Share to:

 

ลฺหวี่ชื่อชุนชิว

ลฺหวี่ชื่อชุนชิว
ลฺหวี่ชื่อชุนชิวฉบับยุคเอโดะ (ค.ศ. 1603–1868)
ผู้ประพันธ์ลฺหวี่ ปู้เหวย์
ชื่อเรื่องต้นฉบับ呂氏春秋
ประเทศจีน
ภาษาจีน
ประเภทตำราจีนโบราณ
ลฺหวี่ชื่อชุนชิว
อักษรจีนตัวเต็ม春秋
อักษรจีนตัวย่อ春秋
ความหมายตามตัวอักษร[จดหมายเหตุ]วสันตสารทตระกูลลฺหวี่

ลฺหวี่ชื่อชุนชิว (จีนตัวย่อ: 吕氏春秋; จีนตัวเต็ม: 呂氏春秋; แปลตรงตัว: "วสันตสารทตระกูลลฺหวี่") เป็นตำราจีนโบราณประเภทสารานุกรมที่รวบรวมเมื่อราว 239 ปีก่อนคริสตกาลภายใต้การอุปถัมภ์ของลฺหวี่ ปู้เหวย์ อัครมหาเสนาบดีของรัฐฉินในยุครณรัฐของจีน นักจีนวิทยาไมเคิล คาร์สัน (Michael Carson) และไมเคิล โลว์ (Michael Loewe) ประเมินลฺหวี่ชื่อชุนชิวว่า "ลฺหวี่ชื่อชุนชิวมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในหมู่ผลงานยุคต้นตรงที่มีการรวบรวมอย่างเป็นระบบและครอบคลุม ประกอบด้วยข้อเขียนที่มีเนื้อหากว้างขวางเช่นในเรื่องดนตรีและการเกษตรซึ่งไม่ปรากฏในผลงานอื่นใด ๆ ทั้งยังเป็นหนึ่งในตำรายุคต้นที่ยาวที่สุดซึ่งประกอบด้วยเนื้อหามากกว่า 100,000 คำ"[1]

ภูมิหลัง

ชีวประวัติลฺหวี่ ปู้เหวย์ในฉื่อจี้ (บทที่ 85 หน้าที่ 2,510) มีข้อมูลที่เก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับลฺหวี่ชื่อชุนชิว ลฺหวี่ ปู้เหวย์เป็นพ่อค้าผู้มั่งคั่งจากนครหานตานแห่งรัฐจ้าวผู้ผูกมิตรกับฉินเจาเซียงหวางแห่งรัฐฉิน อิ๋ง เจิ้งผู้เป็นโอรสของฉินเจาเซียงหวาง (ซึ่งฉื่อจี้ให้ความเห็นว่าแท้จริงแล้วเป็นบุตรเป็นลฺหวี่ ปู้เหวย์) ภายหลังได้ขึ้นเป็นจิ๋นซีฮ่องเต้จักรพรรดิองค์แรกของจีนเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อฉินเจาเซียงหวางสวรรคตเมื่อ 247 ปีก่อนคริสตกาล ลฺหวี่ ปู้เหวย์ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของอิ๋ง เจิ้งซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุ 13 พรรรษา ลฺหวี่ ปู้เหวย์ "สรรหาบัณฑิต ปฏิบัติต่อพวกเขาอย่างใจกว้างจนมีผู้ติดตามจำนวนสามพันคน" เพื่อจะตั้งให้รัฐฉินเป็นศูนย์กลางทางภูมิปัญญาของจีน[2] ฉื่อจี้กล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อ 239 ปีก่อนคริสตกาลเกี่ยวกับลฺหวี่ ปู้เหวย์ไว้ว่า:[3]

... มอบหมายให้ผู้ติดตามเขียนทุกสิ่งอันที่ได้เรียนมาและรวบรวมข้อเขียนเหล่านั้นเป็นหนึ่งผลงานที่ประกอบด้วยแปด "การสอบ" หก "วจนิพนธ์" และสิบสอง "กาลานุกรม" รวมแล้วมีมากกว่า 200,000 คำ

ฉื่อจี้ระบุว่าลฺหวี่ ปู้เหวย์ให้นำตำราลฺหวี่ชื่อชุนชิวที่จัดทำเสร็จสมบูรณ์ออกจัดแสดงที่ประตูนครเสียนหยางเมืองหลวงของรัฐฉิน และยังออกประกาศที่บอกว่าจะมอบทองคำพันตำลึงให้กับใครก็ตามที่สามารถเพิ่มเติมหรือแก้ไขเนื้อหาในตำราแม้เพียงหนึ่งคำ

เนื้อหา

การตอบรับ

รางวัลในการแก้ไข

ประเด็นสำคัญ

อ้างอิง

รายการอ้างอิง
  1. Loewe & Carson (1993:324).
  2. Knoblock and Riegel (2000:13)
  3. Knoblock and Riegel (2000:14)
บรรณานุกรม
  • Carson, Michael; Loewe, Michael (1993). "Lü shih ch'un ch'iu 呂氏春秋". ใน Loewe, Michael (บ.ก.). Early Chinese Texts: A Bibliographical Guide. Berkeley: Society for the Study of Early China; Institute of East Asian Studies, University of California Berkeley. pp. 324–30. ISBN 1-55729-043-1.
  • Knoblock, John and Riegel, Jeffrey. 2000. The Annals of Lü Buwei: A Complete Translation and Study. Stanford: Stanford University Press. ISBN 0-8047-3354-6.
  • Sellmann, James D. 2002. Timing and Rulership in Master Lü's Spring and Autumn Annals (Lüshi chunqiu). Albany: State University of New York Press.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya