ลินเดน (ยาฆ่าแมลง)
บทความนี้เกี่ยวกับยาฆ่าแมลง สำหรับความหมายอื่นของลินเดน ดูที่ ลินเดน (แก้ความกำกวม) ลินเดน ( Lindane หรือ gamma-hexachlorocyclohexane;γ-HCH บางครั้งเรียก benzene hexachloride[1] ) เป็นยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนคลอรีนที่เป็นอนุพันธ์ของ hexachlorocyclohexane ซึ่งนำมาใช้ในทางการเกษตรและใช้ในทางการแพทย์[2] ลินเดนเป็นสารที่เป็นพิษต่อระบบประสาทโดยรบกวนการทำงานของสารสื่อประสาท GABA โดยรบกวนการทำงานของตัวรับ GABAA ในมนุษย์ ลินเดนมีผลต่อระบบประสาท ตับ ไต และอาจจะเป็นสารก่อมะเร็งและสารรบกวนระบบต่อมไร้ท่อ[3][4] องค์การอนามัยโลกจัดให้ลินเดนเป็นสารที่เป็นอันตรายปานกลาง และมีการควบคุมการค้าสารนี้ในระดับนานาชาติ [5] ถูกห้ามใช้แล้วใน 50 ประเทศ และใน พ.ศ. 2552 ได้ถูกจัดให้เป็นสารที่ควรถูกห้ามผลิตและห้ามใช้ทั่วโลก [6] ในทางการแพทย์ Lindane ถูกนำมาใช้รักษาหิด เหา และโลน ในสหรัฐอเมริกา มาตั้งแต่ปี คศ. 1951 จนถึงปัจจุบัน และ Lindane ยังปรากฏอยู่ในเภสัชตำรับของสหรัฐอเมริกา ปี 2011 : The United State Pharmacopeia 2011 (http://en.wikipedia.org/wiki/United_States_Pharmacopeia) ซึ่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ให้การรับรองคุณภาพและความปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีรายงานของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นักวิทยาศาสตร์ และนักสิ่งแวดล้อมหลายท่านจากสหรัฐอเมริกา แสดงความคิดเห็นว่าการใช้ Lindane สำหรับรักษาหิดเหาและโลน มีประสิทธิภาพดี และควรใช้ Lindane เป็นแนวทางในการรักษาหิดเหาและโลนต่อไป (http://www.lindane.com) เช่น ในปี 2007 นพ. Gerad L Conway ผู้อำนวยการสมาคมแพทย์แห่งรัฐนิวยอร์ก, พญ. Amy S Paller จากภาควิชาตจวิทยามหาวิทยาลัย Northwestern และ นพ. Adelaide A Hebert ประธานสมาคมแพทย์ผิวหนังเด็ก มหาวิทยาลัย Texas ได้แสดงความเห็นด้วยในการใช้ Lindane Cream สำหรับรักษาหิดและเหาโดยเห็นว่า เช่นเดียวกับการใช้ยาทั่วไป การใช้ Lindane อย่างถูกวิธีจะเกิดผลดีมากกว่าผลเสีย (http://www.lindane.com) นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมจากมหาวิทยาลัย Michigan คือ ดร. Len I Sweet ได้แสดงผลงานวิจัยสรุปว่า Lindane ที่ใช้รักษาหิดและเหามีปริมาณน้อย ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่นในดิน น้ำ (น้ำดื่ม น้ำใช้ น้ำเสีย) ทะเลสาบและ ปลาในรัฐ Michigan (http://www.lindane.com) สำหรับประเทศไทย 1% Lindane cream ได้มีการผลิตและจำหน่ายแพร่หลายในประเทศมากว่า 60 ปี ไม่พบรายงานเกี่ยวกับอันตรายจากการใช้ยาเลย ตามข้อมูลของศูนย์เฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาของคณะกรรมการอาหารและยา และ 1% Lindane cream สามารถกำจัดเหาและไข่เหาได้ในการใช้เพียงครั้งเดียว โดยไม่ต้องรอให้ไข่เหาฟักเป็นตัวเสียก่อน ดังนั้นในแง่ของประสิทธิภาพ ความปลอดภัยและความสะดวกในการรักษาด้วย 1% Lindane cream สามารถใช้ได้ดี ดังปรากฏในรายงานของ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งได้ตีพิมพ์ในวารสารศรีนครินทร์เวชสาร ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 เม.ย. – มิ.ย. 2535 หน้า 92 – 96 โดยย่อดังนี้ ผลการรักษาเด็กนักเรียนที่เป็นเหาด้วยยา 1% Lindane cream ด้วยการชโลมยาให้ทั่ว คลุมผมด้วยถุงพลาสติก 12 ชั่วโมง ผลการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า 1% Lindane cream มีประสิทธิภาพในการกำจัดเหา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การชโลมยานี้บนเส้นผมแล้วทิ้งไว้นาน 12 ชั่วโมง ซึ่งทำให้ผลการรักษาสูงถึง 97.4% และยังมีฤทธิ์ในการทำลายระยะตัวอ่อนของเหาที่อยู่ในไข่ได้ 100% ( http://www.smj.ejnal.com/e-journal/showdetail/?show_preview=T&art_id=771) นอกจากนี้ในปี 2546 ประเทศไทยยังมีรายงานวิจัยศึกษาการใช้ Lindane รักษาหิดในเด็กโดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ตีพิมพ์ในวารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์ ( J Med Assoc Thai. 2003 Aug;86 Suppl 3:S531-6) พบว่า 0.3% Lindane ครีม ใช้รักษาหิดได้ดีพอๆกับ 10% ขี้ผึ้งกำมะถัน แต่ขี้ผึ้งกำมะถันมีกลิ่นเหม็นมากกว่า แหล่งข้อมูลอื่นรัฐบาลและองค์กรต่างๆ
ข่าวและบทความ
อ้างอิง
|