Share to:

 

วัดโพธิ์ธาตุ

วัดโพธิ์ธาตุ
วัดโพธิ์ธาตุ
แผนที่
ชื่อสามัญวัดโพธิ์ธาตุ
ที่ตั้งบ้านชุมแพ ตำบลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น 40130
นิกายมหานิกาย เถรวาท
เจ้าอาวาสพระครูจารุวรรณสาร
จุดสนใจโบราณสถานเจดีย์ญาคุหงส์
กิจกรรมวัดในพระพุทธศาสนาที่มีกิจกรรมเชิงพุทธตลอดปี ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดโพธิ์ธาตุ ตั้งอยู่ที่ บ้านชุมแพ หมุ่ที่ 10 ตำบลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 6 ไร่ 68 ตารางวา น.ส. 3 ก. เลขที่ 560 อาณาเขตทิศเหนือประมาณ 3 เส้น 1 วา 3 ศอก จรดถนนหงษ์ประดิฐ ทิศใต้ประมาณ 3 เส้น จรดถนนเพียแก้ว ทิศตะวันออกประมาณ 1 เส้น 17 วา 2 ศอก จรดถนนราษฎร์บำรุง ทิศตะวันตกประมาณ 2 เส้น 3 วา จรดถนนโพธิ์ธาตุ ก่อตั้งวัดเมื่อ วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ 2221 ช่วงต้นรัชสมัยของ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 หรือ พระเจ้าท้ายสระ พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 32 ของกรุงศรีอยุธยา อ้างอิงจาก หลักฐานทางราชการ ทะเบียนวัดภาค 9 กรมการศาสนา และ ทะเบียนวัดของอำเภอชุมแพ มีพระญาคูหงส์ หงฺสเตโช เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาอุโบสถหลังใหม่เมื่อพุทธศักราช 2526 [1]มีที่ดินธรณีสงฆ์จำนวน 4 แปลง เนื้อที่ 25 ไร่ 2 งาน 74 ตารางวา น.ส. 3 เลขที่ 560 โฉนดที่ดิน เลขที่ 967 และ ส.ค. 1 เลขที่ 154 มีวัดศรีมงคล ตำบลหนองไผ่ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น เป็นวัดสาขาและพื้นที่ธรณีสงฆ์วัดโพธิ์ธาตุ[2]

พระครูจารุวรรณสาร (จารุวณฺโณ)


อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ มีความกว้าง 8.20 เมตร มีความยาว 23.10 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดใหญ่ ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ 2519 ศาลากาญจนาภิเษก เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ 2539 ศาลาการเปรียญ มีความกว้าง 30.00 เมตร มีความยาว 40.00 เมตร ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ 2503 หอระฆังขนาดใหญ่ เป็นอาคารหอสูงคคอนกรีตเสริมเหล็ก 1 หลัง กุฎิพระภิษษุสงฆ์และสามเณร จำนวน 6 หลัง และ ศาลาบำเพ็ญกุศลจำนวน เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กจำนวน 2 หลัง ปูชนียวัตถุสำคัญมีพระประธานในพระอุโบสถหล่อด้วยทองคำแท้ ขนาดหน้าตักกว้าง 1.50 เมตร สูง 2 เมตร ปางมารวิชัย ศิลปะแบบสุโขทัย พระพุทธรูปโบราณสลักจากหินทราย ได้แก่ พระนาคปรก 3 องค์ พระพุทธรูป มีพระนามว่า หลวงพ่อโพธิ์ธาตุ มีหลักใบเสมาหินทรายเก่าที่มีอายุตั้งแต่สมัยทราวดีที่หลงเหลือให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน หลักที่ 1 เป็นหลักใบเสมาหินทรายยอดสอบเหลี่ยม มีสันนูนสุงแนวตั้งตรงกลางลำแผ่น ใบที่ 2 เป็นหลักใบเสมาหินทรายครึ่งใบ สันนิฐานว่าแกะสลักเป็นรูปหม้อปูรณฆฏะปลายยาวมีกรีปออกทั้งสองข้าง หลักที่ 3 เป็นหลักรูปทรงเป็นก้อนหินทรายทรงรีผิวเรียบ ทั้ง 3 หลักตั้งอยู่บริเวณชายขอบของโบราณสถานเจดีย์ญาคูหงส์ ส่วนหลักใบเสมาหินทรายโบราณน้อยใหญ่อื่นๆที่เคยอยู่รอบพื้นที่ทำสังฆกรรมอุโบสถหลังเดิม ปัจจุบันไม่พบเห็น

หลักใบเสมาหินทรายวัดโพธิ์ธาตุ
หลักใบเสมาหินทรายครึ่งใบ


ปัจจุบันมีเจดีย์ทั้งหมด 2 องค์ ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์แล้ว 1 องค์ คือ เจดีย์โพธิ์ธาตุ ได้รับการบูรณะปฏิสังขรป์ในปีพุทธศักราช 2528 สมัยพระครูวิบูลสารนิวิฐ (เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ธาตุรูปที่ 17) ละ เจดีย์ที่ยังไม่ได้รับการบูรณะ 1 องค์ คือ เจดีย์ญาณคูหงส์ ซึ่งปัจจุบันเป็นโบราณสถานที่มีต้นไม้ ได้แก่ ต้นตะโก ต้นมะเกลือ ต้นแจ้ง ขึ้นคลุมเจดีย์ ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของชาวชุมแพ โดยวัดโพธิ์ธาตุมีความสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นชุมชนเมืองชุมแพ ตั้งแต่ยุคแรกเริ่มยุคบุกเบิก โดยเป็นวัดเก่าแก่และวัดประจำอำเภอชุมแพ

