มหาอนุสาวรีย์มันซูแด ในกรุงเปียงยาง ปี 2014 มีรูปปั้นคิม อิล-ซ็อง (ซ้าย) และคิม จ็อง-อิล (ขวา) โดยมีผู้มาเยือนสักการะ[ 1]
มีลัทธิบูชาบุคคลเกาหลีเหนือ แวดล้อมตระกูลปกครอง คือ ตระกูลคิม [ 2] ในประเทศเกาหลีเหนือนานหลายทศวรรษและพบได้ในหลายตัวอย่างในวัฒนธรรมเกาหลีเหนือ[ 3] แม้รัฐบาลเกาหลีเหนือไม่ยอมรับ แต่ผู้แปรพักตร์หลายคนและนักท่องเที่ยวตะวันตกระบุว่ามักมีโทษเด็ดขาดต่อผู้วิจารณ์หรือไม่แสดงความเคารพ "อย่างเหมาะสม" ต่อรัฐบาล[ 4] [ 5] ลัทธิบูชาบุคคลเริ่มขึ้นไม่นานหลังคิม อิล-ซ็อง เถลิงอำนาจในปี 1948 ไม่นาน และมีการขยายอย่างมากหลังเขาเสียชีวิตในปี 1994
ลัทธิฯ ยังมีลักษณะความเข้มข้นของความรู้สึกของประชาชนต่อและการอุทิศต่อผู้นำของพวกตน[ 6] : 25 และบทบาทสำคัญที่อุดมการณ์ครอบครัวนิยม (familism) แบบขงจื๊อมีทั้งในการค้ำจุนลัทธิและหล่อเลี้ยงรัฐบาลเอง ลัทธิบูชาบุคคลเกาหลีเหนือเป็นส่วนใหญ่ของสังคมนิยมและระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จเกาหลีเหนือ
อ้างอิง
↑ North Korea pays homage to the Kim dynasty, past, present (and future?) Justin McCurry. The Guardian. London. 17 December 2012. Accessed 18 August 2017.
↑ Lucy Williamson (December 27, 2011). "Delving into North Korea's mystical cult of personality" . BBC News. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ February 2, 2013. สืบค้นเมื่อ January 9, 2013 .
↑ Choe, Yong-ho., Lee, Peter H., and de Barry, Wm. Theodore., eds. Sources of Korean Tradition , Chichester, NY: Columbia University Press, p. 419, 2000.
↑ Ben Forer (January 12, 2012). "North Korea Reportedly Punishing Insincere Mourners" . ABC News. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ April 14, 2012. สืบค้นเมื่อ January 9, 2013 .
↑ "DPRK, Criminal Penalties" . US State Dept. December 2, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ January 1, 2013. สืบค้นเมื่อ January 9, 2013 .
↑ Hunter, Helen-Louise (1999). Kim Il-song's North Korea . Greenwood Publishing Group. p. 262. ISBN 9780275962968 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ January 11, 2014. สืบค้นเมื่อ August 31, 2013 .