Share to:

 

ราชอาณาจักรเมอร์เซีย

ราชอาณาจักรเมอร์เซีย
Kingdom of Mercia

Miercna rice
ค.ศ. 527–ค.ศ. 919
ธงชาติเมอร์เซีย
กางเขนนักบุญอัลบัน
ราชอาณาจักรเมอร์เซีย
ราชอาณาจักรเมอร์เซีย
สถานะราชอาณาจักร
เมืองหลวงแทมเวิร์ธ
ภาษาทั่วไปภาษาอังกฤษเก่า (“Englisc”)
ศาสนา
ลัทธินอกศาสนา
คริสต์ศาสนา
การปกครองราชาธิปไตย
พระเจ้า 
• ค.ศ. 527-?
ไอเซิล
• ค.ศ. 584-593
เครโอดาแห่งเมอร์เซีย
• ค.ศ. 626-655
เพ็นดาแห่งเมอร์เซีย
• ค.ศ. 757-796
พระเจ้าออฟฟาแห่งเมอร์เซีย
• ค.ศ. 918-919
พระเจ้าเอลฟวินแห่งเมอร์เซีย (Ælfwynn)
สภานิติบัญญัติสภาวิททัน
สภาเดี่ยว
-
ประวัติศาสตร์ 
• ไอเซิลนำชนแองเกิลสข้าม ทะเลเหนือมาตั้งถิ่นฐาน (ตำนาน)
ค.ศ. 527
• เครโอดา เป็นประมุขที่แท้จริงคนแรกที่แทมเวิร์ธ
ค.ศ. 584
• เมอร์เซียผนวกกับเวสเซ็กซ์เป็นราชอาณาจักรอังกฤษ
4 ธันวาคม ค.ศ. 919
สกุลเงินปอนด์สเตอร์ลิง
ก่อนหน้า
ถัดไป
แองเกิล
ราชอาณาจักรอังกฤษ

ราชอาณาจักรเมอร์เซีย (อังกฤษ: Mercia) เป็นหนึ่งในอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนเจ็ดอาณาจักรที่มีศูนย์กลางอยู่ในลุ่มแม่น้ำแม่น้ำเทร้นท์และในบริเวณที่ปัจจุบันเป็นอังกฤษมิดแลนด์ส (English Midlands) ชื่อเมอร์เซียเป็นภาษาอังกฤษเก่า “Mierce” ที่แผลงเป็นแบบละติน (Latinization) แปลว่า “ชนชายแดน”

ราชอาณาจักรเมอร์เซียมีอาณาเขตติดต่อกับราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย, เพาวิส, ราชอาณาจักรต่างๆ ทางตอนใต้ของเวลส์, เวสเซ็กซ์, ซัสเซ็กซ์, เอสเซ็กซ์ และ อีสต์แองเกลีย

ทุกวันนี้ชื่อ “เมอร์เซีย” ยังใช้กันทั่วไปในชื่อองค์การต่างๆ ได้แก่ หน่วยทหาร หรือองค์การทั้งของรัฐและของเอกชน

ประวัติศาสตร์เบื้องต้น

บทบาทของเมอร์เซียในประวัติศาสตร์แองโกล-แซ็กซอนไม่ชัดเจนเช่นประวัติศาสตร์ของการรุกรานของนอร์ทธัมเบรีย, เค้นท์ หรือแม้แต่เวสเซ็กซ์ หลักฐานทางโบราณคดีแสดงให้เห็นว่าชนแองเกิล (Angles) มาตั้งถิ่นฐานทางตอนเหนือของแม่น้ำเทมส์ราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 คำว่าเมอร์เซียเป็นภาษาอังกฤษเก่า “Mierce” ที่เพี้ยนมาจากภาษาละตินที่แปลว่า “ชนชายแดน” และตามที่ตีความหมายกันก็ว่าเป็นอาณาจักรที่มีกำเนิดในบริเวณพรมแดนระหว่างเวลส์และผู้รุกรานชาวแองโกล-แซ็กซอนแต่พี. ฮันเตอร์ แบลร์ (P. Hunter Blair) ค้านว่าเป็นบริเวณพรมแดนระหว่างนอร์ทธัมเบรียกับผู้ที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มแม่น้ำแม่น้ำเทร้นท์

