Share to:

 

รูตเบียร์

รูตเบียร์ในแก้วมัก

รูตเบียร์ (อังกฤษ: root beer) เป็นเครื่องดื่มน้ำอัดลมที่มีรสหวานของอเมริกาเหนือที่ใช้เปลือกรากของต้นซาสซาฟราส สกุลพืชซาสซาฟราส หรือเถาวัลย์ของสไมลักซ์ ออร์นาทา (เป็นที่รู้จักกันคือ ซาร์ซาพาริลา ซึ่งยังถูกนำมาใช้เพื่อทำเครื่องดื่มน้ำอัดลม ซาร์ซาพาริลา) เป็นรสชาติหลัก โดยทั่วไป รูตเบียร์นั้นจะไม่มีแอลกอฮอล์ ปราศจากคาเฟอีน รสหวาน และอัดลมด้วยคาร์บอเนชั่น เช่นเดียวกับเบียร์ มันมักจะมีสีทึบและเต็มไปด้วยฟอง การใช้ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างดีคือ การเติมด้วยไอศครีมวานิลลาเพื่อทำให้ลอยอยู่ในรูตเบียร์

เนื่องจากสารซาโฟรล(safrole) เป็นส่วนประกอบสำคัญของซาสซาฟราส ถูกสั่งห้ามโดยองค์การอาหารและยาสหรัฐ(FDA) ในปี ค.ศ. 1960 เนื่องจากเป็นสารก่อให้เกิดมะเร็ง รูทเบียร์ในเชิงพาณิชย์ส่วนใหญ่จึงถูกปรุงแต่งโดยใช้สารปรุงแต่งรสซาสซาฟราส[1][2] แต่มีเพียงไม่กี่ชนิด (เช่น แฮนเซน) ที่ใช้สารสกัดที่ปราศจากสารซาโฟรล[3]

ผู้ผลิตรูตเบียร์รายใหญ่ ได้แก่ A&W, Barq's, Dad's, Hires, และ Mug

ประวัติ

ประวัติของรูตเบียร์ไม่ทราบแน่ชัด แต่แบ่งได้เป็นสองทฤษฎี โดยทฤษฎีแรก รูตเบียร์ปรากฏในผลงานของวิลเลียม เชกสเปียร์หลายครั้ง ในชื่อสมอลเบียร์[4][ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ] แต่รสอ่อนและบางกว่า และมีแอลกอฮอล์น้อยกว่า ทำจากสมุนไพรและผลเบอร์รี บางคนก็เรียกว่า เบิร์ชเบียร์ (Birch Beer), ซาร์สพาริลลาเบียร์ (Sarsparilla Beer) หรือจินเจอร์เบียร์ (Ginger Beer) และเป็นที่นิยมมากในหมู่ชาวไร่ชาวนาในคริสต์ศตวรรษที่ 18

ส่วนทฤษฎีที่สอง รูตเบียร์เกิดจากการทดลองของ ชาลส์ เอลเมอร์ ไฮส์ เภสัชกรจากฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย ที่กำลังคิดค้นสูตรในการผลิตยาสมุนไพร โดยนำรากไม้มาผสมกับสมุนไพรหลายชนิดแล้วหมักไว้ แต่รูตเบียร์ที่ได้ในครั้งแรกมีรสค่อนข้างขม ไฮส์จึงปรับสูตรเรื่อยมาจนเป็นที่พอใจ และนำออกจำหน่ายครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1893 ในชื่อ "รูตทรี" แต่ไม่เป็นที่นิยม เขาจึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "รูตเบียร์"[5] และเป็นที่นิยมแพร่หลายในเวลาต่อมา[6]

วิธีการทำแบบดั้งเดิม

มีสูตรดั้งเดิมสูตรหนึ่งที่ใช้ในการทำรูตเบียร์ โดยทำมาจากน้ำเชื่อมจากกากน้ำตาลและน้ำ โดยจะปล่อยให้น้ำเชื่อมเย็นเป็นเวลาสามชั่วโมง และนำไปผสมกับรากไม้ (รวมไปถึง Sassafras Root หรือรากของเทพทาโร, Sassafras Bark หรือเปลือกไม้ของเทพทาโรและระกำ) แล้วเพิ่มยีสต์ และทิ้งเครื่องดื่มไว้ให้หมักเป็นเวลา 12 ชั่วโมง

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ dietz
  2. "Sassafras Uses, Benefits & Dosage - Herbal Database". Drugs.com.
  3. "Your Sassafras Has Been Neutered". chowhound.com.
  4. "About Us -- The Root Beer Store". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-07. สืบค้นเมื่อ 2015-03-28.
  5. Why Root Beer Is Called That
  6. ทำความรู้จัก "รูทเบียร์"
Kembali kehalaman sebelumnya