ลาเมี่ยน
ลาเมี่ยน (จีนตัวย่อ: 拉面; จีนตัวเต็ม: 拉麵; พินอิน: lāmiàn) เป็นประเภทของ บะหมี่ของจีน โดยใช้เรียกเส้นบะหมี่ที่ทำโดยขึงด้วยมือ ในขณะที่แป้งบะหมี่ที่ตัดด้วยมีดเรียกว่า "เชียเมี่ยน" (切面, 切麵, qiēmiàn)[1] โดยคำว่า "ลา" (拉, lā) ในภาษาจีนหมายถึงดึง ส่วน "เชีย" (切, qiē) แปลว่าตัด คำนิยามมีทฤษฎีมากมายเกี่ยวกับส่วนผสมที่ใช้ทำเส้นละหมี่สำหรับลาเมี่ยน และแต่ละภูมิภาคในประเทศจีนก็มีลาเมี่ยนในแบบของตัวเอง กฎหมายจีนแตกต่างจากกฎหมายของญี่ปุ่นตรงที่ไม่มีบทบัญญัติที่กำหนดหรือควบคุมส่วนผสมของเส้นลาเมี่ยนอย่างชัดเจน ตามเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารแห่งชาติของจีน ซึ่งคำนวณการผลิตอาหารของจีนทุกปี ระบุไว้ว่า ลาเมี่ยนทำจากแป้งสาลี, เกลือ และ น้ำ เท่านั้น [2] มีต้นกำเนิดมาจากภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน เช่น มณฑลส่านซี, มณฑลกานซู่ หรือ เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์[2] ในขณะที่ตามข้อมูลของเว็บไซต์ที่เผยแพร่ประกาศของรัฐบาลเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารในประเทศจีนได้ระบุว่าเส้นลาเมี่ยนทำจากแป้งสาลี, เกลือ, น้ำ, น้ำอัลคาไล และแป้งจากข้าวฟ่างหางหมา[3] แต่ไม่ได้ระบุสัดส่วนระหว่างแป้งสาลีกับแป้งข้าวฟ่าง ลาเมี่ยนแบบต่าง ๆลาเมี่ยนหลานโจวลาเมี่ยนหลานโจว ซึ่งมีต้นกำเนิดในเมืองหลานโจว เมืองเอกของมณฑลกานซู่ เรียกว่าเป็นบะหมี่เนื้อวัว (牛肉面) กล่าวกันว่าบะหมี่เนื้อวัวนี้คิดค้นโดยหม่า เป๋าจื่อ (馬保子) ซึ่งเป็นชาวหุย ชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิม ในช่วงปลายยุคราชวงศ์ชิง[4] โดยชาวหุยไม่สามารถกินเนื้อหมูได้เนื่องจากหลักศาสนาอิสลาม แต่สามารถกินเนื้อวัวได้ ลาเมี่ยนเหอหนานในมณฑลเหอหนานมีการทำฮุ่ยเมี่ยน ใช้เส้นใหญ่ที่ตีและยืดด้วยมือ เคี่ยวในน้ำซุปพร้อมผักใบเขียว เนื้อแกะ ไข่นกกระทา เห็ดหูหนู มะเขือเทศ และผักชี ลาเมี่ยนญี่ปุ่น (ราเม็ง)ราเม็งของญี่ปุ่นเป็นลาเมี่ยนที่ได้รับการดัดแปลงเพิ่มเติมให้เหมาะกับรสนิยมของญี่ปุ่น ดังนั้นในประเทศจีน ราเม็งจึงถูกเรียกว่า "รื่อเปิ่นลาเมี่ยน" (日本拉面) แปลว่า "ลาเมี่ยนญี่ปุ่น" อย่างไรก็ตาม ในไต้หวัน คำว่า "ลาเมี่ยน" มักหมายถึงราเม็งของญี่ปุ่น ในขณะที่ลาเมี่ยนของจีนจะเรียกว่า "จงกั๋วลาเมี่ยน" (中國拉麵) แปลว่า "ลาเมี่ยนจีน" เพื่อแยกแยะ[5] อ้างอิง
|