บรรยากาศคืนวันบุญเดือน 4
บรรยากาศวันขึ้นปีใหม่ 2567

ศาสนสถาน

พระประธานในอุโบสภวัดโพธฺิ์ธาต
  1. อุโบสถ ความกว้าง 8.20 เมตร ความยาว 23.10 เมตร ความสูง 25 เมตร 10 หน้าต่าง 4 ประตู  สร้างตามแบบแปลนของกรมศิลปากร แบบ ก เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดใหญ่ มีหลักใบเสมาล้อมรอบพื้นที่ทำสังฆกรรมทั้วหมด ๘ หลัก มีรั้วล้อมรอบชั้นนอก มีประตูทางเข้า ๖ แห่ง ประกอบด้วย ทิศเหนือและทิศใต้ฝั่งละ ๒ แห่ง ทิศตะวันออกและทิศตะวันตกฝั่งละ ๑ แห่ง มีประติมากรรมรูปปั้นสิงสาลาสัตว์ อาทิ สิงโต ช้าง สิงค์ ฯลฯ สร้างเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ 2519 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา โดย พลเอกประจวบ สุนทรางกูล เป็นผู้รับสนองพระราชโองการขณะนั้นและประกาศของสำนักงานนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ 2526 ในการก่อสร้าง พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมนันท์ ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี ในขณะนั้นเป็นประธานในพิธียกช่อฟ้าและร่วมทำบุญโดยการถวายเงินส่วนตัว จำนวน 100,000 บาท(หนึ่งแสนบาทถ้วน) ส.ส.แถม ดีบุญมี ณ ชุมแพ ร่วมทำบุญโดยถวายเงินส่วนตัว 100,000 บาท(หนึ่งแสนบาทถ้วน) ส.ส.สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ร่วมทำบุญโดยถวายเงินส่วนตัวจำนวน60,000 บาท(หกหมื่นบาทด้วน)และเงินบริจาคของชาวชุมแพ ในช่วงสมัยกำลังดำเนินการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ แม่แดง เหล็กเจริญ นำพาชาวบ้านชุมแพคุ้มเหนือจัดตั้งวงรำวงการกุศลรับบริจาคนำเงินไปร่วมสร้างอุโบสถหลังใหม่ อุโบสถหลังใหม่ใช้ในการก่อสร้างทั้งสิ้น 7,000,000 บาทเศษ สร้างเสร็จมีการเฉลิมฉลองสมโภช 9 วัน 9 คืน คือ วันที่ 11-19 มีนาคม พ.ศ 2532 ภายในอุโบสถมีพระประธาน หล่อด้วยทองคำแท้ ขนาดหน้าตักกว้าง 1.50 เมตร สูง 2 เมตร ปางมารวิชัย ศิลปะแบบสุโขทัย มีภาพวาดจิตกรรมฝาผนังเล่าเรื่องพุทธประวัติอยู่ภายในอุโบสถ โดยอุโบสถวัดโพธิ์ธาตุเป็นปูชณียสถาน(อุโบสถ)ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอำเภอชุมแพในเวลานั้น
  2. ศาลากาญจนาภิเษก ตามแบบของกรมศิลปากร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น สร้างเมื่อที่ 4 มีนาคม พ.ศ 2539 วางศิลาฤกษ์โดย พระราชวิทยาคม(คูณ ปริสุทฺโธ) งบประมาณในการก่อสร้างรวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 5,762,049.75 บาท(ห้าล้านเจ็ดแสนหกหมื่นสองพันสี่สิบเก้าบาทเจ็ดสิบห้าสตางค์) ซึ่งเป็นเงินที่ได้จากการบริจาคทั้งสิ้น เมื่อสร้างเสร็จเฉลิมฉลองสมโภชเมื่อวันที่ 24-26 มีนาคม พ.ศ 2543 รวม 3 วัน 3 คืน ศาลากาญจนาภิเษกเป็นศาลาการเปรียญหลักที่ใช้ในการทำสังฆกรรมในหลายพิธีการของวัดโพธิ์ธาตุ โดยใช้งานชั้นใต้ถุน(ชั้นที่ 1) เนื่องจากชั้นที่ 2 มีบรรไดขึ้นไปสูงชัน ทำให้พระภิกษุสงฆ์อุบาสกอุบาสิกาผู้สูงอายุขึ้นลงลำบากไม่สะดวกนัก จึงได้ย้ายลงมาทำชั้นล่าง ชั้นที่ ๒ มีลักษณะเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ มีความกว้างและความยาวของพื้นที่พอสมควร มีทางขึ้นลง 2 ฝั่งทั้งข้างหน้าและข้างหลังฝั่งละ 2 ข้างทางด้านซ้ายและทางด้านขวา ประตูและหน้าต่างเป็นกระจกบานเลื่อนสีดำทึบ ประดิษฐานพระประธานขนาดหน้าตักกว้าง 1.50 เมตร สูง 2.5 เมตร ปางพระพุทธชินราช โดยเป็นห้องเก็บปูชณียวัตถุและของสำคัญที่ใช้ในพิธีการต่างๆ ปัจจุบันไม่เปิดให้ปุถุชนอุบาสกอุบาสิกาเข้าชม
  3. เจดีย์โพธิ์ธาตุ เดิมเป็นธาตุเจดีย์ที่ก่อด้วยหินทรายที่ได้รับอิทธิพลศิลปะล้านช้างแบบเดียวกันกับเจดีย์วัดธาตุบ้านแห่  มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงปราสาทขนาดเล็ก ยอดเป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุม รูปฐานเป็น 4 เหลี่ยม และมีช่องอยู่บนธาตุทั้งหมด 4 ทิศ ต่อมาได้รับการบูรณะปฏิสังขรป์ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ สมัยพระครูวิบูลสารนิวิฐ (เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ธาตุรูปที่ 17) โดยใช้ศิลปะท้องถิ่นแบบผสมผสานล้านช้าง-รัตนโกสินทร์ โทนสีขาว-ทอง และได้นำพระพุทธรูปไปประดิษฐานที่ช่องทั้ง 4 ทิศ ทิศตะวันออกและทิศใต้ ประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณปรางนาคปรก ทางทิศเหนือประดิษฐานพระพุทธรูปปรางประทานพรและทางทิศตะวันตกประดิษฐานพระพุทธรูปปรางมารวิชัย
