| หน้านี้เป็นแนวปฏิบัติของวิกิพีเดียภาษาไทยอย่างเป็นทางการ
|
|
| สรุปหน้านี้: จะใช้เนื้อหาไม่เสรีในบทความได้ก็ต่อเมื่อ
- ถือเป็นการใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบตามความในกฎหมายลิขสิทธิ์สหรัฐ และยังสอดคล้องกับหลักเกณฑ์วิกิพีเดียว่าด้วยเนื้อหาไม่เสรี
- เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ใด ๆ ที่ไม่อาจใช้เนื้อหาเสรี (ไม่ว่าเป็นข้อความหรือภาพ และไม่ว่ามีอยู่แล้วหรือจะสร้างขึ้นใหม่) มาทำให้บรรลุผลได้ และ
- มีเหตุผลเพียงพอซึ่งแสดงสาเหตุที่การใช้เนื้อหาไม่เสรีนั้นเป็นการใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ ตามนโยบายวิกิพีเดียและกฎหมายสหรัฐ
|
เป้าหมายของวิกิพีเดีย คือ สร้างสารานุกรมที่มีเนื้อหาเสรี คำว่า "เนื้อหาเสรี" หมายความว่า เนื้อหาที่ไม่มีข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์เกี่ยวกับสิทธิที่จะแจกจ่าย ศึกษา ดัดแปลง และพัฒนา หรือใช้งานโดยประการอื่น ไม่ว่าเพื่อวัตถุประสงค์ใด หรือในสื่อรูปแบบใด แม้เป็นไปในเชิงพาณิชย์ก็ตาม เนื้อหาใดที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์เหล่านี้เรียกว่า ไม่เสรี (non-free) เนื้อหาไม่เสรีนี้ได้แก่บรรดาเนื้อหา (ตลอดจนภาพ) ที่ทุกส่วนล้วนมีลิขสิทธิ์ หรือที่เปิดให้เข้าถึงได้โดยมีข้อจำกัดบางประการ เช่น "ห้ามใช้ในเชิงพาณิชย์" หรือ "สำหรับใช้ในวิกิพีเดียเท่านั้น" (ภาพหลายภาพที่ตามปรกติแล้วเข้าถึงได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายจึงอาจยัง "ไม่เสรี" สำหรับวัตถุประสงค์ของวิกิพีเดีย) มูลนิธิวิกิมีเดียถือนิยามคำว่า "เสรี" ดังอธิบายไว้ตามนี้
แม้นโยบายสัญญาอนุญาตของมูลนิธิวิกิมีเดียคาดหวังให้เนื้อหาทั้งหมดในโครงการวิกิมีเดียเป็นเนื้อหาเสรี แต่ก็มีข้อยกเว้น นโยบายดังกล่าวเปิดให้โครงการต่าง ๆ (ยกเว้น วิกิมีเดียคอมมอนส์) สามารถใช้ นโยบายหลักการยกเว้น ที่ยอมให้ใช้เนื้อหาไม่เสรีได้ เนื้อหาไม่เสรีควรนำมาใช้ให้น้อยที่สุดและเฉพาะเพื่อแสดงเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ เพื่อรวมงานที่คุ้มครองเอาไว้ เช่น โลโก้ หรือเพื่อเสริมบทความเกี่ยวกับงานร่วมสมัยที่มีลิขสิทธิ์ (โดยต้องอยู่ในวงจำกัดอย่างแคบ ๆ) ทั้งนี้ ยกเว้นกรณีที่อนุญาตไว้เป็นอื่น แต่เนื้อหาไม่เสรีนั้นไม่ควรนำมาใช้เมื่อเป็นที่คาดหมายได้อย่างสมเหตุสมผลว่า จะมีการอัปโหลดไฟล์ที่อนุญาตให้ใช้ได้อย่างเสรีซึ่งสนองวัตถุประสงค์อย่างเดียวกันขึ้นมา ดังที่มักเกิดแก่กรณีภาพเหมือนของบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่เกือบทั้งหมด และถ้ามีเนื้อหาเสรีแล้ว ก็ควรนำมาใช้แทนเนื้อหาไม่เสรี
