ราชวงศ์ซะอูด (อาหรับ: آل سعود, อักษรโรมัน: ʾĀl Suʿūd สัทอักษรสากล: [ʔaːl sʊʕuːd]) เป็นพระราชวงศ์ที่ปกครองประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยสืบตระกูลมาจากมุฮัมมัด อิบน์ ซะอูด ผู้ก่อตั้งเอมิเรตดิรอียะฮ์ ที่รู้จักกันในชื่อ รัฐซาอุดีแรก (ค.ศ. 1727–1818) และพี่น้องของพระองค์ผ่านฝ่ายปกครองของวงศ์ตระกูลเป็นส่วนหลักที่ทำให้เกิดลูกหลานของสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลอะซีซ อิบน์ ซะอูด ผู้ก่อตั้งประเทศซาอุดีอาระเบียในปัจจุบัน[2] ตำแหน่งที่มีอิทธิพลมากที่สุดของราชวงศ์คือพระมหากษัตริย์ซาอุดีอาระเบีย โดยรวมแล้วมีประมาณ 15,000 คน อย่างไรก็ตาม กลุ่มส่วนใหญ่ที่มีอำนาจ อิทธิพล และทรัพย์สินมีประมาณ 2,000 คน[3][4]
ราชวงศ์ซะอูดแบ่งออกเป็นสามช่วง: เอมิเรตดิรอียะฮ์ รัฐซาอุดีแรก (ค.ศ. 1727–1818) เป็นจุดขยายของวะฮาบีย์; เอมิเรตนัจด์ รัฐซาอุดีที่สอง (ค.ศ. 1824–1891) เป็นจุดที่มีการต่อสู้อย่างต่อเนื่อง และรัฐซาอุดีที่สาม (ค.ศ. 1902–ปัจจุบัน) ที่กลายเป็นประเทศซาอุดีอาระเบียใน ค.ศ. 1932 และตอนนี้มีอิทธิพลในตะวันออกกลาง วงศ์ตระกูลเคยมีข้อขัดแย้งกับจักรวรรดิออตโตมัน, ชะรีฟแห่งมักกะฮ์, ราชวงศ์เราะชีดแห่งเอมิเรตญะบัลชัมมัรกับวงศ์ข้าราชบริวารในนัจด์, กลุ่มอิสลามทั้งในและนอกประเทศซาอุดีอาระเบีย และชนกลุ่มน้อยชีอะฮ์ในประเทศซาอุดีอาระเบีย
การสืบทอดราชบัลลังก์ซาอุดีอาระเบียจะใช้วิธีการถ่ายโอนอำนาจแก่พระโอรสของอิบน์ ซะอูด กษัตริย์องค์แรก ไปถึงสมเด็จพระราชาธิบดีซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด ผู้ปกครองในปัจจุบัน ใน ค.ศ. 2017 มุฮัมมัด อิบน์ นะญีฟ ถูกเปลี่ยนกับมุฮัมมัด บิน ซัลมาน พระโอรสของกษัตริย์ซัลมานในฐานะมกุฎราชกุมาร หลังจากได้รับการยอมรับจากฮัยอะตุลบัยอะฮ์ (هيئة البيعة) ด้วยคะแนนเสียง 31 จาก 34 เสียง[5][6][7][8][9][10] ในอดีต ระบบกษัตริย์เป็นระบบแบบสืบตระกูลผ่านญาติทางบิดาอาวุโส (agnatic seniority) จนถึง ค.ศ. 2006 เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาว่าพระมหากษัตริย์ซาอุดีอาระเบียในอนาคตต้องมาจากการเลือกตั้งโดยคณะกรรมการเจ้าชายซาอุ[11]
ตำแหน่ง
ราชวงศ์ซะอูด เป็นคำแปลของ อัลซะอูด ซึ่งเป็นชื่อราชวงศ์อาหรับที่สร้างจากการเพิ่มคำว่า อาล (หมายถึง "ครอบครัวของ" หรือ "ราชวงศ์ของ")[12] ข้างหน้าชื่อตัวของบรรพบุรุษ ในส่วนของอาล ซะอูด บรรพบุรุษคือซะอูด อิบน์ มุฮัมมัด อิบน์ มุกริน พระราชบิดาของผู้ก่อตั้งราชวงศ์ มุฮัมมัด อิบน์ ซะอูด (มุฮัมมัด, โอรสของซะอูด)[13]