  4. โบราณสถานเจดีย์ญาคูหงส์ สันนิฐานว่าเป็นธาตุเก็บอัฐิของ พระญาคูหงส์ หงฺสเตโช ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอุโบสถ มีลักษณะเป็นซากโบราณสถานขนาดเล็กก่ออิฐ ปัจจุบันมีจอมปลวกและต้นไม้ 3 ต้นห่อหุ้มไว้ คือ ต้นตะโก ต้นมะเกลือ และต้นแจ้ง มองเห็นอิฐถือปูนบางส่วน รอบต้นไม้และธาตุมีการก่อรั้วอิฐมอญล้อมรอบไว้ ภายในรั้วอิฐรอบธาตุมีหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ ได้แก่ เสมาหินทราย 3 ใบ ใบหนึ่งเป็นเสมายอดสามเหลี่ยม มีสันนูนสูงแนวตั้งตรงกลางแผ่น อีกใบหนึ่งเป็นชิ้นส่วนเสมาครึ่งใบ นอกจากนี้ยังมีก้อนหินทรงรีและพระพุทธรูปที่สลักจากหินทราย 2 องค์ รวมทั้งชิ้นส่วนสิ่งก่อสร้างต่างๆที่สร้างขึ้นในสมัยหลัง มีพระพุทธรูป 3 องค์จากอุโบสถ(สิม) หลังเดิมที่ได้รื้อถอนไปแล้ว และ พระพุทธรูปองค์ใหญ่อีก 1 องค์ คือ พระพุทธรูปปรางมารวิชัย ที่ปัจจุบันประดิษฐานไว้ ณ หอพระโรงเรียนบ้านชุมแพ โบราณสถานเจดีย์ญาคูหงส์ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเรื่องการกำหนดจำนวนโบราณวัตถุสถานสำหรับชาติ เล่มที่ 57 หน้า 2527 วันที่ 22 ตุลาคม พุทธศักราช 2483
  5. อนุสรณ์สถานลำรึกท่านเจ้าคุณพระมงคลธรรมภาณี(ศรีรวย อุตฺตโม ป.ธ.๕)(พระครูวิบูลสารนิวิฐ) อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ธาตุรูปที่ ๑๗ และอดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอสีชมพู ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ 2557 โดยเป็นสถานที่ประดิษฐาน พระอัฐิ พัดยศ สมณะศักดิ์ เครื่องอัฐบริขารต่างๆ และ ปฏิมากรรมรูปเหมือนของท่านเจ้าคุณพระมงคลธรรมภาณี(ศรีรวย อุตฺตโม ป.ธ.๕)(พระครูวิบูลสารนิวิฐ)
  6. กุฏิวิบูลรังสรรค์ ใช้เป็นกุฏิสำหรับเจ้าอาวาสวัด ลักษณะเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น พื้นปูด้วยหินอ่อนทั้ง 2 ชั้น หลังคาสามมุก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกศาลากาญจนาภิเษก สร้างเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ 2436 โดยใช้งบประมาณจากเงินบริจาคจำนวน 1,780,000 บาท(หนึ่งล้านเจ็ดแสนแปดหมื่นบาทถ้วน)
  7. ศาลาธรรมสังเวช หลังที่ 1 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว ใช้เป็นศาลาบำเพ็ญกุศล หรือ ศาลาพักศพ ตั้งอยู่บริเวณทางทิศใต้ของเมรุและทิศตะวันตกของโบราณสถานเจดีย์ญาคูหงส์ โดยเมื่อปี พ.ศ 2560 ได้ต่อเติมหลังคาสังกะสีเพิ่มยื่นออกมาข้างหน้าจนติดกับโบราณสถานเจดีย์ญาคูหงส์
  8. ศาลาธรรมสังเวช หลังที่ 2 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว ใช้เป็นศาลาศาลาบำเพ็ญกุศล หรือ ศาลาพักศพหลังที่ 2 ตั้งอยู่บริเวณทิศเหนือของโบราณสถานเจดีย์ญาคูหงส์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมรุ บูรณะต่อเติมครั้งใหญ่เมื่อปี พ.ศ 2564
  9. ศาลาการเปรียญ ก่อสร้างเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ 2539 เสาท่องล่างเป็นคอนกรีตเสาท่อนบนเป็นไม้ หลังคาทรงไทยมุงสังกะสี ความยาว 23.00 เมตร ความกว้าง 6.80 เมตร ชั้นบนมีทั้งหมด 7 ห้อง ตั้งอยู่บริเวณหลังเมรุและศาลาธรรมสังเวช
  10. หอระฆังใหญ่ เป็นหอระฆังแบบคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดใหญ่ มีทั้งหมด 3 ชั้น ชั้นที่ 2-3 ติดตั้งระฆัง ชั้นที่ 1 มีกลองเพลน ฆ้อง และ โป่ง โดยหอระฆังตั้งอยู่บริเวณข้างกับศาลาเก็บของและกุฏิพระภิษษุสงฆ์
  11. กุฏิพระภิษษุสงฆ์และสามเณร จำนวน 6 หลัง
  12. ศาลานั่งพักทั่วไป จำนวน 7 หลัง
  13. ศาลาพักรถยนต์และรถจักรยานยนต์ จำนวน 3 หลัง
  14. เมรุ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อปี พ.ศ 2527 ใช้งบประมาณทั้งสิ้นจำนวน 100,000 บาทถ้วน(หนึ่งแสนบาทถ้วน) ตั้งอยู่ทิศเหนือวัดโพธิ์ธาตุติดกับศาลาธรรมสังเวช หลังที่ 1 และ หลังที่ 2
  15. ห้องครัวใหญ่ จำนวน 2 หลัง
  16. ห้องน้ำสำหรับปุถุชนอุบาสกอุบาสิกา จำนวน 3 แห่ง
  17. ลานกว้างอเนกประสงค์ จำนวน 1 แห่ง
  18. ประตูโขลงทั้งหมด 4 ทิศ ได้แก่ ประตูโขลงใหญ่ทางทิศตะวันออก มีรูปปั้นยักษ์ทศกัณฐ์และยักษ์อินทราชิตเฝ้าทั้ง 2 ฝั่งของประตู ประตูโขลงทางทิศเหนือ สร้างเมื่อปี พ.ศ 2536 ประตูโขลงทางทิศตะวันตก สร้างเมื่อปี พ.ศ 2534 ประตูโขงทางทิศใต้ สร้างเมื่อปี พ.ศ 2512 (แต่ปัจจุบันได้ทำกันแพงปิดกั้นไว้แล้ว) และ ประตูเล็ก 1 แห่ง ได้แก่ ทางทิศใต้ บริเวณด้านหลังศาลากาญจนาภิเษก จึงสรุปได้ว่ามีประตูที่สามารถเข้าออกได้ในปัจจุบันทั้งหมด 4 ประตู
  19. ปฏิมากรรมพระพุทธรูปประจำวันเกิด 7 วัน ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ 2567 ประดิษฐานบริเวณด้านข้างอุโบสถทิศใต้ฝั่งทิศใต้

