วัดไทร (เขตจอมทอง)
วัดไทร เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งที่ 11 หมู่ 2 ถนนเอกชัย แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ใกล้วัดมีตลาดน้ำวัดไทร[1] อดีตเคยเป็นที่ประทับของพระเจ้าเสือเสือหรือพระเจ้าสรรเพ็ชญ์ที่ 8และปัจจุบันยังมีตำหนักให้รับชมอยู่ วัดติดกับคลองสนามชัย เป็นวัดที่เก่าแก่และโด่งดังในเขตจอมทองและแขวงบางขุนเทียน ประวัติวัดไทรเป็นวัดโบราณที่มีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมใช้ชื่อว่า วัดไซ แต่ต่อมาเปลี่ยนมาเป็นวัดไทร เพราะคาดว่าเดิมมีต้นไทรใหญ่อยู่หน้าวัด ได้รับการปฏิสังขรณ์ครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 4 และอีกครั้งหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 ช่วง พ.ศ. 2416 โดยมอบหมายให้ช่างชาวจีนชื่อ จีนเต๋า เป็นผู้ปฏิสังขรณ์ อาคารเสนาสนะอุโบสถของวัดได้ขึ้นชื่อว่าเป็น โบสถ์ 2 สมัย อุโบสถหลังใหม่ประดับประดาด้วยกระเบื้องสีขาวนวล แซมด้วยกระเบื้องสีต่าง ๆ เป็นลวดลาย ส่วนหลังคาเป็นกระเบื้องสีน้ำเงิน ภายในประดิษฐานพระประธาน คือ พระพุทธมงคลอภิปูชนีย์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ด้านซ้ายและขวามีพระสาวกนั่งอยู่ ส่วนอุโบสถสมัยแรกตั้งอยู่ด้านหลังของอุโบสถปัจจุบัน สร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2461 มีลักษณะเรียบง่ายและมีขนาดย่อมกว่าโบสถ์หลังใหม่ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปสลักหินทรายสีแดงปางต่าง ๆ[2] ใกล้อุโบสถหลังเก่า เป็น พระวิหารถาวรสามัคคีธรรม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2531 ด้านในมีรูปปั้นของพระครูถาวรสมณวงศ์ (หลวงปู่อ๋อย) เกจิอาจารย์ที่เชี่ยวชาญด้านยาสักและเล่นแร่แปรธาตุ ด้านขวาวิหารนี้เป็นหอระฆังและหอกลองโบราณ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2539 ภายในวัดมี ตำหนักทองวัดไทร หรือ ตำหนักพระเจ้าเสือ กรอบหน้าต่างมีฐานสิงห์ สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา เชื่อว่า พระเจ้าเสือเสด็จประพาสทางทะเลและได้แวะพักกลางทางบริเวณนี้ ช่วง พ.ศ. 2246–2251 เป็นเรือนไม้ มีงานไม้แกะสลักฝีมือช่างหลวง กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อ พ.ศ. 2505[3] ข้างตำหนักเป็นศาลาท่าเทียบเรือ มีรูปหล่อของ พ่อหลวงขุนเสือ (พระเจ้าเสือ) ระเบียงภาพ
อ้างอิง
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ วัดไทร |