พระมหากษัตริย์องค์แรกที่สุดของเมอร์เซียเท่าที่ทราบคือเครโอดาแห่งเมอร์เซียผู้ที่เชื่อกันว่าเป็นพระนัดดาของไอเซิล เครโอดามีอำนาจราว ปี ค.ศ. 584 และทรงเป็นผู้สร้างป้อมที่แทมเวิร์ธที่กลายมาเป็นที่ตั้งมั่นของพระมหากษัตริย์เมอร์เซีย ประมุของค์ต่อมาคือพระโอรส Pybba ผู้ครองราชย์ราวปี ค.ศ. 593. เคิร์ลแห่งเมอร์เซียพระญาติของเครโอดาครองราชย์ต่อจาก Pybbaราว ปี ค.ศ. 606; ในปี ค.ศ. 615 เคิร์ลยกพระธิดา Cwenburga ให้เสกสมรสกับเอ็ดวินแห่งนอร์ทธัมเบรียพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรไดราผู้ที่ให้ที่พำนักแก่พระองค์เมื่อทรงลี้ภัย พระเจ้าแผ่นดินองค์ต่อมาคือเพ็นดาแห่งเมอร์เซียผู้ครองราชย์ระหว่างปี ค.ศ. 626 หรือ ค.ศ. 633 ถึง ค.ศ. 655 ประวัติในทางร้ายของเพ็นดามาจากบันทึกของนักบุญบีดที่ไม่ชอบพระองค์เพราะทรงเป็นทั้งศัตรูของนอร์ทธัมเบรียที่นักบุญบีดพำนักอยู่และเพราะเป็นพระมหากษัตริย์นอกรีต แต่ก็ยอมรับว่าเพ็นดาเป็นผู้ที่อนุญาตให้ผู้เผยแพร่คริสต์ศาสนาจากลินดิสฟาร์นเข้าไปเผยแพร่ศาสนาในเมอร์เซียโดยมิได้ห้ามปราม หลังจากการได้รับชัยชนะหลายครั้งต่อผู้รุกรานเพ็นดาก็มาพ่ายแพ้และถูกปลงพระชนม์ในยุทธการวินเวด (Battle of Winwaed) โดยออสวีแห่งนอร์ทธัมเบรีย (Oswiu of Northumbria) ในปี ค.ศ. 655

ความพ่ายแพ้นำไปสู่การสิ้นสุดอำนาจของเมอร์เซียอยู่ชั่วระยะหนึ่ง พีดา (Peada) ผู้เปลี่ยนไปนับถือคริสต์ศาสนาขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาในปี ค.ศ. 653) แต่ในฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ. 656 พระองค์ก็ทรงถูกสังหาร ออสวีจึงเข้ายึดครองเมอร์เซียทั้งหมด ในปี ค.ศ. 658 ก็เกิดการต่อต้านที่พระโอรสของเพ็นดาวูล์ฟแฮร์แห่งเมอร์เซียได้รับชัยชนะและครองเมอร์เซียจนสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 675 ราชอาณาจักรเมอร์เซียหลังจากวูล์ฟแฮร์ได้รับชัยชนะก็มีความแข็งแกร่งแต่ต่อมาก็พ่ายแพ้ต่อนอร์ทธัมเบรีย กษัตริย์ต่อมาอีกสององค์เอเธลเรด และเซนเรด โอรสของวูล์ฟแฮร์เป็นที่รู้จักกันทางด้านพระราชกรณียกิจทางศาสนา หลังจากนั้นเซโอลเรดก็ขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 709 ที่นักบุญบอนนิเฟซกล่าวถึงว่าเป็นชายหนุ่มที่มีปัญหาและเสียชีวิตจากการเสียพระสติซึ่งเป็นการสิ้นสุดผู้ครองเมอร์เซียที่สืบเชื้อสายของเพ็นดา

บาหลวงองค์แรกของเมอร์เซียคือเช็ดดาหรือที่เรียกกันว่าแชดแห่งเมอร์เซียเป็นผู้ก่อตั้งสังฆมลฑลลิชฟิลด์

ก่อนที่เอเธลบอลด์แห่งเมอร์เซียขึ้นครองราชย์เมอร์เซียได้รับชัยชนะต่อบริเวณรอบๆ ร็อกซีเตอร์ (Wroxeter) ที่รู้จักกันในบรรดาชาวเวลส์ว่า “สวรรค์แห่งเพาวิส”

พระมหากษัตริย์ของเมอร์เซียองค์สำคัญต่อมาคือเอเธลบอลด์ผู้ครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 716 ถึง ค.ศ. 757 ในสองสามปีแรกของการปกครองพระองค์ต้องทรงเผชิญหน้ากับพระมหากษัตริย์คู่อริวิห์เรดแห่งเค้นท์ และไอนิแห่งเวสเซ็กซ์ แต่เมื่อวิห์เรดสวรรคตในปี ค.ศ. 725 และไอนิสละราชสมบัติปีต่อมาเพื่อไปเป็นนักบวชในกรุงโรม เอเธลบอลด์ก็มีเสรีภาพที่จะสร้างอำนาจของแองโกล-แซ็กซอนทางตอนใต้ของแม่น้ำฮัมเบอร์ ความสามารถทางการเป็นผู้นำทางการทหารทำให้เอเธลบอลด์ได้รับสมญาว่า “Bretwalda” แต่อำนาจของเอเธลบอลด์ก็มาถอยลงเมื่อ ปี ค.ศ. 752 เมื่อทรงพ่ายแพ้ต่อคัธเรดแห่งเวสเซ็กซ แต่ก็สามารถยึดอำนาจคืนได้และมีอำนาจเหนือเวสเซ็กซในปี ค.ศ. 757

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

Kembali kehalaman sebelumnya