ลำดับเจ้าอาวาส

ลำดับเจ้าอาวาสวัดวัดโพธิ์ธาตุ ตำบลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
ลำดับที่ รายนาม/สมณศักดิ์ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
1 ท่านญาครูหงส์ หงฺสเตโช พ.ศ. 2221 พ.ศ. 2248
2 พระอาจารย์ชาลี อมโร พ.ศ. 2248 พ.ศ. 2261
3 พระอาจารย์วันทา วนฺทจิตฺโต พ.ศ. 2261 พ.ศ. 2278
4 พระอาจารย์คล้อย (ฮ้อย) วินยธโร พ.ศ. 2278 พ.ศ. 2296
5 พระอาจารย์พุทธา พุทฺธเสฏฺโฐ พ.ศ. 2296 พ.ศ. 2313
6 พระอาจารย์จันดี จนฺทโสภโณ พ.ศ. 2313 พ.ศ. 2332
7 พระประแดงจันดี จนฺทปุญฺโญ พ.ศ. 2332 พ.ศ. 2352
8 พระอาจารย์คำมี อภิปุญฺโญ (ล่ามสมบัติ) พ.ศ. 2352 พ.ศ. 2369
9 พระอาจารย์หนู สุทฺธสีโล (เวียงเหล็ก) พ.ศ. 2369 พ.ศ. 2382
10 พระอาจารย์คำดี สุวณฺโณ (ทองล้น) พ.ศ. 2382 พ.ศ. 2399
11 พระประแดงมูล กตปุญฺโญ (โม้แก้ว) พ.ศ. 2399 พ.ศ. 2416
12 พระอาจารย์สิงห์ จนฺทสาโร (จันทร์หนองขาม) พ.ศ. 2416 พ.ศ. 2435
13 พระประแดงเส็ง พิมฺพวโร (มีพิมพ์) พ.ศ. 2435 พ.ศ. 2451
14 พระอาจารย์จันดา จนฺทูปโม พ.ศ. 2451 พ.ศ. 2469 อุปัชฌาย์
15 พระวิสารทสุธี (พระมหาบด เกสโว) พ.ศ. 2469 พ.ศ. 2485 เจ้าคณะอำเภอชุมแพ , อุปัชฌาย์
16 พระปลัดหนูกานต์ กนฺตสีโล พ.ศ. 2485 พ.ศ. 2502
17 พระมงคลธรรมภาณี (พระครูวิบูลสารนิวิฐ) พ.ศ. 2502 พ.ศ. 2554 ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอสีชมพู , อุปัชฌาย์
18 พระครูสุโมธานเขตคณารักษ์ ดร. พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2557 เจ้าคณะอำเภอชุมแพ , รักษาการเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ธาตุ , อุปัชฌาย์
19 พระครูจารุวรรณสาร ( เกรียง จารุวณฺโณ ) พ.ศ. 2557 ปัจจุบัน อุปัชฌาย์