เอกสารนี้เป็น นโยบายหลักการยกเว้น ของวิกิพีเดียภาษาไทย เนื้อหาไม่เสรีสามารถใช้ในวิกิพีเดียได้ในบางกรณี (เช่น ในบางสถานการณ์ที่ไม่อาจหาภาพซึ่งอนุญาตให้ใช้ได้โดยเสรีสำหรับหัวเรื่องหนึ่ง ๆ ได้เลย) แต่ต้องอยู่ภายในหลักกฎหมายสหรัฐอเมริกาว่าด้วยการใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ ("ใช้งานโดยชอบ") และสอดคล้องกับหลักเกณฑ์วิกิพีเดียเรื่องเนื้อหาไม่เสรีดังที่ระบุไว้ข้างล่างนี้ด้วย ฉะนั้น การใช้เนื้อหาไม่เสรีในวิกิพีเดียจึงจงใจให้อยู่ในบังคับของมาตรฐานที่เข้มงวดกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายลิขสิทธิ์สหรัฐอเมริกา
นโยบาย
| หน้านี้เป็นนโยบายของวิกิพีเดียภาษาไทยเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางซึ่งปกติผู้ใช้ทุกคนควรถือปฏิบัติ การปรับแก้นโยบายควรสะท้อน ความเห็นพ้อง |
รวมมาจาก วิกิพีเดีย:เงื่อนไขสำหรับเนื้อหาไม่เสรี นี่เป็นส่วนหนึ่งของหน้ารุ่นปัจจุบันที่เป็นนโยบายอย่างเป็นทางการ
หลักการและเหตุผล
- เพื่อรองรับภารกิจของวิกิพีเดียที่จะผลิตเนื้อหาเสรีอย่างยั่งยืนซึ่งผู้ใช้ทุกคนสามารถเผยแพร่ ดัดแปลง และประยุกต์ใช้ในสื่อทุกประเภทได้โดยไร้ขีดจำกัด
- เพื่อลดความเสี่ยงทางกฎหมาย ด้วยการจำกัดจำนวนเนื้อหาไม่เสรีโดยใช้หลักเกณฑ์อันเคร่งครัดกว่าที่ใช้ตามบทบัญญัติว่าด้วยการใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นของกฎหมายลิขสิทธิ์สหรัฐอเมริกา
- เพื่ออำนวยความสะดวกแก่การนำเนื้อหาไม่เสรีไปใช้อย่างรอบคอบในการสนับสนุนการพัฒนาสารานุกรมที่มีคุณภาพสูง
นโยบาย
ไม่มีการให้สิทธิ์โดยอัตโนมัติเพื่อใช้เนื้อหาไม่เสรีในบทความหรือหน้าอื่นบนวิกิพีเดีย ตามแนวปฏิบัติของวิกิพีเดียบทความและหน้าอื่นใดอาจใช้ข้อความที่ตัดตอนบางส่วนอย่างคำต่อคำจากสื่อที่มีลิขสิทธิ์ โดยอ้างอิงหรือกล่าวอ้างไปยังแหล่งข้อมูลต้นฉบับหรือผู้แต่งอย่างเหมาะสม และแสดงคำกล่าวในทางตรงด้วยอัญประกาศ <blockquote> หรือวิธีการอื่นที่คล้ายกันโดยเฉพาะ ส่วนเนื้อหาไม่เสรีอื่น อาทิรูปภาพ คลิปเสียง และคลิปวิดีโอที่มีลิขสิทธิ์ และไฟล์สื่ออื่นที่ขาดสัญญาอนุญาตเนื้อหาเสรี อาจสามารถใช้บนวิกิพีเดียภาษาไทยได้ถ้าเข้าเกณฑ์ทั้งหมดสิบข้อดังต่อไปนี้