ปัจจุบัน นามสกุล "อาล ซะอูด" ถูกใช้โดยลูกหลานของมุฮัมมัด อิบน์ ซะอูด หรือพระอนุชาทั้งสามพระองค์ ฟัรฮาน, ษุนัยยาน และมิชารี ส่วนสาขาอื่นของพงศาวลี เช่น ซะอูด อัลกะบีร, อัลญิลูวี, อัษษุนะยาน, อัลมิชารี และอัลฟัรฮาน ถูกเรียกเป็นสาขาตระกูล (cadet branches) สมาชิกของสาขาตระกูลครองตำแหน่งสูงและมีอิทธิพลในรัฐบาล แม้ว่าพวกเขาไม่ได้อยู่ในเส้นการสืบทอดราชบัลลังก์ซาอุดีอาระเบีย สมาชิกหลายคนแต่งงานกันระหว่างอาล ซะอูด เพื่อสถาปนาเชื้อสายและครองอิทธิพลในรัฐบาลต่อไป[14][15]
สมาชิกทั้งหมดของพระราชวงศ์มีตำแหน่งเอมีร์ (เจ้าชาย) แต่พระโอรส, พระธิดา, พระราชนัดดาทั้งชายและหญิงของกษัตริย์ที่สืบทอดทางพ่อถูกเรียกเป็น "ฮิสรอยัลไฮเนส" (His Royal Highness; HRH) ต่างจากพระราชปนัดดาชายผ่านสายพ่อและสมาชิกสาขาตระกูลถูกเรียกเป็น "ฮิสไฮเนส" (His Highness; HH) ในขณะที่กษัตริย์ที่ครองราชย์ได้ตำแหน่งเพิ่ม คือผู้อารักขามัสยิดศักดิ์สิทธิ์ทั้งสอง[14][15][16]
ทรัพย์สิน
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2015 ฟอบส์ ได้ตั้งเจ้าชายอัลวะลีด บิน เฏาะลาล เป็นบุคคลที่ร่ำรวยในอันดับที่ 34 ของโลก โดยมีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิประมาณ 22.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[17] เจ้าชายอัลวะลีดมีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ 20.4 พันล้านดอลลาร์ใน ค.ศ. 2014[18] ใน ค.ศ. 2016 รายงานจากTeleSUR สมเด็จพระราชาธิบดีซัลมาน "ทรงมีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิประมาณ 17.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ"[19]
ใน ค.ศ. 2020 มูลค่าสินทรัพย์สุทธิรวมทั้งพระราชวงศ์อยู่ประมาณ 100 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งทำให้เป็นราชวงศ์ที่ร่ำรวยที่สุดในบรรดากษัตริย์ทั้งหมดและเป็นหนึ่งในครอบครัวที่ร่ำรวยที่สุดในโลก[20]
ผู้นำ
รัฐซาอุดีแรก
- มุฮัมมัด อิบน์ ซะอูด (ประมาณ ค.ศ. 1710[21]−1765) ครองราชย์ ค.ศ. 1744–1765
- อับดุลอะซีซ อิบน์ มุฮัมมัด อิบน์ ซะอูด (สวรรคต ค.ศ. 1803) ครองราชย์ ค.ศ. 1765–1803
- ซะอูด อิบน์ อับดุลอะซีซ อิบน์ มุฮัมมัด อิบน์ ซะอูด (สวรรคต ค.ศ. 1814) ครองราชย์ ค.ศ. 1803–1814
- อับดุลลอฮ์ อิบน์ ซะอูด (สวรรคต ค.ศ. 1818) ครองราชย์ ค.ศ. 1814–1818
รัฐซาอุดีที่สอง
- 1. ตุรกี อิบน์ อับดุลลอฮ์ (ค.ศ. 1755–1834) ครองราชย์ ค.ศ. 1824[22]−1834
