รัฐบาลพลัดถิ่นเชโกสโลวาเกีย
รัฐบาลพลัดถิ่นเชโกสโลวาเกีย, หรือมีชื่ออย่างเป็นการการคือ รัฐบาลชั่วคราวแห่งเชโกสโลวาเกีย (เช็ก: Prozatímní vláda Československa, สโลวัก: Dočasná vláda Československa) เป็นรัฐบาลที่จัตตั้งขึ่นโดย คณะกรรมาธิการแห่งชาติเพื่อการปลดปล่อยเชโกสโลวาเกีย รัฐบาลพลัดถิ่นเชโกสโลวาเกียได้รับการยอมรับครั้งแรกทางการทูตของอังกฤษ ชื่อนี้ถูกนำมาใช้โดยฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สองในขณะที่พวกเขารู้จักกันในภายหลัง คณะกรรมาธิการก่อตั้งขึ้นโดยอดีตประธานาธิบดีเชโกสโลวาเกีย เอ็ดเวิร์ด เบเนช ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสในเดือนตุลาคม 1939[1] การเจรจาต่อรองกับฝรั่งเศสเกี่ยวกับสถานะการทูตไม่ประสบความสำเร็จรวมทั้งการยึดครองฝรั่งเศสของนาซี บังคับให้คณะกรรมาธิการต้องถอนตัวออกไปอยู่ในกรุงลอนดอนในปี 1940 ที่ทำการรัฐบาลพลัดถิ่นเชโกสโลวาเกียอยู่ในสถานที่ต่าง ๆ ในลอนดอน แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ในอาคารที่เรียกว่า Fursecroft เป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมายสำหรับเชโกสโลวาเกียตลอดช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง[2] มีภารกิจหลักคือต่อต้านรัฐบาลฟาสซิสต์โดยเฉพาะการย้อนข้อตกลงมิวนิก ที่นำไปสู่การยึดครองเชโกสโลวาเกียของเยอรมนี และให้อาณาเขตโดยประมาณของสาธารณรัฐกลับไปมีขนาดเท่าเดิมเมื่อปี 1937 เช่นนั้นก็ถือว่าในที่สุด โดยประเทศเหล่านั้นยอมรับว่าเป็นความต่อเนื่องตามกฎหมายของสาธารณรัฐเชโกสโลวักที่ 1 อ้างอิงบรรณานุกรม
แหล่งข้อมูลอื่น |