- ไม่มีเนื้อหาเสรีทดแทนได้ จะใช้เนื้อหาไม่เสรีเฉพาะเมื่อไม่อาจหาหรือสร้างเนื้อหาเทียบเท่าเสรีเพื่อวัตถุประสงค์ทางสารานุกรมอย่างเดียวกันได้
- เคารพต่อโอกาสเชิงพาณิชย์ ไม่ใช้เนื้อหาเสรีในทางที่น่าจะทดแทนบทบาททางการค้าดั้งเดิมของสื่ออันมีลิขสิทธิ์ต้นฉบับ
- การใช้งานน้อยที่สุด:
- การใช้จำนวนน้อยที่สุด จะไม่ใช้เนื้อหาไม่เสรีหลายรายการหากเพียงรายการเดียวก็สามารถถ่ายทอดสารสนเทศที่สำคัญได้เท่ากัน
- ขอบเขตแห่งการใช้งานน้อยที่สุด จะไม่ใช้ผลงานทั้งชิ้นถ้าเพียงส่วนเดียวก็เพียงพอ ให้ใช้เนื้อหาคุณภาพ/ความเที่ยงตรง/อัตราบิตที่ต่ำ แทนที่จะใช้เนื้อหาคุณภาพ/ความเที่ยงตรง/อัตราบิตที่สูง (โดยเฉพาะในกรณีที่การใช้สื่อต้นฉบับอาจถือเป็นการจงใจละเมิดลิขสิทธิ์) เกณฑ์ข้อนี้มีผลบังคับรวมถึงเนมสเปซ ไฟล์: อีกด้วย
- เคยเผยแพร่มาก่อนแล้ว เนื้อหาไม่เสรีต้องเคยมีการเผยแพร่หรือจัดแสดงต่อสาธารณชนภายนอกวิกิพีเดียมาก่อนโดยผู้ทรงลิขสิทธิ์ หรือได้รับอนุญาตจากผู้นั้น หรือเป็นงานดัดแปลงที่ผู้ใช้วิกิพีเดียสร้างขึ้น
- เนื้อหา เนื้อหาไม่เสรีต้องเข้ากันได้กับมาตรฐานเนื้อหาทั่วไปของวิกิพีเดียและเป็นสารานุกรม
- สอดคล้องกับนโยบายเฉพาะสื่อ เนื้อหาไม่เสรีต้องเข้ากับนโยบายของสื่อประเภทนั้นในวิกิพีเดีย ตัวอย่างเช่น ภาพจะต้องเข้ากับนโยบายการใช้ภาพ
- ใช้อย่างน้อยในหนึ่งบทความ เนื้อหาไม่เสรีดังกล่าวต้องมีใช้ในบทความอย่างน้อยหนึ่งบทความ
- มีนัยสำคัญตามบริบท ใช้เนื้อหาไม่เสรีต่อเมื่อการแสดงเนื้อหาดังกล่าวช่วยเพิ่มความเข้าใจอย่างมีนัยสำคัญให้กับผู้อ่านเกี่ยวกับหัวข้อนั้น และการละเนื้อหาดังกล่าวจะทำให้ความเข้าใจลดด้อยถอยลง
- จำกัดตำแหน่งที่อยู่ อนุญาตให้ใช้เนื้อหาไม่เสรีเฉพาะในบทความต่าง ๆ (ที่ไม่ใช่หน้าแก้ความกำกวม) และเฉพาะเนมสเปซบทความเท่านั้น เว้นแต่เข้าข่ายข้อยกเว้น (ได้แก่หน้าต่าง ๆ นอกเนมสเปซบทความที่สำคัญต่อการสร้างหรือการจัดการสารานุกรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าที่ใช้สำหรับจัดการกับเนื้อหาไม่เสรีที่เป็นปัญหา)
- เพื่อป้องกันมิให้หมวดหมู่รูปภาพแสดงรูปขนาดย่อ ให้เพิ่ม __NOGALLERY__ ลงไปในหน้าหมวดหมู่ และเมื่อเนื้อหาไม่เสรีเป็นหัวข้อของการอภิปราย ให้ใส่ลิงก์เชื่อมโยงแทนการใส่รูปภาพ คลิปเสียง คลิปวิดีโอ และสื่ออื่นโดยตรงในเนื้อความ
