วัดดงเฒ่าเก่า
วัดดงเฒ่าเก่า เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ตั้งอยู่ในตำบลนาหมอม้า อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ บนเนื้อที่ 100 ไร่ มีต้นไม้ขนาดใหญ่หลงเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก วัดดงเฒ่าเก่าเป็นที่ตั้งของแหล่งโบราณคดีที่ได้รับอิทธิพลสมัยทวารวดี ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12–13 คาดว่าบริเวณนี้เป็นเส้นทางการเดินทางของพวกขอมโบราณ ซึ่งเชื่อมกันกับเส้นทางตามแนวชายแดนด้าน จังหวัดศรีสะเกษ บุรีรัมย์และนครราชสีมา ปรากฏหลักฐานคือใบเสมาหินทรายขนาดใหญ่มีการสลักลวดลายนูนต่ำ เป็นรูปดอกไม้ รูปหม้อน้ำ และตอนบนเป็นวงคล้ายธรรมจักร มีการปักใบเสมาในพื้นที่กว้างกว่าที่อื่น ๆ โดยพบใบเสมาฝังดินกระจัดกระจายรอบบริเวณแนวป่าทึบ มีลักษณะที่แปลกคือใบเสมาจะถูกฝังเป็นแนวยาวตลอดในเส้นทางเดียวกันมีอยู่จำนวนมาก นักโบราณคดีสันนิฐานว่าอาจเป็นสัญลักษณ์ที่บอกแนวเขตพัทธสีมา มณฑป ที่แสดงให้เห็นว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หรืออาจเป็นสัญลักษณ์แสดงเขตแดนมหานครในอดีต[1] รวมถึงพบพระพุทธรูปหินทรายแบบทวารวดีตอนปลาย[2] ต่อมาเจ้าอาวาสวัดดงเฒ่าเก่า เดินธุดงค์ไปหลายพื้นที่ทั้งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กัมพูชาและพม่า กระทั่งเดินผ่านพื้นที่ดงเฒ่าเก่า พบว่าเป็นที่เหมาะสมที่จะปฏิบัติธรรม จึงได้ปักกรดจำพรรษาอยู่ที่นี่ ชาวบ้านได้ช่วยกันบริจาคทุนทรัพย์ ก่อสร้างกุฎิ อุโบสถและอื่น ๆ จนกลายเป็นวัดดงเฒ่าเก่า ปูชนียวัตถุได้แก่ หลวงพ่อศิลาพันปี ซึ่งขุดขึ้นมาจากบริเวณที่จะก่อสร้างอุโบสถ[3] วัดดงเฒ่าเก่าตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2480[4] อ้างอิง
|