Share to:

 

วัดชัยฉิมพลี

วัดชัยฉิมพลี
แผนที่
ชื่อสามัญวัดชัยฉิมพลี, วัดฉิมพลี, วัดฉิม
ที่ตั้งเลขที่ 62 ซอยบางแวก 71 ถนนบางแวก แขวงบางแวก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระประธานพระพุทธชัยมงคล
เจ้าอาวาสพระอุดมวรญาณ (สุวิทย์ สุจิตฺโต ป.ธ.๙)
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดชัยฉิมพลี เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ริมคลองบางแวก ในแขวงบางแวก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร

ประวัติ

วัดชัยฉิมพลีสร้างเมื่อ พ.ศ. 2380 ตามที่เล่าสืบกันมา พระยาสีหราชเดโชชัยและคุณหญิงงิ้วผู้เป็นภรรยาได้ดำเนินการสร้างวัดขึ้น โดยการบริจาคที่ดิน 50 ไร่ เป็นที่สร้างวัด และได้ตั้งชื่อวัดว่า "วัดชัยฉิมพลี" เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ผู้สร้างวัด โดยคำว่า ฉิมพลี หมายถึง "ไม้งิ้ว" ซึ่งตรงกับชื่อภรรยา วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2465[1] และได้ทำการผูกพัทธสีมาใหม่เมื่อ พ.ศ. 2507

ด้านการศึกษา วัดได้มีการเปิดสอนพระปริยัติธรรม ตั้งแต่ พ.ศ. 2480 และมีโรงเรียนประถมศึกษาบนที่ดินเนื้อที่ 6 ไร่ เปิดการเรียนการสอนเมื่อ พ.ศ. 2480 มีโรงเรียนมัธยมศึกษาบนที่ดินเนื้อที่ 14 ไร่ เปิดการเรียนการสอนเมื่อ พ.ศ. 2498

อาคารเสนาสนะ

อุโบสถล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ขนานกับคลอง ได้รับการปฏิสังขรณ์ใหม่เป็นอุโบสถ 5 ห้อง มีอาคารยอดปรางค์ตั้งอยู่หน้ากำแพงแก้ว[2] ภายในอุโบสถประดิษฐานพระประธานนามว่า พระพุทธชัยมงคล เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ หน้าตักกว้าง 45 นิ้ว ด้านนอกมีเจดีย์ 2 องค์ ฐานกว้าง 5 เมตร สร้างพร้อมกับการสร้างวัด

อาคารเสนาสนะอื่น ๆ ได้แก่ กุฏิสงฆ์จำนวน 12 หลัง ศาลาการเปรียญหลังเก่า (ศาลาริมคลอง) ศาลาการเปรียญหลังใหม่ 2 ชั้น โรงเรียนพระปริยัติธรรม อาคาร 4 ชั้น

รายนามเจ้าอาวาส

  • พระอธิการนิ่ม พ.ศ. 2455–2465
  • พระครูปัด ธัมมธโร พ.ศ. 2465–2472
  • พระอธิการเตียบ ฉันโท พ.ศ. 2472–2493
  • พระครูเล็ก ฐานจาโร พ.ศ. 2493–2502
  • พระครูวิมลคุณาธาร (วรรณะ เหมโก) พ.ศ. 2503–2543
  • พระครูสิทธิชัยวัฒน์ (เลิศรบ ปัญญาคโม) พ.ศ. 2544–2558
  • พระอุดมวรญาณ (สุวิทย์ สุจิตฺโต ป.ธ.๙) พ.ศ. 2559-ปัจจุบัน

อ้างอิง

  1. "รายงานทะเบียนวัด" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-10-13. สืบค้นเมื่อ 2020-10-27.
  2. กรรณิการ์ สุธีรัตนาภิรมย์. "กรุงธนบุรีในสมัยอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์" (PDF). มหาวิทยาลัยศิลปากร. p. 325.
Kembali kehalaman sebelumnya