- มีคำอธิบายสื่อ หน้าคำอธิบายรูปภาพ คลิปเสียง คลิปวิดีโอ และสื่ออื่น ต้องมีส่วนประกอบต่อไปนี้
- แหล่งที่มาของสื่ออันมีลิขสิทธิ์ หากเป็นไปได้ให้เพิ่มเติมด้วยสารสนเทศเกี่ยวกับศิลปิน ผู้จัดพิมพ์/ผู้เผยแพร่ และผู้ถือลิขสิทธิ์ ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยประเมินมูลค่าตลาดของสื่ออันมีลิขสิทธิ์ที่นำมาใช้
- ป้ายระบุสถานะลิขสิทธิ์ที่แสดงว่า ข้อกำหนดนโยบายวิกิพีเดียยอมให้ใช้งานได้ สำหรับรายชื่อป้ายระบุสถานะลิขสิทธิ์ต่าง ๆ ดูได้ที่ วิกิพีเดีย:ป้ายระบุสถานะลิขสิทธิ์ของไฟล์#ป้ายสัญญาอนุญาตการใช้งานโดยชอบธรรม
- ชื่อบทความแต่ละบทความที่อ้างสิทธิการใช้งานโดยชอบธรรมของสื่อนั้น (แนะนำให้ทำลิงก์เชื่อมโยงด้วย) และเหตุผลของการใช้งานแบบไม่เสรีโดยแยกอธิบายแต่ละบทความโดยเฉพาะ เหตุผลของการใช้งานต้องเขียนด้วยภาษาธรรมดาและชัดเจน และเกี่ยวเนื่องกับการใช้แต่ละประการ
การบังคับใช้
- ไฟล์ที่ระบุเหตุผลของการใช้งานสำหรับอย่างถูกต้องสำหรับบางบทความ (แต่ไม่ใช่ทุกบทความ) จะไม่ถูกลบ แต่หากไฟล์ไม่ได้แสดงเหตุผลในการใช้งานที่เหมาะสม ให้เพิ่มเหตุผลลงไป หรือนำไฟล์ออกจากบทความที่ขาดเหตุผลของการใช้งานนั้น ๆ
- ไฟล์ที่อ้างสิทธิการใช้แบบไม่เสรีที่ไม่มีการใช้งานในบทความใด (เกณฑ์ข้อ 7) อาจถูกลบหลังมีการแจ้งเตือนแล้วเจ็ดวัน
- ไฟล์ที่ถูกใช้ในบทความและอัปโหลดหลังจากวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งไม่เข้ากับนโยบายนี้ จะถูกลบ หลังจากการแจ้งเตือนผู้อัปโหลดแล้ว 48 ชั่วโมง เพื่อหลีกเลี่ยงการลบไฟล์ ให้ผู้อัปโหลดหรือชาววิกิพีเดียคนอื่นแสดงเหตุแห่งการใช้งานแบบไม่เสรีซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์ข้างต้นทั้งสิบข้อให้ชัดเจน สำหรับไฟล์ที่ถูกใช้ในบทความและอัปโหลดก่อนหน้าวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 กำหนดการลบจะขยายเป็นเจ็ดวันแทน
- โปรดทราบว่า เป็นหน้าที่ของผู้ใช้ที่ต้องการนำเข้าหรือคงไว้ซึ่งเนื้อหาในการอธิบายเหตุผลของการใช้งานที่ถูกต้อง ผู้ใช้ที่นำออกหรือลบออกซึ่งเนื้อหาไม่มีหน้าที่ดังกล่าว
เกณฑ์การลบเนื้อหาไม่เสรีถูกกำหนดไว้แล้วใน วิกิพีเดีย:เงื่อนไขสำหรับการลบทันที
การนำไปปฏิบัติ
การนำเกณฑ์เนื้อหาไม่เสรีไปปฏิบัตินั้นทำได้โดยการมีสองส่วนจำเพาะในหน้าคำอธิบายของสื่อไม่เสรี คือ