- 2 และ 5. ฟัยศ็อล อิบน์ ตุรกี อาล ซะอูด (ค.ศ. 1785–1865) ครองราชย์ ค.ศ. 1834–1838 และ 1843–1865. พระโอรสของตุรกี
- 3. คอลิด อิบน์ ซะอูด อิบน์ อับดุลอะซีซ อิบน์ มุฮัมมัด อิบน์ ซะอูด ครองราชย์ ค.ศ. 1838–1841. ลูกพี่ลูกน้องห่าง ๆ
- 4. อับดุลลอฮ์ อิบน์ ษุนัยยาน ครองราชย์ ค.ศ. 1841–1843. ลูกพี่ลูกน้องห่าง ๆ
- 6, 8, และ 11. อับดุลลอฮ์ อิบน์ ฟัยศ็อล อิบน์ ตุรกี อาล ซะอูด ครองราชย์ ค.ศ. 1865–1871, 1871–1873, 1876–1889. พระโอรสของฟัยศ็อล
- 7 และ 9. ซะอูด อิบน์ ฟัยศ็อล อิบน์ ตุรกี (สวรรคต ค.ศ. 1875) ครองราชย์ ค.ศ. 1871 และ 1873–1875. พระโอรสของฟัยศ็อล
- 10 และ 12. อับดุรเราะฮ์มาน อิบน์ ฟัยศ็อล (ค.ศ. 1850–1928) ครองราชย์ ค.ศ. 1875–1876 และ 1889–1891. พระโอรสของฟัยศ็อล
ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
- สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลอะซีซ อิบน์ อับดุรเราะฮ์มาน อิบน์ ฟัยศ็อล รู้จักกันในพระนาม อิบน์ ซะอูด (15 มกราคม ค.ศ. 1876 – 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1953) ครองราชย์ ค.ศ. 1902[23]–1953
- สมเด็จพระราชาธิบดีซะอูด บิน อับดุลอะซีซ (15 มกราคม ค.ศ. 1902 – 24 มกราคม ค.ศ. 1969) ครองราชย์ ค.ศ. 1953–1964
- สมเด็จพระราชาธิบดีฟัยศ็อล บิน อับดุลอะซีซ (เมษายน ค.ศ. 1906 – 25 มีนาคม ค.ศ. 1975) ครองราชย์ ค.ศ. 1964–1975
- สมเด็จพระราชาธิบดีคอลิด บิน อับดุลอะซีซ (13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1913 – 13 มิถุนายน ค.ศ. 1982) ครองราชย์ ค.ศ. 1975–1982
- สมเด็จพระราชาธิบดีฟะฮัด บิน อับดุลอะซีซ (16 มีนาคม ค.ศ. 1920 – 1 สิงหาคม ค.ศ. 2005) ครองราชย์ ค.ศ. 1982–2005
- สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ บิน อับดุลอะซีซ (1 สิงหาคม ค.ศ. 1924 – 23 มกราคม ค.ศ. 2015) ครองราชย์ ค.ศ. 2005–2015
- สมเด็จพระราชาธิบดีซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ (พระราชสมภพ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1935) ครองราชย์ตั้งแต่ ค.ศ. 2015 เป็นต้นมา
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- ↑ Read The 'Wahhabi Myth' Online By Haneef James Oliver | Books (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2018. สืบค้นเมื่อ 5 April 2021.
- ↑ "The House of Al Saud – A View of the Modern Saudi Dynasty". Frontline. PBS. 18 September 2015.
