ราชวงศ์อิญิเกวซ, ? 824–905
ราชวงศ์อิญิเกวซได้รับการยอมรับว่าเป็นราชวงศ์ที่สถาปนาราชอาณาจักรนาวาร์ (หรือปัมโปลนา) ราว 824
เนื่องด้วยการสวรรคตของพนะเจ้าซานโชที่ 4 นาวาร์ถูกแบ่งโดยพระญาติพระองค์ได้แก่พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 แห่งกัสติยากับพระเจ้าซานฌช รามิเรซแห่งอารากอน นำไปสู่การควบคุมนาวาร์โดยอารากอนเป็นเวลากว่ากึ่งศตวรรษ
การสวรรคตของพระเจ้าอัลฟอนโซนำไปสู่วิกฤตการณ์การสืบราชสันตติวงศ์ในอารากอนและขุนนางนาวาร์เห็นว่าจะดีกว่าที่จะฟื้นฟูอาณาจักรอันเป็นอิสระ, จึงมีการสถาปนาพระนัดดา(สายพระอนุชานอกกฎหมาย) ในพระเจ้าซานโชที่ 4 ครองราชย์สืบมา
การสวรรคตของพระเจ้าซานโชที่ 7 กษัตริย์แห่งราชวงศ์ฆิเมเนสพระองค์สุดท้าย นำไปสู่การเปลี่ยนมือซึ่งราชสมบัติไปยังพระโอรสในพระขนิษฐาแห่งพระองค์ บลังกา, เคานท์เตสแห่งชองปาญ พระองค์ทรงสำเร็จราชการในบางส่วนของรัชกาลแห่งพระเชษฐาพระองค์
เอนริเกสวรรคตอย่างกระทันหันโดยทิ้งราชสมบัติให้พระธิดาทารก ฆัวนา ในฐานะรัชทายาทพระองค์เดียวในราชสมบัติ พระชนนี บลองช์แห่งอาร์ตัวส์สำเร็จราชการแทน 10 ปี ค.ศ. 1284 ฆัวนาอภิเษกสมรสกับว่าที่พระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศส เป็นการสิ้นสุดความเป็นผู้สำเร็จราชการของพระนางบลองช์ ฟิลิปเสด็จขึ้นครองราชในปีถัดมาในฐานะ "กษัตริย์ฝรั่งเศสและนาวาร์" อนึ่งพระนามในรายชื่อด้านล่างจะถอดเสียงตามภาษาสเปน
หลังการสวรรคตของพระเจ้าลุยส์ และพระโอรสคือพระเจ้าฆวน พระอนุชาทั้งสองพระองค์ในพระเจ้าลุยส์รับราชสมบัติเป็นกษัตริย์ฝรั่งเศสนาวาร์สืบมากระทั่งสวรรคต เวลานั้นราชบัลลังก์ฝรั่งเศสตกแก่ฟิลิปแห่งวาลัวส์ พระญาติที่มิได้สืบเชื้อสายจากพระนางฆัวนาที่ 1, ส่วนราชบัลลังก์แห่งนาวาร์ได้ส่งต่อไปยังพระธิดาในพระเจ้าลุยส์คือพระนางฆัวนาที่ 2 โดยทรงปกครองร่วมกับพระสวามี จนพระสวามีสิ้นพระชนม์ และปกครองโดยลำพังจนกระทั่งพระนางสวรรคต
พระนางบลองกาที่ 1 ทรงราชย์ร่วมกับพระสวามีคือพระเจ้าฆวนที่ 2 ในค.ศ. 1458, ฆวนได้รับราชสมบัติอารากอนจากพระเชษฐาผู้วายชนม์ในเวลาต่อมา พระราชบัลลังก์แห่งนาวาร์ ถูกส่งต่อให้กับพระนางเอเลนอร์, พระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวที่ยังมีพระชนม์อยู่ของทั้งสองพระองค์ ขณะที่พระราชบัลลังก์แห่งอารากอนถูกส่งต่อไปยัง พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน, พระราชโอรสใน พระเจ้าฆวนที่ 2 กับพระชายาพระองค์ที่สอง ฆัวนา เอนริเกซ
กษัตริย์และพระราชินีผู้โต้แย้งสิทธิ
หลังพระนางบลองกาสวรรคต ค.ศ. 1441, พระเจ้าฆวนยังเป็นกษัตริย์นาวาร์อยู่จนกระทั่งสวรรคตใน 38 ปีหลังจากนั้น, เพื่อปกป้องจากพระราชโอรสและพระราชธิดาพระองค์ใหญ่การ์โลส และ บลองกา ความขัดแย้ง กับพระราชโอรสของพระองค์นำไปสู่ สงครามกลางเมืองนาวาร์ แม้ว่าบางแหล่งข้อมูลจะถือว่า การ์โลสและบลองกาเป็นประมุขที่ชอบโดยกฎหมายแต่พระมหากษัตริย์ โดยพฤตินัย ก็ยังคงเป็นพระเจ้าฆวนที่ 2 เอเลนอร์มิได้อ้างสิทธิเป็นสมเด็จพระราชินีนาถจนกระทั่งพระราชบิดาสวรรคต