- แม่แบบสัญญาอนุญาตลิขสิทธิ์
- แม่แบบสัญญาอนุญาตลิขสิทธิ์เป็นการระบุประเภทของลิขสิทธิ์ซึ่งงานต้นฉบับนั้นอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาต แม่แบบดังกล่าวจำเป็นเพื่อแสดงว่าภาพนั้นเป็นไปตามกฎหมายการใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบของสหรัฐอเมริกา
คุณสามารถดูแม่แบบสัญญาอนุญาตลิขสิทธิ์เหล่านี้ได้ที่ วิกิพีเดีย:ป้ายระบุสถานะลิขสิทธิ์ของไฟล์#ป้ายสัญญาอนุญาตการใช้งานโดยชอบธรรม
- คำชี้แจงเหตุผลไม่เสรี
- คำชี้แจงเหตุผลการใช้เนื้อหาไม่เสรีนั้นจำเป็นต่อการแสดงว่าเป็นไปตามเกณฑ์เนื้อหาไม่เสรี คำชี้แจงเหตุผลควรระบุอย่างชัดเจนและครอบคลุมเงื่อนไขสำหรับเนื้อหาที่ใช้งานโดยชอบธรรมทั้งสิบข้อ มีแม่แบบที่สร้างคำชี้แจงเหล่านี้อยู่ ได้แก่
คุณไม่จำเป็นต้องใช้แบบตามแม่แบบเหล่านี้ แต่แบบที่คุณใช้จำเป็นต้องชี้แจงเงื่อนไขสำหรับเนื้อหาที่ใช้งานโดยชอบธรรมทั้ง 10 ข้ออย่างชัดเจน
สำคัญที่จะระลึกว่าคำชี้แจงเหตุผลไม่เสรีจำเป็นต่อการใช้งานทุกครั้งบนวิกิพีเดีย หากภาพนั้นถูกใช้ในสองบทความแยกกัน ก็จำเป็นต้องมีคำชี้แจงเหตุผลแยกกัน คำชี้แจงเหตุผลหนึ่งใช้ได้กับการใช้งานหนึ่งเท่านั้น
ทั้งสัญญาอนุญาตและคำชี้แจงเหตุผลจำเป็นต้องรวมอยู่ในหน้าคำอธิบายสื่อไม่เสรี เครื่องมืออัปโหลดมาตรฐานของวิกิพีเดียจะถามคำถามคุณเพียงพอระหว่างกระบวนการที่จะกรอกทั้งสัญญาอนุญาตและคำชี้แจงเหตุผลให้คุณ ฉะนั้นจึงทำให้กระบวนการง่ายขึ้น หากคุณเพิ่มสัญญาอนุญาตและคำชี้แจงเหตุผลด้วยตนเอง ไม่ว่าจะใช้แม่แบบช่วยหรือไม่ก็ตาม แนะนำให้คุณกรอกคำชี้แจงเหตุผลและสัญญาอนุญาตภายใต้ส่วน "คำชี้แจงเหตุผล" (หรือ "คำอธิบายโดยย่อ") และ "สัญญาอนุญาต" ตามลำดับ
หากไม่เพิ่มแม่แบบสัญญาอนุญาตหรือคำชี้แจงเหตุผลที่ระบุแต่ละบทความที่ไฟล์สื่อถูกใช้อย่างชัดเจน จะทำให้ไฟล์สื่อนั้นถูกลบภายใน 7 วันหลังมีการติดป้ายระบุข้อความเตือน
เกณฑ์ "ไม่มีไฟล์เสรีทดแทน"
ไม่สามารถใช้เนื้อหาไม่เสรีในกรณีที่มีหรือสามารถสร้างเนื้อหาเสรีเทียบเท่า ที่มีคุณภาพยอมรับได้เพียงพอใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางสารานุกรม ก่อนเพิ่มเนื้อหาไม่เสรี ให้ถามตนเองก่อนว่า
- "เนื้อหาไม่เสรีนี้สามารถใข้ฉบับเสรีที่มีผลเดียวกันแทนได้หรือไม่" และ
- "เรื่องนี้สามารถถ่ายทอดอย่างเหมาะสมได้ด้วยข้อความมีแหล่งที่มาเหมาะสมโดยไม่ต้องใช้เนื้อหาไม่เสรีเลยได้หรือไม่"