แผนผังวัดโพธิ์ธาตุ

แผนผังแสดงอาคารเสนาสนะศาสนสถานประจำวัดโพธิ์ธาตุ อัพเดทเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2567

แผนผังแสดงอาคารเสนาสนะวัดโพธิ์ธาตุ

1 อุโบสถ

2 ศาลากาญจนาภิเษก

3 เจดีย์โพธิ์ธาตุ

4 โบราณสถานเจดีย์ญาคูหงส์

5 อนุสรณ์สถานรำลึกพระมงคลธรรมภาณี

6 หอระฆังใหญ่

7 หอศิลาจารึกประจำวัด

8 ศาลาการเปรียญ (เดิม)

9 ฌาปณสถาน (เมรุ)

10 ศาลาธรรมสังเวช

11 ศาลาบำเพ็ญกุศล

12 ศาลาทั่วไป

13 หอพระพุทธรูป

14 ศาลาทั่วไป

15 ห้องเก็บวัตถุสำคัญประจำวัด

16 ศาลาทั่วไป

17 ศาลาทั่วไป

18 ศาลาพัก

19 อาคารมุงสังกะสี

20 ศาลาทั่วไป

21 ศาลาทั่วไป

22 ศาลาประกอบพิธีกรรมสงฆ์

23 ห้องครัว

24 ห้องน้ำ

25 ศาลาทั่วไป

26 ศาลาทั่วไป

27 กุฏิสำหรับพระภิษษุสามเณร

28 กุฏิสำหรับพระภิษษุสามเณร

29 กุฏิสำหรับพระภิษษุสามเณร

30 กุฏิสำหรับพระภิษษุสามเณร

31 กุฏิวิบูลรังสรรค์ (กุฏิสำหรับพระภิษษุสามเณร)

32 กุฏิสำหรับพระภิษษุเจ้าอาวาสวัด (ปัจจุบัน)

33 ลานกว้างอเนกประสงค์

34 ต้นพระศรีมหาโพธิ์

35 ต้นไทรงาม (ทาลา)

36 ประตูโขลงฝั่งทิศตะวันตก

37 ประตูโขลงฝั่งทิศเหนือ

38 ประตูโขลงฝั่งทิศตะวันออก

39 ประตูเล็กฝั่งทิศใต้

40 ประตูโขลงฝั่งทิศใต้ (เดิม)

41 ศาลาพักรถจักรยานยนต์

บุญประเพณี

โดยวัดโพธิ์ธาตุไม่ได้ยึดถือเอาบุญหรือประเพณีอย่างใดอย่างหนึ่งประเพณีใดประเพณีหนึ่งเป็นจุดเด่น แต่จะยึดถือตามฮีต 12 คลอง 14 ประเพณีวัฒนธรรมอิสานที่ได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ดังนี้

  • บุญเดือนอ้าย
  • บุญเดือนยี่
  • บุญข้าวจี่
  • บุญผะเหวดเทศน์มหาชาติ
  • บุญสงกรานต์
  • บุญเดือนหก (เดิมเป็นบุญบั้งไฟและบุญบวชนาค แต่ในปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว)
  • บุญเบิกบ้าน (บุญซำฮะ)
  • บุญเข้าพรรษา
  • บุญข้าวประดับดิน
  • บุญข้าวสาก
  • บุญออกพรรษา
  • บุญกฐิน
พิธีอาราธนาอัญเชิญพระอุปคุต
พิธีอัญเชิญพระเวสสันดรเข้าเมือง

ปูชณียสถานในอดีต

แผนผังอุโบสถหลังเดิมวัดโพธิ์ธาตุ
  1. อุโบสถหลังเดิม วัดโพธิ์ธาตุ บ้านชุมแพ ตำบลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น อุโบสถหลังเดิมเป็นอาคารคอนกรีตผสมไม้เนื้อแข็งขนาดเล็ก มีพื้นที่พอได้ประกอบพิธีกรรมทำสังฆกรรม ฐานมีความกว้างประมาณ 3 วา และ มีความยาวประมาณ 5 วา มีเสาเป็นคอนกรีต หลังคาทรงไทยสลักจากไม้เป็นรูปใบโพธิ์เรียงอย่างปราณีต มีหลักใบเสมาหินทรายน้อยใหญ่ซ้อนกระจัดการจายเรียงตัวเป็นกลุ่มรอบอุโบสถ ทั้งหมด 6 จุด ไม่แน่ชัดว่ามีพระพุทธรูปประดิษฐานกี่องค์ มีพระพุทธรูปปั้นจากคอนกรีตเสริมเหล็กปางมารวิชัยเป็นพระประธาน ปัจจุบัน ได้นำไปประดิษฐาน ณ หอพระประจำโรงเรียนบ้านชุมแพ ส่วนองค์อื่นๆปัจจุบันนำไปประดิษฐาน ณ โบราณสถานเจดีย์ญาคูหงส์ ตัวอาคารเดิมสุดทำจากไม้เนื้อแข็งชนิดต่างๆ ก่อนจะได้รับการบูรณะปฏิสังขรป์ต่อเติมเสริมแต่งเรื่อยมาในแต่ละยุคแต่ละสมัย มี 2 ประตู 6 หน้าต่าง ทำจากไม้ทั้งสิ้น ก่อสร้างครั้งแรกเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด สันนิฐานว่าเริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่สมัย พระคูหงส์ หงสฺเตโช เป็นเจ้าอาวาสวัด

จากคำบอกเล่าของ ท่านเจ้าคุณพระมงคลธรรมภาณี(พระครูวิบูลสารนิวิฐ)อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ธาตุรูปที่ 17 และ อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอสีชมพู ความว่า "ขณะนั้น ข้าพเจ้าย้ายจากวัดโพธิ์ บ้านโนนทัน ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เนื่องจากได้รับมอบหมายจากหลวงพ่อเจ้าคุณพระเทพวิมลโมลี รองเจ้าคณะภาค 9 ให้มาช่วยงานคณะสงฆ์ในอำเภอชุมแพ โดยได้ถึงวัดโพธิ์ธาตุ ในวันที่ 14 กรกฎาคม 2497 พบว่าอุโบสถหลังเดิมกำลังอยู่ระหว่างการบูรณะ มีการบูรณะยังไม่เสร็จ ได้ดำเนินการบูรณะปฏิสังขรป์ก่อสร้างต่อเติมและซ่อมแซมจนเสร็จสิ้น ได้รับจบประมาณในการก่อสร้างอุโบสถ จากกระทรวงวัฒนธรรม 10000 บาท(หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)และจบประมาณจากเงินบริจาคของชาวบ้าน เมื่อสร้างเสร็จจึงได้ประชุมปรึกษาหารือกันเพื่อทำบุญฉลองสมโภชกำหนดวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2500

และมีกำนันพ่อขุนบุญบาลบำรุงเล่าถึงความสงสัยว่า "โบสถ์วัดโพธิ์ธาตุบ้านเฮาเคยขอดโบสถ์แล้วไป่น้อ ผมสนใจสืบถามผู้เล่าที่เกิดก่อนก็ไม่มีผู้ใดเห็นผู้ใดรู้ พระระดับปกครองคณะสงฆ์ อำเภอภูเวียง ให้ขุดหาใบสีมาลูกนิมิต รอบนอกโบสถ์กะบ่เห็น ถ้าโบสถ์บ่ได้ขอด บวชพระบวชเณรที่ผ่านมาทั่วทุกสารทิศจากหลายบ้านเลาะนี้ที่มาบวชจะเป็นพระเป็นเณรที่สมบูรณ์บ่" ข้าพเจ้าและชาวบ้านจึงประชุมหาลือกันและได้แก้ข้อสงสัย โดยการขุดบือโบสถ์เพื่อค้นหาลูกนิมิต และได้พบลูกนิมิตที่ลงรักปิดทองยังอยู่ในสภาพดี ทุกคนหายสงสัย อุโบสถได้ขอดแล้วและได้ทำพิธีตัดลูกนิมิดลูกเอกที่ได้เตรียมไว้เพิ่มเติมและนำลูกนิมิตที่ขุดพบบรรจุไว้ ณ ที่เดิม

โดยอุโบสถหลังเดิมตั้งอยู่บริเวณลานกว้างอเนกประสงค์ด้านหน้าอุโบสถหลังใหม่ โดยมีเจดีย์โพธิ์ธาตุตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ไม่ทราบแน่ชัดว่าอุโบสถหลังเดิมรื้อออกเมื่อใด แต่เริ่มมีการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่เมื่อ พุทธศักราช 2519 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พุทธศักราช 2526 และ มีงานฉลองสมโภชเมื่อพุทธศักราช 2532

เจดีย์โพธิ์ธาตุ วัดโพธิ์ธาตุ


2. เจดีย์โพธิ์ธาตุ ได้รับการค้นพบครั้งแรกโดยพระญาคูหงส์ หงฺสเตโช ในปีพุทธศักราช 2221 ที่ได้เดินธุดงค์ลัดเลาะมาพบเจดีย์โพธิ์ธาตุ(ธาตุ) มีลักษณะรูปทรงคล้ายใบโพธิ์ ตั้งเด่นเป็นสง่าแลดูงามตายิ่งน่าเคารพเลื่อมใส และ ยังได้ค้นพบโบราณวัตถุต่างๆรอบบริเวณที่ทำให้รู้ว่าที่ตรงนี้แต่เดิมเคยเป็นที่ตั้งวัดและชุมชนโบราณมาก่อน พระญาคูหงส์จึงได้ตั้งชื่อวัดเก่านี้ว่า ”วัดโพธิ์ธาตุ“ (เนื่องจากมีธาตุที่มีลักษณะคล้ายใบโพธิ์และมีต้นโพธิ์ใหญ่) และยังได้พบธาตุอีก 2 องค์ รวมเป็น 3 องค์ (องค์ที่ 1 คือ เจดีย์โพธิ์ธาตุ ปัจจุบันตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอุโบสถ) (องค์ที่ 2 คือ เจดีย์ญาณคูหงส์ ปัจจุบันตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอุโบสถ) (องค์ที่ 3 ปัจจุบันได้ถูกรื้อถอนไปแล้ว โดยรื้อถอนออกตั้งแต่สมัย พระอุปัชฌาจันดา อดีตเจ้าคณะตำบลชุมแพและเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ธาตุ รูปที่ 14 ) ทางทิศตะวันออกของบริเวณวัดมีหนองน้ำขนาดใหญ่ มีลักษณะคล้ายหลุมเกลือตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ น้ำใสและมีบัวขึ้นหนาแน่นปัจจุบันคือ หนองอีเลิง ทางทิศตะวันตกมีลำห้วยขนาดใหญ่ ริมตลิ่งมีต้นไผ่ขึ้นหนาแน่นและมีจระเข้อาศัยชุกชุม ปัจจุบันคือ กุดชุมแพ โดยรอบมีสภาพภูมิประเทศเป็นแบบดอนลูกคลื่นลอนลาด ธรณีสัณฐานเป็นหินทรายในหมวดหินภูกระดึง มีลำน้ำสาขาของลำน้ำเชิญ(เซิน) หลายสายไหลผ่าน เช่น ห้วยกุดชุมแพ ห้วยใหญ่ ห้วยนาน้อย ห้วยกุดเข้ ห้วยอิเบ้า ทางตะวันตกเป้นพื้นที่ลุ่ม เหมาะทำการเกษตร ทิศเหนือมีภูเวียงอุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับการสร้างบ้านแปลงเมือง พระญาคูหงส์จึงได้กลับไปชักชวนญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านออกอพยพมาตั้งบ้านถิ่นฐานใหม่ ณ ที่บริเวณนี้ จึงได้เป็น ”บ้านชุมแพ“ และได้เป็นอำเภอชุมแพในปัจจุบันโดยมี พระญาคูหงส์ หงฺสเตโช เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดโพธิ์ธาตุ

เจดีย์โพธิ์ธาตุ เดิมเป็นธาตุเจดีย์ที่ก่อด้วยหินทรายที่ได้รับอิทธิพลศิลปะล้านช้างแบบเดียวกันกับเจดีย์วัดธาตุบ้านแห่ มีช่องประดิษฐานพระพุทธรูปหินทรายปางนาคปรกภายในตัวธาตุ[3] และ มีช่องสำหรับใส่เครื่องบูชาดอกไม้ธูปเทียนถัดลงมา เจดีย์โพธิ์ธาตุมีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงปราสาทขนาดเล็ก ยอดเป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุม รูปฐานเป็น 4 เหลี่ยม และมีช่องอยู่บนธาตุทั้งหมด 4 ทิศ ต่อมาได้รับการบูรณะปฏิสังขรป์ในปีพุทธศักราช 2528 สมัยพระครูวิบูลสารนิวิฐ (เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ธาตุรูปที่ 17) โดยใช้ศิลปะท้องถิ่นแบบผสมผสานล้านช้าง-รัตนโกสินทร์ โทนสีขาว-ทอง และได้นำพระพุทธรูปไปประดิษฐานที่ช่องทั้ง 4 ทิศ ทิศตะวันออกและทิศใต้ ประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณปรางนาคปรก ทางทิศเหนือประดิษฐานพระพุทธรูปปรางประทานพรและทางทิศตะวันตกประดิษฐานพระพุทธรูปปรางมารวิชัย

ตำนานเรื่องเล่า

-หลวงพ่อพระครูวิบูลสารนิวิฐ อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ธาตุ รูปที่ ๑๗ ได้เขียนไว้ในหนังสือประวัติวัดโพธิ์ธาตุตอนหนึ่งว่าเจดีย์โพธิ์ธาตุ พูดถึงเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านชุมแพทั้งชาววัดมาชั่วกาลนานเล่ากันว่าเวลามีงานบุญที่วัดหรือว่าพระสงฆ์ภายในวัดจะทำอุโบสถสังฆกรรมจะต้องนำดอกไม้ธูปเทียนไปถวายสักการะเสียก่อนถ้าไม่ปฏิบัติเช่นนั้นจะมีอันเป็นไปเกิดขึ้นจนได้

-นายแหม่ว อั้วนา เล่าให้ฟังว่าตนเองเป็นนักเรียนมาเรียนอยู่โรงเรียนวัดโพธิ์ธาตุ ไปค้องกระปอมอยู่บนธาตุ แล้วได้ล้มลงเหมือนมีอะไรมาผลัก

-พ่อนู ทองล้น เล่าให้ฟังว่านายทองน้องเขยบวชอยู่ที่วัดโพธิ์ธาตุไม่ทราบว่าไปทำผิดอะไรต่อธาตุ มีอาการไม่รู้สึกตัวจะวิ่งหนีตาลอยหลายคนช่วยกันจับเอาไว้ก็ไม่อยู่ต้องทำการขอขมาสักการะต่อธาตุจึงจะหาย

{เรื่องที่นำมาเล่าสู่ฟังนี้มิได้มีเจตนาจะให้ผู้ใดเชื่อถืองมงายขาดวิจารณญาณ ขอได้โปรดพิจารณา}


3. โบราณสถานเจดีย์ญาคูหงส์

โบราณสถานเจดีย์ญาคูหงส์


โบราณสถานเจดีย์ญาคูหงษ์ หรือ ธาตุญาคูหงษ์ สันนิฐานว่าเป็นธาตุเก็บอัฐิของ พระญาคูหงส์ หงฺสเตโช ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอุโบสถ มีลักษณะเป็นซากโบราณสถานขนาดเล็กก่ออิฐ ปัจจุบันมีจอมปลวกและต้นไม้ 2 ต้นห่อหุ้มไว้ คือ ต้นตะโก ต้นมะเกลือ และต้นแจ้ง มองเห็นอิฐถือปูนบางส่วน รอบต้นไม้และธาตุมีการก่อรั้วอิฐมอญล้อมรอบไว้ ภายในรั้วอิฐรอบธาตุมีหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ ได้แก่ หลักใบเสมาหินทราย 2 ใบ ใบหนึ่งเป็นเสมายอดสามเหลี่ยม มีสันนูนสูงแนวตั้งตรงกลางแผ่น อีกใบหนึ่งเป็นชิ้นส่วนหลักใบเสมาหินทรายครึ่งใบ นอกจากนี้ยังมีก้อนหินทรงรีและพระพุทธรูปที่สลักจากหินทราย ๒ องค์ รวมทั้งชิ้นส่วนสิ่งก่อสร้างต่างๆที่สร้างขึ้นในสมัยหลัง มีพระพุทธรูป ๓ องค์จากอุโบสถหลังเดิมที่ได้รื้อถอนไปแล้ว และ พระพุทธรูปองค์ใหญ่อีก ๑ องค์ คือ พระพุทธรูปปรางมารวิชัย ที่ปัจจุบันประดิษฐานไว้ ณ โรงเรียนบ้านชุมแพ

ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเรื่องการกำหนดจำนวนโบราณวัตถุสถานสำหรับชาติ เล่มที่ 57 หน้า 2527 วันที่ 22 ตุลาคม พุทธศักราช 2483 สภาพโดยทั่วไปของโบราณสถานเป็นซากของธาตุเจดีย์ก่ออิฐขนาดเล็ก-กลาง ยังไม่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์และศึกษาอย่างจริงจัง ผู้สนใจสามารถเข้าเยี่ยมและสักการะได้ทุกวัน

หลวงพ่อพระครูวิบูลสารนิวิฐ (อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ธาตุ รูปที่ 17) ได้เขียนไว้ในหนังสือประวัติวัดโพธิ์ธาตุตอนหนึ่งว่า ธาตุญาคูหงส์ เป็นสถานที่ที่ชาวชุมแพให้ความเคารพนับถือ เคยมีเรื่องเล่าตอนหนึ่งว่า "อาตมาได้ทราบเหตุแปลกนี้เหมือนกันคือว่าจำ พ.ศ. ไม่ได้ ถึงแต่ช่วงนั้นกำลังก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่อยู่คนงานของนายประสาน จงสำราญ ผู้เป็นช่างสร้างอุโบสถ 3-4 คน พากันมาหาอาตมาที่กุฎิ เวลาค่ำมืดเกือบสองทุ่มในคืนวันหนึ่ง เขาเล่าให้ฟังด้วยความตกใจและตื่นตระหนกว่า มีคางคกตัวหนึ่งไล่ตามเขาอยู่ที่ท่าต้นแจ้ง ถึงสามสี่ตลบหนีไปอยู่มุมใดมันก็ยังตามไป ขึ้นกุฎิมันก็ยังตามไปถึงหัวบันได อาตมาจึงบอกเขาว่า ธาตุต้นแจ้งเป็นธาตุโบราณ ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ มักมีอะไรเกิดปรากฏให้เห็นถ้าใครทำอะไรไม่ชอบไม่ควร นี่พวกเรามาทำงานอย่าเอาเปรียบวัดขอให้ทำตรงไปตรงมา หรือบางทีพวกสูอาจจะมักง่ายถ่ายถ่ายปัสสาวะใกล้ธาตุก็เป็นได้ เอาธูปเทียนไปสักการะเสียพวกเขาก็ปฏิบัติตามด้วยความเชื่อว่าพวกตนทำอะไรไม่สู้จะดีนักเพราะความมักง่าย ถ่ายปัสสาวะที่ต้นกกแจ้ง"

{เรื่องที่นำมาเล่าสู่ฟังนี้มิได้มีเจตนาจะให้ผู้ใดเชื่อถืองมงายขาดวิจารณญาณ ขอได้โปรดพิจารณา}


ศาสนสถานที่สำคัญ

อุโบสถวัดโพธิ์ธาตุ สร้างเมื่อ วันที่ 5 กันยายน 2519
ศาลากาญจนาภิเษก สร้างเมื่อ วันที่ 4 มีนาคม 2539
โบราณสถานเจดีย์ญาคูหงส์ สร้างเมื่อใดไม่ทราบแน่ชัด
กุฏิวิบูลรังสรรค์ สร้างเมื่อ วันที่ 30 กันยายน 2436
ปฏิมากรรมพระพุทธรูปประจำวันเกิด สร้างแล้วเสร็จเมื่อ วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ 2567
เจดีย์โพธิ์ธาตุ (ตอนกลางวัน) บูรณะเมื่อ ปีพุทธศักราช 2528
จดีย์โพธิ์ธาตุ (ตอนกลางคืน) สร้างเมื่อใดไม่ทราบแน่ชัด
อนุสรณ์สถานพระมงคลธรรมภาณี สร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ 2557
หอระฆังใหญ่
ประตูโขลงใหญ่ ฝั่งทิศตะวันออก

อ้างอิง

1. กองพุทธสถาน,กรมการศาสนา. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร หน้าที่ เล่ม 12 ,กรุงเทพฯ : กองพุทธศาสนสถาน กรมการศาสนา, 2526.

2. ประกาศกรมศิลปากร เรื่องกำหนดจำนวนโบราณวัตถุสถานสำหรับชาติ เล่มที่ 57 หน้า 2527 วันที่ 22 ตุลาคม พุทธศักราช 2483

3. วัดในอำเภอชุมแพ หมวดกำหนดจำนวนพุทธสถานภายในอำเภอชุมแพ

4. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

  1. ทะเบียนวัดภาค 9 กรมการศาสนา
  2. วัดศรีมงคล เป็นวัดสาขาของวัดโพธิ์ธาตุ รังวัดพื้นที่ในปี พ.ศ 2567
  3. วัดราษฎ์ในอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
Kembali kehalaman sebelumnya