รายชื่อโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครรายชื่อโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานครมีโรงพยาบาลในสังกัดของกรุงเทพมหานครเอง 12 แห่ง(ไม่นับคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช) ศูนย์บริการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร 2 แห่ง ประกอบไปด้วยศูนย์เอราวัณ สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และศูนย์นเรนทร สังกัดโรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลเอกชนมีทั้งหมด 112 แห่ง และ โรงพยาบาลของรัฐทั้งหมด 22 แห่ง โรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร 12 แห่ง โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร 1 แห่ง โรงพยาบาลรัฐวิสาหกิจทั้งหมด 3 แห่ง โรงพยาบาลเฉพาะทางโรคไต 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ รวมโรงพยาบาลและสถานพยาบาลทั้งสิ้น 151 โรงพยาบาล 5 สถานพยาบาล โรงพยาบาลเฉพาะทางทันตกรรม ได้แก่ โรงพยาบาลทันตกรรม กรุงเทพ อินเตอร์เนชั่นแนล โรงพยาบาลฟันทองหล่อ โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในส่วนของคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชถือว่าเป็นสังกัดโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกรุงเทพมหานครโดยตรงแต่เป็นโรงพยาบาลในกำกับของกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2559 โรงพยาบาลเดชา ถูกกระทรวงสาธารณสุขสั่งปิดกิจการ ต่อมาวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ได้มีประกาศกรุงเทพมหานครโดยเพิ่มโรงพยาบาลบางนากรุงเทพมหานคร เป็นหน่วยงานราชการ สังกัดสำนักการแพทย์ [1]และในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 โรงพยาบาลวิมุต เปิดทำการ โรงพยาบาลของเอกชนที่ไม่รับบัตรประกันสังคม
สถานพยาบาลของเอกชนที่ไม่รับบัตรประกันสังคมตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขและกรมสนับสนุนบริการสุขภาพให้ถือว่าโรงพยาบาลเหล่านี้เป็นสถานพยาบาล[2]
โรงพยาบาลทันตกรรมที่รับบัตรประกันสังคมผู้ประกันตน กับสำนักงานประกันสังคม สามารถใช้บริการขัดฟัน ขูดหินปูน อุดฟัน และ ผ่าฟันคุดได้ ปีละ 900 บาท ที่ศูนย์ทันตกรรมหรือคลินิกทันตกรรม
โรงพยาบาลของเอกชนที่รับบัตรประกันสังคม
โรงพยาบาลของรัฐบาลที่ไม่รับบัตรประกันสังคม
โรงพยาบาลของรัฐวิสาหกิจที่ไม่รับบัตรประกันสังคม
โรงพยาบาลรัฐบาลสังกัดกรุงเทพมหานครที่รับบัตรประกันสังคมโรงพยาบาลของรัฐที่สังกัดกรุงเทพมหานครผู้ประกันตนสามารถเข้ารักษาพยาบาลได้ในทุกโรงพยาบาลที่สังกัดกรุงเทพมหานคร รวมทั้งคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช รวมทั้งหมด 9 แห่ง โรงพยาบาลรัฐบาลสังกัดกรุงเทพมหานครเปิดโอกาสให้ผู้ที่เลือกได้ใช้บริการรักษาพยาบาลมากที่สุดในขณะนี้หากเทียบกับโรงพยาบาลของรัฐวิสาหกิจและโรงพยาบาลเอกชน เพราะผู้ประกันตนสามารถเข้ารักษาพยาบาลได้มากที่สุดถึง 12 โรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานครและสังกัดมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และใน ปี พ.ศ. 2561 หากผู้ประกันตนเลือก โรงพยาบาลตากสิน จะสามารถรับการรักษาพยาบาลได้ทั้งหมด 12 โรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร หากเลือก คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช จะไม่สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอื่นในสังกัด กรุงเทพมหานครได้
โรงพยาบาลรัฐบาลสังกัดกรุงเทพมหานครที่ไม่รับบัตรประกันสังคมโรงพยาบาลของรัฐบาลที่รับบัตรประกันสังคม
สถานพยาบาลของรัฐบาลที่รับบัตรประกันสังคมอ้างอิง
|