- ↑ "HRH Princess Basma bint Saud bin Abdulaziz Al Saud". Hardtalk. BBC. 28 July 2011. สืบค้นเมื่อ 7 April 2013.
- ↑ Milmo Cahal (3 January 2012). "The Acton princess leading the fight for Saudi freedom". The Independent. สืบค้นเมื่อ 3 January 2012.
- ↑ Chulov, Martin; Borger, Julian (2017-06-21). "Saudi king ousts nephew to name son as first in line to throne". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2019-09-03.
- ↑ "Mohammed bin Salman becomes Saudi Crown Prince with 31 out of 34 votes" (ภาษาอังกฤษ). Al Arabiya. สืบค้นเมื่อ 2019-09-03.
- ↑ Al-awsat, Asharq. "Middle-east Arab News Opinion". Asharq Al-Awsat. London. สืบค้นเมื่อ 2019-09-03.
- ↑ Nicole Chavez, Tamara Qiblawi and James Griffiths. "Saudi Arabia's king replaces nephew with son as heir to throne". CNN.
- ↑ Raghavan, Sudarsan; Fahim, Kareem (June 21, 2017). "Saudi king names son as new crown prince, upending the royal succession line". The Washington Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 21 June 2017.
- ↑ "Saudi royal decrees announcing Prince Mohammed BinSalman as the new crown prince". The National (ภาษาอังกฤษ). Abu Dhabi. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-21. สืบค้นเมื่อ 21 June 2017.
- ↑ Dewey, Caitlin; Max Fisher (22 July 2013). "Meet the world's other 25 royal families". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 5 May 2020.
- ↑ Wynbrandt, James; Gerges Fawaz A. (2010). A Brief History of Saudi Arabia. p. xvii. ISBN 978-0-8160-7876-9.
- ↑ Wahbi Hariri-Rifai; Mokhless Hariri-Rifai (1990). The heritage of the Kingdom of Saudi Arabia. p. 26. ISBN 978-0-9624483-0-0.
- ↑ 14.0 14.1 Amos, Deborah (1991). "Sheikh to Chic" (ภาษาอังกฤษ). Mother Jones. p. 28. สืบค้นเมื่อ 12 July 2016.
- ↑ 15.0 15.1 "Saudi Arabia: HRH or HH? – American Bedu". 7 August 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2016.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
- ↑ "Family Tree". www.datarabia.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 7 December 2016.
- ↑ "The World's Billionaires". Forbes. สืบค้นเมื่อ 2 July 2015.
- ↑ "Meet The Richest People In The Middle East". Forbes. 24 March 2014.
- ↑ "Saudi King, UAE President at the Center of the Panama Papers". TeleSUR. April 4, 2016.
- ↑ https://www.investopedia.com/articles/insights/052416/top-10-wealthiest-families-world.asp
- ↑ "Timeline Saudi Arabia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-22. สืบค้นเมื่อ 25 June 2012.
- ↑ Turki ibn Abdallah ruled various parts of the area between 1819 and 1824. The Second Saudi State was officially founded in 1824.
- ↑ Abdul-Aziz ruled various parts of the area between 1902 and 1932. The Kingdom was officially founded in 1932.
สารานุกรม
- Madawi Al-Rasheed, A History of Saudi Arabia, Cambridge University Press, 2002, ISBN 0-521-64412-7
- David Fromkin, A Peace to End All Peace, Holt, 1989, ISBN 978-0-8050-8809-0.
- David Holden & Richard Johns, The House of Saud, Pan, 1982, 0-330-26834-1 (reprint of the Sidgwick and Jackson edition, 1981, ISBN 0-283-98436-8)
- Craig Unger, House of Bush, House of Saud: The Secret Relationship Between the World's Two Most Powerful Dynasties, Scribner, 2004, ISBN 0-7432-5337-X
- Alexei Vassiliev, The History of Saudi Arabia, London, UK: Al Saqi Books, 1998
แหล่งข้อมูลอื่น