เอเลนอร์, ผู้ซึ่งเป็นพันธมิตรกับพระราชบิดาเพื่อต่อต้านพระเชษฐาและพระเชษฐภคินี สวรรคตหลังพระราชบิดาเพียง 3 สัปดาห์ พระนางเป็นพระชายาม่ายในกาสตงที่ 4 เคานท์แห่งฟัวซ์, และพระโอรสองค์ใหญ่ของพระนางกาสตงแห่งฟัวซ์ เจ้าชายแห่งวิอานาก็สิ้นพระชนม์ พระนางจึงส่งต่อพระราชบัลลังก์ให้พระนัดดา ฟรองซัวส์ (หรือฟรังซิสโกในภาษาสเปน)
แคทเธอรีนครองราชย์ร่วมกับพระสวามี พระเจ้าฆวนที่ 3 เมื่อพระเจ้าฆวนสวรรคต พระนางแคทเธอรีนครองราชย์ต่อมาอีก 8 เดือนก็สวรรตต รัชกาลนี้ นาวาร์ปราชัยโดยพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอน ค.ศ. 1512, เป็นเหตุให้เสียดินแดนทางใต้ของทิวเขาปิเรนิส,รวมถึงราชธานีคือปัมโปลนาด้วย พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าฆวนที่ 2 กับพระชายาองค์ที่ 2 และเป็นพระอนุชาต่างพระชนนีในพระนางเอเลนอร์ ผู้เป็นพระอัยยิกาในพระนางแคทเธอรีน พระเจ้าเฟร์นันโดได้รับราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์นาวาร์และทำให้สายนี้ถูกรวมกับตำแหน่งพระมหากษัตริย์อารากอนกับสเปน พระนางแคทเธอรีนและพระเจ้าฆวนหนีไปยังนาวาร์ล่าง, ซึ่งเป็นส่วนเล็ก ๆ ของอดีตราชอาณาจักรอันอยู่ตอนบนของทิวเขาปิเรนิส ที่ซึ่งถูกรวมกับกับดินแดนอื่น ๆ ในฝรั่งเศสซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของพวกเขา
ค.ศ. 1530, พระเจ้าการ์โลสที่ 1 แห่งสเปน ตัดสินใจ ตัดสินใจที่จะยกเลิกการยึดครองนาวาร์ล่างอย่างแน่นอนต่อความเป็นไปไม่ได้ในการควบคุม[3][4], ทำให้นาวาร์ล่างปกครองโดยพระเจ้าเอนริกที่ 2, ขณะที่พระเจ้าการ์โลสที่ 1 แห่งสเปนกับพระชนนีสมเด็จพระราชินีนาถฆัวนาที่ 3 ยังคงปกครองนาวาร์บน
ฆัวนาที่ 3 ทรงราชย์ร่วมกับพระสวามี อองตวน จนพระสวามีสวรรคตและทรงราชย์ต่อโดยลำพังจนสวรรคต พระราชโอรสของทั้ง 2 คือเอนริเก (อองรี) เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1589, เข้าครอบคาองราชอาณาจักรใน ค.ศ. 1593 ในการที่สงครามศาสนาในฝรั่งเศสใกล้สิ้นสุดลง ต่อมามงกุฎแห่งนาวาร์ถูกส่งต่อไปยังพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส ค.ศ. 1620 ราชอาณาจักรจึงถูกรวมกับฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม พระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสยังคงใช้พระอิสริยยศ พระมหากษัตริย์แห่งนาวาร์ กระทั่ง ค.ศ. 1791 และถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งระหว่างค.ศ. 1814 - ค.ศ. 1830 ในช่วงการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง.