หากคำตอบข้อใดข้อหนึ่งคือ "ใช่" เนื้อหาไม่เสรีนั้นอาจไม่เข้ากับเกณฑ์นี้
เกณฑ์ "การใช้น้อยที่สุด"
จำนวนรายการ
บทความถูกจัดโครงสร้างและอธิบายเป็นคำเพื่อลดการรวมเนื้อหาไม่เสรีทั้งหมดในวิกิพีเดียลงให้น้อยที่สุด ทุกที่ตามสมควร
ตัวอย่างเช่น การตัดตอนงานศิลปะสำคัญ ซึ่งโดดเด่นทั้งการผลิตและสมรรถภาพ โดยปกติรวมอยู่เฉพาะในบทความเกี่ยวกับงานนั้น ซึ่งจะถูกอ้างอิงในบทความเกี่ยวกับผู้แสดงและผู้ผลิตอีกต่อหนึ่ง (เมื่อผู้แสดงและผู้ผลิตเหล่านั้นสำคัญพอที่จะมีบทความของตนเอง)
รายการเนื้อหาไม่เสรีที่ถ่ายทอดความเข้าใจอย่างสำคัญหลายจุดภายในหัวข้อหนึ่ง ถูกใช้มากกว่าสื่อไม่เสรีหลายรายการซึ่งสื่อความเข้าใจน้อยกว่า หลักนี้ไม่ขึ้นกับว่าหัวข้อนั้นครอบคลุมบทความเดียวหรือแบ่งกันหลายบทความ
ตัวอย่างเช่น ในบทความกลุ่มนักดนตรี ควรใช้ภาพไม่เสรีภาพเดียวเพื่อระบุกลุ่มนักดนตรีนั้น ดีกว่าใช้ภาพไม่เสรีหลายภาพที่เป็นภาพสมาชิกคนเดียวของกลุ่มนักดนตรีนั้น แม้ว่าบทความจะแยกกันด้วยบทความย่อยของส่วนสมาชิกแต่ละคนในหัวข้อใหญ่ อย่างไรก็ดี สังเกตว่าบทความครอบคลุมกิจกรรมที่โดดเด่นของสมาชิกกลุ่มนักดนตรีนอกเหนือไปจากกิจกรรมของกลุ่มนักดนตรีนั้นมักถูกพิจารณาเป็นหัวข้อแยกต่างหาก
ความละเอียดต่ำ
ควรปรับขนาดภาพให้เล็กที่สุดเท่าที่เป็นไปได้โดยยังมีประโยชน์ตามที่คำชี้แจงเหตุผลระบุไว้ ไม่ใหญ่ไปกว่านั้น
ปกติความจำเป็นของภาพโดยทั่วไปใช้เพียงภาพไม่ใหญ่เกินประมาณ 100,000 พิกเซล ซึ่งเท่ากับมิติกว้างคูณยาวของภาพ ตัวอย่างเช่น ภาพที่มีอัตราส่วน 4:3 ให้แสดงที่ 320 × 240 (พบทั่วไปสำหรับสกรีนช็อตจากโทรทัศน์ ภาพยนตร์และวิดีโอเกม) ส่วนศิลปะปกทั่วไปแสดงที่ 250 × 400 พิกเซล ในการปรับขนาดของภาพลงเหลือจำนวนพิกเซลตามที่ระบุ ให้ใช้สูตรนี้
หรือใช้เครื่องมือนี้คำนวณให้ก็ได้
เกณฑ์ "เคารพต่อโอกาสเชิงพาณิชย์"
เพื่อเป็นการเคารพต่อโอกาสเชิงพาณิชย์ของผู้สร้างสรรค์หรือผู้เผยแพร่ ขอให้ผู้ขออัปโหลด และผู้อัปโหลด ปฏิบัติดังนี้
- งดการอัปโหลดไฟล์จากแหล่งอื่น (เช่น เว็บบอร์ด กระทู้ บล็อก) ถ้าทราบแหล่งที่มาต้นทาง
- ต้องระบุชื่อผู้สร้างสรรค์ผลงาน และ/หรือ ผู้เผยแพร่ผลงานรายแรก (ถ้าทราบ) ด้วยทุกครั้ง
- การเสาะหาและตรวจสอบสารสนเทศเกี่ยวกับผู้สร้างสรรค์ผลงาน ผู้เผยแพร่ผลงานคนแรก หรือแหล่งที่มาต้นทาง ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ใช้ซึ่งเสนอให้ผู้อัปโหลดดำเนินการแทนตน และผู้อัปโหลด
