รูมะฮ์กาดังรูมะฮ์กาดัง (Rumah gadang; มีนังกาเบา: "บ้านหลังใหญ่") หรือ อิมะฮ์บากองจอง (Eumah bagonjong; มีนังกาเบา: "บ้านที่มีหลังคาเป็นยอดแหลม") คือบ้านแบบพื้นถิ่น (รูมะฮ์อาดัต) ของชาวมีนังกาเบา ใน อินโดนีเซีย อันแสดงให้เห็นถึงความประดิดประดอยและคุณค่าในความซับซ้อนของช่างศิลป์พื้นถิ่น ในสังคมมีนังกาเบานั้นนอกจากจะสร้างรูมะฮ์กาดังเพื่ออยู่อาศัยแล้ว ยังใช้เป็นศูนย์รวมชุมชนและประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ สังคมมีนังกาเบานั้นเป็นสังคมแบบ หญิงเป็นใหญ่ (Matrilineal) จึงทำให้รูมะฮ์นั้นจะสืบทอดจากมารดาสู่บุตรี ลักษณะที่โดดเด่นของรูมะฮ์แบบนี้คือหลังคาทรงโค้งมากและซ้อนกันหลายชั้น โดยทั่วไปแล้วคำว่า รูมะฮ์กาดัง หมายถึงบ้านขนาดใหญ่ในชุมชนมากกว่าบ้านเล็ก ๆ ส่วนบุคคล อย่างไรก็ตาม ลักษณะอย่างน้อยบางส่วนก็พบได้ทั่วไปในบ้านทุกแบบของมีนังกาเบา[1] ในปัจจุบันรูมะฮ์กาดังเป็นเหมือนสัญลักษณ์ประจำสุมาตราตะวันตก ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของชาวมีนังกาเบา และถูกประยุกต์ผสมผสานในอาคารสมัยใหม่มากมายที่พบทั่วไปในเมืองเช่น อาคารรัฐบาล โรงแรม อาคารพาณิชย์ ท่าอากาศยานนานาชาติมีนังกาเบา เป็นต้น[2] อ้างอิง
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ รูมะฮ์กาดัง |