Share to:

 

ลูกเสือชาวบ้าน

ลูกเสือชาวบ้าน
ก่อตั้งพ.ศ. 2497
ประเภททหารอาสาสมัคร
วัตถุประสงค์ดูแลความปลอดภัยหมู่บ้าน
ภูมิภาคที่รับผิดชอบ
ประเทศไทย
สังกัดตำรวจตระเวนชายแดน
พนักงาน
เคยมีสมาชิก 20% ของชาวไทยวัยทำงาน
ผ้าพันคอของลูกเสือชาวบ้าน ของจากก่อนการสังหารหมู่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ลูกเสือชาวบ้าน เป็นกลุ่มทหารอาสาสมัคร ที่มีการจัดกิจกรรมผ่านการลูกเสือ ก่อตั้งขึ้นในปี 2497 โดยตำรวจตระเวนชายแดนฝึกสอนให้ชาวบ้านรู้จักดูแลความปลอดภัยในหมู่บ้าน การป้องกันตนเอง ตลอดจนการสอดแนมรักษาความปลอดภัยตามแนวชายแดนเป็นอันดับต้น เพื่อป้องกันการคุกคามของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ภายหลังได้รับการขยายไปทั่วประเทศ สมาชิกลูกเลือชาวบ้านเข้าไปร่วมในการเคลื่อนไหวทางสังคม เช่น เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516

กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรเข้าควบคุมลูกเสือชาวบ้านในปี 2517[1]: 223  แล้วเริ่มขยายเข้าไปในเขตเมืองเพื่อตอบโต้การเคลื่อนไหวของฝ่ายซ้าย พระบรมวงศานุวงศ์สนับสนุนกลุ่มลูกเสือชาวบ้าน เช่น ถวายผ้าพันคอ[1]: 224  ช่วงหนึ่ง คนวัยทำงานถึง 1 ใน 5 เคยเป็นสมาชิกลูกเสือชาวบ้าน[2]: 34–5 

ในเหตุการณ์เหตุการณ์ 6 ตุลา พ.ศ. 2519 เป็นกลุ่มฝ่ายขวากลุ่มหนึ่งที่มีส่วนในการลงประชาทัณฑ์นักศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขบวนการนี้ได้กลายเป็นม็อบชนชั้นกลางระดับล่าง ซึ่งรัฐปล่อยให้กลุ่มสลายไปหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519[2]: 35 

อย่างไรก็ตาม ในเหตุการณ์ ๖ ตุลา เมื่อมีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอ ดุลยเดชมหาราชทรงมีรับสั่งให้นายธรรมนูญ เทียนเงิน ผู้อำนวยการ ลูกเสือชาวบ้านเขตพระนคร เข้าเฝ้าในช่วงเย็นของวันนั้น และรับสั่งให้ นายธรรมนูญฯ ไปชี้แจงกับลูกเสือชาวบ้านให้สลายตัว ซึ่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จไปพร้อมกับนายธรรมนูญ ยังที่ประชุมของลูกเสือชาวบ้าน และมีพระราชดำรัสให้ลูกเสือชาวบ้านสลายการชุมนุม โดยมีความว่า “ข้าพเจ้าขอให้ทุกคนยิ้มแย้มและใจเย็นๆ ไม่มีอะไรที่แก้ไขไม่ได้ แต่ต้องค่อยแก้ค่อยไป บ้านเมืองตอนนี้กำลังต้องการความสามัคคีและกำลังอยู่ในสถานการณ์ที่สำคัญ ฉะนั้นขอให้ทุกคนสลายตัวเสีย ถือว่าให้ของขวัญกับข้าพเจ้า ท่านเหนื่อยกันมามากแล้ว ขอให้กลับไปหลับนอนเสียให้สบายทุกคนโปรดทราบว่า สองล้นเกล้าฯ ทรง เป็นห่วง ไม่มีอะไรที่สองล้นเกล้าฯ จะเสียใจเท่ากับพวกเราฆ่ากันเอง ขอให้ทุกคนโชคดี” ซึ่งเหตุการณ์นี้ถือเป็นบทบาทหนึ่งของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหา วชิราลงกรณฯ ในขณะทรงดำรงพระยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยาม มกุฎราชกุมาร ในขณะที่ประเทศชาติ ได้เกิดวิกฤติการณ์ร้ายแรงขึ้น

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Handley, Paul M. The King Never Smiles: A Biography of Thailand's Bhumibol Adulyadej. Yale University Press. ISBN 0-300-10682-3.
  2. 2.0 2.1 อึ๊งภากรณ์, ใจ; ยิ้มประเสริฐ, สุธาชัย; และคณะ (2544). อาชญากรรมรัฐในวิกฤตการเปลี่ยนแปลง (PDF). คณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519. ISBN 9748858626. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-19. สืบค้นเมื่อ 2020-08-23.

แหล่งข้อมูลอื่น

หนังสือและบทความ

  • พัชรลดา จุลเพชร. “ลูกเสือชาวบ้าน: จากอดีตถึงปัจจุบัน.” ฟ้าเดียวกัน 3, 1 (ม.ค.-มี.ค. 2548): 98-121.
  • Prajak Kongkirati. “Counter-Movement in Democratic Transition: Thai Right-Wing Movements after the 1973 Popular Uprising.” Asian Review 19 (2006): 101-135.

เว็บไซต์

Kembali kehalaman sebelumnya