Share to:

 

วิถีเมแทบอลิซึม

ในทางชีวเคมี วิถีเมแทบอลิซึม (อังกฤษ: metabolic pathway) คือ ปฏิกิริยาเคมีในสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องกันเป็นลำดับขั้นตอน ในแต่ละวิถี สารเคมีหลักจะเกิดปฏิกิริยาเคมีและเปลี่ยนไปเป็นสารอื่น โดยมีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา และมักต้องอาศัยแร่ธาตุ วิตามินและโคแฟกเตอร์อื่น ๆ จึงจะดำเนินไปอย่างเหมาะสม เพราะมีสารเคมีจำนวนมาก ("เมแทบอไลต์") เข้ามาเกี่ยวข้อง วิถีเมแทบอลิซึมจึงอาจค่อนข้างซับซ้อน ยิ่งไปกว่านั้น วิถีซึ่งแตกต่างกันจำนวนมากเกิดร่วมกันในเซลล์ หมู่วิถีนี้เรียกว่า เครือข่ายเมแทบอลิซึม วิถีเมแทบอลิซึมสำคัญต่อการรักษาภาวะธำรงดุล (homeostasis) ในสิ่งมีชีวิต วิถีแคแทบอลิซึมและแอแนบอลิซึมมักทำงานพึ่งพาอาศัยกันเพื่อสร้างโมเลกุลชีวภาพใหม่เป็นผลิตภัณฑ์สุดท้าย

วิถีเมแทบอลิซึมเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสารตั้งต้นทีละขั้นเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ ผลิตภัณฑ์ที่ได้มานั้นสามารถนำไปใช้ได้สามทาง คือ

  • นำไปใช้ทันที
  • เป็นสารตั้งต้นในวิถีเมแทบอลิซึมอื่น เรียกว่า flux generating step
  • เซลล์นำไปเก็บสะสมไว้

โมเลกุลที่เป็นสารตั้งต้นเข้าสู่วิถีเมแทบอลิซึมขึ้นอยู่กับความต้องการของเซลล์และการพร้อมใช้งานของสารตั้งต้น การเพิ่มความเข้มข้นของสารตัวกลางแอแนบอลิซึมและแคแทบอลิซึม และ/หรือ ผลิตภัณฑ์อาจส่งผลต่ออัตราเมแทบอลิซึมในแต่ละวิถีนั้น ๆ

ทั่วไป

วิถีเมแทบอลิซึมส่วนใหญ่จะมีคุณสมบัติทั่วไปดังนี้

รายการวิถีเมแทบอลิซึม

การหายใจระดับเซลล์

เป็นวิถีเมแทบอลิซึมที่เกิดในเซลล์จะเป็นไปเพื่อสลายโมเลกุลพลังงาน (fuel molecule) ไปเป็น ATP เพื่อนำพลังงานไปใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ของเซลล์

  1. ไกลโคไลสิส (glycolysis)
  2. การหายใจแบบไม่ใช้อากาศ (anaerobic respiration)
  3. วัฏจักรเครปส์ (Krebs cycle)
  4. ปฏิกิริยาออกซิเดทีฟฟอสโฟรีเลชัน (Oxidative phosphorylation)

วิถีอื่นที่เกิดในสิ่งมีชีวิตมีดังนี้:

การสร้างสารประกอบพลังงานจากสสารที่ไม่มีชีวิต:

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น


Kembali kehalaman sebelumnya