พระมหากษัตริย์และผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์แห่งฝรั่งเศสและนาวาร์
ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์นาวาร์
พระเจ้าอองรีที่ 4 สิ้นพระชนม์โดยปราศจากรัชทายาทใน ค.ศ. 1883 การอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสและนาวาร์แยกจากกัน สิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสถูกส่งต่อไปยัง ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสสายเลชีตีมีสต์ ขณะที่สิทธิในราชบัลลังก์นาวาร์ตกแก่ โรเบิร์ตที่ 1 ดยุคแห่งปาร์มา พระโอรสในเจ้าหญิงหลุยส์ มารี แตเรซแห่งอาร์ตัว ดัชเชสม่ายแห่งปาร์มา พระเชษฐภคินีในพระเจ้าอองรีที่ 4
อ้างอิง
- ↑ ค.ศ. 1513 พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 1 แห่งนาวาร์พิชิตราชอาณาจักร
- ↑ "Fernando I de Navarra". Auñamendi Eusko Entziklopledia.
- ↑ Miranda, José María Yanguas y (1840). Diccionario de antigüedades del reino de Navarra (ภาษาสเปน). J. Goyeneche.
- ↑ Unzué, José Luis Orella; Estévez, Xosé; Espinosa, José María Lorenzo (1995). Historia de Euskal Herria: Del hierro al roble (ภาษาสเปน). Txalaparta. ISBN 9788481369472.
- ↑ Titular King of Navarre, the kingdom was occupied
- ↑ Fernández, Luis Suárez (1990). Los reyes católicos: el camino hacia Europa (ภาษาสเปน). Ediciones Rialp. ISBN 9788432125898.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Muniáin, Pedro Esarte (2001-01-01). Navarra, 1512-1530: conquista, ocupación y sometimiento militar, civil y eclesiástico (ภาษาสเปน). Pamiela. ISBN 9788476813409.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 Navarra (1752). Quaderno de las leyes, y agravios reparados a suplicacion de los tres Estados del Reyno de Navarra, en las Cortes de los años de 1724, 1725 y 1726 por la Mag. Real del Señor Rey don Luis II. de Navarra, y I. de Castilla: (que santa gloria aya) Y por su muerte se continuaron por la Mag. Real del Señor Rey Don Phelipe VII. de Navarra , y V. de Castilla, nuestro Señor. y en su nombre por el Exmo. Señor Fr. Don M Christoval de Moscoso...: con acuerdo de los del Consejo Real que con el assistieron dichos años de 1724, 25 y 26 en las Cortes Generales, que se han celebrado en la Ciudad de Estella (ภาษาสเปน). por Pedro Joseph Ezquerro.
- ↑ Navarra (1766). Quaderno de las leyes y agravios reparados a suplicacion de los tres estados del Reyno de Navarra en sus Cortes Generales celebradas en la ciudad de Pamplona los años 1765 y 1766 por la Magestad del Señor Rey don Carlos VI de Navarra y III de Castilla... (ภาษาสเปน). en la imprenta de don Pascual Ibañez.
- ↑ "Gran Enciclopedia de Navarra | CARLOS VI DE NAVARRA Y III DE CASTILLA". www.enciclopedianavarra.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-27. สืบค้นเมื่อ 2017-12-27.
- ↑ Navarra (1797). Quaderno de las leyes y agravios reparados a suplicacion de los tres estados del Reyno de Navarra en sus Cortes Generales celebradas en la ciudad de Pamplona los años 1794, 1795, 1796 y 1797 por la Magestad del Señor Rey don Carlos VII. de Navarra y IV. de Castilla, nuestro Señor (ภาษาสเปน). en la imprenta de don Miguel Coscuella.
- ↑ "Gran Enciclopedia de Navarra | CARLOS VII DE NAVARRA Y IV DE CASTILLA". www.enciclopedianavarra.com. สืบค้นเมื่อ 2017-12-27.
- ↑ Navarra (1819). Cuaderno de las leyes y agravios reparados a suplicación de los tres estados del Reino de Navarra. Imprenta de Longaslanguage=es.