Share to:

 

ราชวงศ์ฉีใต้

ราชวงศ์ฉีใต้
Qi

479–502
Southern Qi and its neighbors
Southern Qi and its neighbors
เมืองหลวงJiankang
การปกครองราชาธิปไตย
จักรพรรดิ 
• 479–482
Emperor Gao
• 482–493
Emperor Wu
• 501–502
Emperor He
ประวัติศาสตร์ 
• ก่อตั้ง
3 มิถุนายน[1] 479
• สิ้นสุด
24 เมษายน[2] 502
สกุลเงินChinese coin,
Chinese cash
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์หลิวซ่ง
ราชวงศ์เหลียง
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน
ประเทศเวียดนาม

ราชวงศ์ฉีใต้ (อังกฤษ: Southern Qi จีนตัวย่อ: 南齐; จีนตัวเต็ม: 南齊; พินอิน: Nán Qí หรือ จีนตัวย่อ: 南朝齐; จีนตัวเต็ม: 南朝齊; พินอิน: Nán Qí) (479–502) เป็นราชวงศ์ที่ 2 ในยุค ราชวงศ์ใต้ ของ ประเทศจีน เมื่อสิ้นราชวงศ์นี้ ราชวงศ์ที่ต่อจากราชวงศ์ฉีใต้คือ ราชวงศ์เหลียง

ประวัติศาสตร์

ราชวงศ์เริ่มต้นในปี 479 เมื่อ เสี่ยว เต้าเฉิง บังคับให้ จักรพรรดิหลิวซ่งเชิ่น ให้สละราชบัลลังก์แก่เขา นับเป็นจุดสิ้นสุดราชวงศ์หลิวซ่ง และเริ่มต้นราชวงศ์ฉีใต้ และยังขึ้นครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์ พระนามว่า จักรพรรดิฉีเก้า ชื่อของราชวงศ์ถูกนำมาจากดินแดนที่เสี่ยว เต้าเฉิงครอบครองคือ รัฐฉี พงศาวดารแห่งฉี ไม่ได้กล่าวถึงว่าเขามีความสัมพันธ์ทางสายเลือดกับสกุลเจียง หรือสกุลเถียน(สองราชวงศ์ที่เคยปกครองอาณาจักรนั้น)หรือไม่[3]

ในช่วงประวัติศาสตร์ ทั้ง 23 ปี ในราชวงศ์เต็มไปด้วยความไม่มั่นคงเป็นส่วนใหญ่ หลังจากการสวรรคตของจักรพรรดิฉีเก้า และจักรพรรดิฉีอู่ ผู้มีความสามารถ หลานชายของจักรพรรดิหวู่ เสี้ยว เจ้าเยี่ย (萧昭业) ถูกลอบสังหารโดย เสี้ยวหลวน ลูกพี่ลูกน้องที่ฉลาดแต่โหดร้าย แล้วจึงขึ้นครองราชย์และประหารชีวิตโอรสของจักรพรรดิเกาและจักรพรรดิหวู่ทั้งหมด ร่วมกับขุนนางที่ต้องสงสัยว่าจะคิดร้ายกับพระองค์[4][5]

ความเด็ดขาดของการประหารชีวิตเหล่านี้รุนแรงขึ้นหลังจาก เสี้ยว เป่าเจี้ยน พระราชโอรสขึ้นครองราชย์ ซึ่งการกระทำของเขาก่อให้เกิดการกบฏหลายครั้ง สุดท้ายก็ถูกนายพล เสี้ยว ยิ่ง นำไปสู่การล่มสลายของราชวงศ์ฉีใต้และสืบทอดต่อโดย ราชวงศ์เหลียง[6]

เจ้าหญิงทัวป่า เซียนเป่ยแห่งราชวงศ์เว่ยเหนือมากกว่าครึ่งได้แต่งงานกับชาวฮั่นตอนใต้จากตระกูลจักรพรรดิ และขุนนางจากทางตอนใต้ของจีนของราชวงศ์ทางใต้ที่ล่มสลาย และย้ายไปทางเหนือเพื่อเข้าร่วมกับราชวงศ์เว่ยเหนือ[7] โดยองค์หญิงหนันหยางแต่งงานกับเสี่ยว เป่าอิ่ง ซึ่งเป็นสมาชิกชาวฮั่นของราชวงศ์ฉีใต้[8]น้องสาวของจักรพรรดิเว่ยเว่ยเสี่ยว คือ เจ้าหญิงเจ้าหยางแต่งงานกับ เสี้ยว หลง โอรสของจักรพรรดิเหลียงอู่[9]

รายนามจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฉีใต้ (479–502)

Posthumous Name สกุล และ พระนาม ปีที่เสวยราชย์ ปีศักราช
จักรพรรดิฉีเก้า เสี้ยว เต้าเฉิง 479–482 Jianyuan (建元) 479–482
จักรพรรดิฉีอู่ เสี้ยว เสอ 482–493 Yongming (永明) 483–493
เซียว เจาเย่ 493–494 Longchang (隆昌) 494
เซียว เจาเหวิน 494 Yanxing (延興) 494
จักรพรรดิฉีหมิง เสี้ยว หลวน 494–498 Jianwu (建武) 494–498
Yongtai (永泰) 498
เซียว เป่าเจวียน 499–501 Yongyuan (永元) 499–501
จักรพรรดิฉีเหอ เสี้ยว เป่าหรง 501–502 Zhongxing (中興) 501–502

อ้างอิง

  1. Book of Southern Qi, [[:zh:s:http://zh.wikisource.org/wiki/南齊書/卷1%7Cvol[ลิงก์เสีย]. 1]].
  2. Zizhi Tongjian, vol. 145.
  3. Book of the Southern Qi 南齊書, chapter 1
  4. 川本『中国の歴史、中華の崩壊と拡大、魏晋南北朝』、P150
  5. 川本『中国の歴史、中華の崩壊と拡大、魏晋南北朝』、P152
  6. 川本『中国の歴史、中華の崩壊と拡大、魏晋南北朝』、P153
  7. Tang, Qiaomei (May 2016). Divorce and the Divorced Woman in Early Medieval China (First through Sixth Century) (PDF) (A dissertation presented by Qiaomei Tang to The Department of East Asian Languages and Civilizations in partial fulfillment of the requirements for the degree of Doctor of Philosophy in the subject of East Asian Languages and Civilizations). Cambridge, Massachusetts: Harvard University. pp. 151, 152, 153.
  8. China: Dawn of a Golden Age, 200–750 AD. Metropolitan Museum of Art. 2004. pp. 30–. ISBN 978-1-58839-126-1. Xiao Baoyin.
  9. Ancient and Early Medieval Chinese Literature (vol.3 & 4): A Reference Guide, Part Three & Four. BRILL. 22 September 2014. pp. 1566–. ISBN 978-90-04-27185-2.

แหล่งข้อมูลอื่น

ดูเพิ่ม

Kembali kehalaman sebelumnya