การใช้งาน
ตัวอย่างการใช้ที่ยอมรับได้
คลิปเสียง
ไฟล์เสียงไม่เสรีทั้งหมดจะต้องเข้ากับเกณฑ์เนื้อหาไม่เสรี ต่อไปนี้เป็นกรณีทั่วไปที่สามารถใช้ตัวอย่างเสียงไม่เสรีได้
- คลิปดนตรีที่ใช้เพื่อระบุลีลาดนตรี กลุ่มหรืองานดนตรีอันเป็นสัญรูปเมื่อใช้ประกอบคำบรรยายที่มีแหล่งอ้างอิงอย่างเหมาะสมและแสดงที่มาผู้ทรงลิขสิทธิ์ ปกติตัวอย่างไม่ควรมีความยาวเกิน 30 วินาทีหรือ 10% ของความยาวเพลงเดิม แล้วแต่ว่าอย่างไหนสั้นกว่า
- คลิปเสียงพูดหรือเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ เช่น สุนทรพจน์ของบุคคลสาธารณะ อาจใช้ประกอบคำบรรยายที่มีแหล่งอ้างอิงอย่างเหมาะสม และแสดงที่มาผู้พูดหรือผู้ประพันธ์
ภาพ
- ภาพปกหนังสือ โปสเตอร์ ใบปิดภาพยนตร์ ปกอัลบั้ม
- ตราสัญลักษณ์ของหน่วยงาน
- สื่อส่งเสริมต่าง ๆ เช่น โปสเตอร์ บิลบอร์ด โฆษณา
- ภาพเครื่องหมายการค้า ตราอาร์ม
- ภาพแสตมป์ ธนบัตร เหรียญ ของหน่วยเงินต่าง ๆ
- ภาพหน้าจอวิดีทัศน์
- ภาพหน้าจอแสดงการทำงานของซอฟต์แวร์
- ภาพจิตรกรรมหรือทัศนศิลป์อื่น
- ภาพเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์หรือเป็นสัญรูป (iconic)
- ภาพของบุคคลที่เสียชีวิตแล้ว ในบทความเกี่ยวกับบุคคลนั้น หากว่าไม่น่าหาไฟล์เสรีใกล้เคียงทดแทนได้อย่างสมเหตุสมผล
ทั้งนี้ เพื่อใช้ประกอบคำบรรยายเชิงวิจารณ์ในภาพนั้น สำหรับภาพเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์อาจไม่ต้องใช้ประกอบคำบรรยายเกี่ยวกับภาพนั้นโดยตรงก็ได้ แต่ต้องครบตามเกณฑ์เนื้อหาไม่เสรี โดยเฉพาะข้อที่ว่าด้วยไม่มีทางเลือกเสรี เคารพโอกาสเชิงพาณิชย์และมีความสำคัญในบริบท
ส่วนที่นำไปใช้
- เนื้อหาไม่เสรีมีความมุ่งประสงค์ใช้ในหน้าบทความเป็นหลัก
- เนื้อหาไม่เสรีที่ใช้ในหน้าโครงการ หรือหน้าสถานีย่อย เป็นเนื้อหาที่มีในบทความอยู่เดิม ไม่ได้อัปโหลดมาเพื่อตกแต่งหน้าโครงการหรือสถานีย่อยโดยเฉพาะ
- เนื้อหาไม่เสรีที่ใช้ในแม่แบบ ใช้ไม่เกิน 1 ภาพต่อ 1 แม่แบบ ซึ่งภาพนั้นเป็นภาพที่มีในบทความอยู่เดิม ไม่ได้อัปโหลดมาเพื่อตกแต่งแม่แบบโดยเฉพาะ (ทั้งนี้ หากภาพใดใช้ในแม่แบบต้องระบุหน้าที่ใช้ด้วยทุกหน้า)
- ห้ามใช้เนื้อหาไม่เสรีในหน้าหลักของวิกิพีเดียภาษาไทย
- ห้ามใช้เนื้อหาไม่เสรีในหน้าผู้ใช้ หน้าพูดคุยของผู้ใช้ หรือหน้าย่อยของผู้ใช้ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม
