรียกระบบพิกัดกริดนี้ว่า Maidenhead Locator System

ระบบพิกัดกริด Maidenhead ได้ถูกนำมาใช้แทนระบบ QRA เดิมในเวลาต่อมาด้วย

ระบบพิกัดกริด Maidenhead มักเรียกกันว่า Grid Locator หรือ Grid Square อีกด้วย

อธิบายระบบพิกัดกริด

[1] ระบบพิกัดกริด ในการกำหนดรหัสนั้นจำเป็นต้องกำหนดให้สั้นเพื่อความสะดวกในการรับ-ส่ง

การแบ่งพื้นที่โลกจะแบ่งออกเป็นตาราง ซึ่งมีความละเอียด 3 ระดับ กำหนดรหัสกำกับทุกระดับขนาดตารางพื้นที่ เป็นรหัส 2 ตัว 4 ตัว และ 6 ตัว เริ่มจาก 2 ตัวอักษร ตัวพิมพ์ใหญ่ (upper case) และ 2 ตัวเลข และอีก 2 ตัวอักษร ตัวพิมพ์เล็ก (lower case) เรียงลำดับจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออกและจากทิศใต้ไปทิศเหนือ

ระดับแรกแบ่งพื้นที่โลกออกเป็น เขตพื้นที่ เรียกว่า ฟีลด์ (field) มีขนาดกว้าง 20 องศาเส้นแวง (20˚ of longitude) สูง 10 องศาเส้นรุ้ง (10˚ of latitude) ได้ 324 ฟีลด์ แต่ละฟิลด์กำกับด้วยรหัสอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ 2 ตัว[2]

  • กำหนดให้ฟิลด์แรกตามแนวราบเริ่มที่ เส้นแวง 180 - 160 องศาตะวันตก (longitude 180˚- 160˚ W) มีรหัสอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ A ฟิลด์ที่ 2 ถัดไปทางตะวันออก อักษร B และต่อไปตามลำดับจนถึงฟิลด์สุดท้ายที่ เส้นแวง 160 - 180 องศาตะวันออก (longitude 160˚- 180˚ E) อักษร R
  • และกำหนดให้ ฟิลด์แรกตามแนวตั้งเริ่มที่ เส้นรุ้ง 90 - 80 องศาใต้ (latitude 90˚- 80˚ S) มีรหัสอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ A ฟิลด์ที่ 2 ถัดขึ้นมาทางเหนือ อักษร B และขึ้นไปตามลำดับถึงฟีลด์สุดท้ายที่ เส้นรุ้งที่ 80 – 90 องศาเหนือ (latitude 80˚ – 90˚ N) อักษร R

ระดับที่ 2 แบ่งในแต่ละพื้นที่ฟิลด์ออกเป็น ตาราง เรียกว่า สแควร์ (square) มีขนาดกว้าง 2 องศาเส้นแวง (2˚ of longitude) สูง 1 องศาเส้นรุ้ง (1˚ of latitude) ได้ 100 สแควร์ แต่ละสแควร์กำกับด้วยรหัสตัวเลข 2 ตัว ต่อจากรหัสฟิลด์

  • กำหนดให้สแควร์แรกที่อยู่ในแต่ละฟิลด์ตามแนวราบที่ 2 องศาแรกทางตะวันตก รหัสเลข 0 อีก 2 องศาถัดไปทางตะวันออก รหัสเลข 1 เรียงต่อไปเป็นลำดับจนถึงสุดท้าย องศาที่ 19 - 20 รหัสเลข 9
  • และกำหนดให้สแควร์แรกที่อยู่ในแต่ละฟิลด์ตามแนวตั้ง ล่างสุดที่ 1 องศาแรก รหัสเลข 0 ถัดขึ้นมา 1 องศาทางเหนือ รหัสเลข 1 เรียงขึ้นไปตามลำดับจนถึงสุดท้าย องศาที่ 9 - 10 รหัสเลข 9

ระดับที่ 3 สุดท้าย แบ่งในแต่ละพื้นที่สแควร์ออกเป็น ตารางย่อย เรียกว่า ซับสแควร์ (subsqaure) มีขนาดกว้าง 5 ลิปดาเส้นแวง (5 minutes of longitude) และสูง 2.5 ลิปดาเส้นรุ้ง (2.5 minutes of latitude) ได้ 576 ซับสแควร์ แต่ละซับสแควร์กำกับด้วยรหัสอักษรตัวพิมพ์เล็ก 2 ตัว ต่อจากรหัสสแควร์

  • กำหนดให้ซับสแควร์แรกที่อยู่ในแต่ละสแควร์ตามแนวราบที่ 5 ลิปดาแรกทางตะวันตก รหัสอักษร a อีก 5 ลิปดาถัดไปทางตะวันออก รหัสอักษร b และเรียงต่อไปตามลำดับจนถึงสุดท้าย รหัสอักษร x
  • แผนที่แสดงการแบ่งระบบ Grid Locator ทั่วทั้งโลก โดยประเทศไทยอยู่ในฟิลด์ NK ฟิลด์ OK และฟิลด์ NJ
    กำหนดให้ซับสแควร์แรกที่อยู่ในแต่ละสแควร์ตามแนวตั้ง ล่างสุดที่ 2.5 ลิปดาแรก รหัสอักษร a ถัดขึ้นมาอีก 2.5 ลิปดาทางเหนือ รหัสอักษร b เรียงขึ้นไปตามลำดับจนถึงสุดท้าย รหัสอักษร x

อ้างอิง

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-20. สืบค้นเมื่อ 2007-02-23.
  2. "สถานีวิทยุสมัครเล่น E29MAX: กริดโลเคเตอร์ (Grid Locator)". สถานีวิทยุสมัครเล่น E29MAX.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya