Share to:

 

วัดโพธิ์บ้านอ้อย

วัดโพธิ์บ้านอ้อย
แผนที่
ชื่อสามัญวัดโพธิ์บ้านอ้อย, วัดลาว
ที่ตั้งหมู่ที่ 4 ซอยสุขาประชาสรรค์ 2 ซอย 35 ถนนสุขาประชาสรรค์ 2 ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระประธานหลวงพ่อโพธิ์นิมิตร
เจ้าอาวาสพระครูโพธินันทวัฒน์ (ประสิทธิ์ ปญฺญาธโร)
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดโพธิ์บ้านอ้อย เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในหมู่ที่ 4 บ้านลาว (โพธิ์บ้านอ้อย) ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ประวัติ

วัดโพธิ์บ้านอ้อยสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2137 เดิมชื่อ วัดลาว ไม่ปรากฏว่าใครเป็นผู้สร้าง แต่สันนิษฐานว่าชาวลาวเป็นผู้สร้างและร้างไปเมื่อครั้งพม่าเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงขับไล่พม่าและสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว วัดนี้จึงมีราษฎรมาบำรุงและมีพระสงฆ์ปกครองเรื่อยมา ต่อมาในสมัยที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ประทานนามวัดให้ใหม่ว่า "วัดโพธิ์บ้านอ้อย" เนื่องจากบริเวณวัดมีความร่มรื่นด้วยร่มเงาของต้นโพธิ์ที่ขึ้นอยู่ในวัด และโดยที่บริเวณใกล้เคียงมีวัดชื่อวัดโพธิ์หลายวัด จึงต้องเพิ่มสร้อยนามให้ชัดเจนว่าเป็นวัดใด สันนิษฐานกันว่าบริเวณบ้านลาวในสมัยนั้นคงมีการปลูกอ้อยกันมาก จึงใช้สร้อยนามวัดว่า "บ้านอ้อย"[1] วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2484[2]

อาคารเสนาสนะ

วัดโพธิ์บ้านอ้อยเดิมตั้งอยู่ที่บริเวณที่เป็นโรงเรียนโพธินิมิตวิทยาคมในปัจจุบัน อุโบสถหลังเดิมยังคงอยู่ในบริเวณโรงเรียน อาคารเสนาสนะในปัจจุบันได้แก่ อุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2499 เป็นอาคารครึ่งไม้ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างเมื่อ พ.ศ. 2499 มีนามว่า หลวงพ่อขาว หรือ หลวงพ่อโพธิ์นิมิตร ศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2522 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงไทยประยุกต์ 2 ชั้น ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างเมื่อ พ.ศ. 2497 หอสวดมนต์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2540 เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ กุฏิสงฆ์ เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้และอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก และศาลาอเนกประสงค์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2540 เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้[3]

อ้างอิง

  1. "วัดโพธิ์บ้านอ้อย". คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด.[ลิงก์เสีย]
  2. "รายงานทะเบียนวัด" (PDF). สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-10-20. สืบค้นเมื่อ 2021-02-19.
  3. "วัดโพธิ์บ้านอ้อย". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.
Kembali kehalaman sebelumnya