การใช้ที่ยอมรับไม่ได้
- ภาพของบุคคลที่ยังมีชีวิต กลุ่มที่ยังเปิดทำการอยู่ และอาคารที่ยังตั้งอยู่ ในกรณีที่การถ่ายภาพเสรีใหม่ทดแทน (ซึ่งถือว่าเป็นไปได้) จะบรรลุความมุ่งหมายทางสารานุกรมเดียวกันได้ดุจภาพไม่เสรี ทั้งนี้ รวมทั้งภาพส่งเสริมไม่เสรีด้วย
เมื่อพิจารณาเรื่องความสามารถถ่ายภาพเสรี คาดหมายว่าผู้ถ่ายภาพจะเคารพกฎหมายและข้อจำกัดด้านกรรมสิทธิ์และภาวะเฉพาะส่วนตัวทุกแห่ง ตัวอย่างเช่น ย่อมคาดหมายให้มีภาพถ่ายเสรีของสิ่งปลูกสร้างในกรรมสิทธิ์เอกชนที่เข้าถึงไม่ได้และมองไม่เห็นจากที่สาธารณะไม่ได้
- ไฟล์ไม่เสรีที่เพิ่มในบทความ เจตนาตกแต่งบทความ โดยแต่ละไฟล์ไม่ได้อธิบายเนื้อหาเพิ่มเติม
- ไฟล์ไม่เสรีในลักษณะแกลลอรีภาพ
- ไฟล์ไม่เสรีที่ไม่ได้อธิบายส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความ ไม่ทำให้บทความเป็นประโยชน์มากขึ้น
- ภาพของดอกกุหลาบที่คัดมาจากปกอัลบั้ม เพื่อใช้ในบทความดอกกุหลาบ
- แผนที่ที่สแกนมาหรือสืบต้นตอว่ามาจากเอกสารไม่เสรีเพื่อใช้แสดงภูมิภาคนั้น ๆ ทั้งนี้ การใช้อาจเหมาะสมหากตัวแผนที่เองเป็นสิ่งที่ต้องบรรยายในบทความ
- ภาพถ่ายจากสำนักสื่อหรือสำนักภาพถ่าย (เช่น เอพีหรือเกตตีอิมิจิส) ยกเว้นภาพถ่ายนั้นมีคำบรรยายมีแหล่งที่มาในบทความ
- ภาพการ์ดสะสมเพื่อใช้ในบทความเกี่ยวกับบุคคลที่อยู่ในการ์ดนั้น ยกเว้นใช้อธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับการ์ดสะสมนั้นเอง
- ภาพปกนิตยสารหรือหนังสือ เพื่อใช้แสดงบุคคลที่ปรากฏอยู่บนปก ยกเว้นปกนั้นมีการอภิปรายโดยมีแหล่งที่มา
- ภาพที่ไม่ทราบบ่อเกิดหรือไม่สามารถพิสูจน์ยืนยันได้ ทั้งนี้ ยกเว้นภาพประวัติศาสตร์ซึ่งมีเฉพาะแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ ส่วนบ่อเกิดแท้จริงนั้นไม่ทราบแน่ชัด
- แผนภูมิหรือกราฟ ซึ่งสามารถดึงข้อมูลดั้งเดิมมาสร้างใหม่ได้เอง
- ภาพศิลปะของเกมกระดานหรือเกมไพ่ที่สามารถสร้างใหม่ได้เอง
- ภาพถ่ายพาณิชย์ที่สร้างใหม่ในความละเอียดสูงจนอาจรบกวนความสามารถของผู้ทรงลิขสิทธิ์ในการได้รับกำไรจากงาน
- ภาพของผลิตภัณฑ์ที่วางขายแล้วที่ผู้ผลิตเผยแพร่ หากผลิตภัณฑ์นั้นมีวางขายหรือจัดแสดงในที่สาธารณะจนสามารถถ่ายภาพถ่ายเสรีได้
- ภาพตราสัญลักษณ์ของบริษัทหรือองค์การแม่ในบทความบริษัทหรือองค์การลูก เมื่อบริษัทหรือองค์การลูกยังไม่มีตราสัญลักษณ์ของตนเอง
ดูเพิ่ม