Share to:

 

วิศวกรรมสำรวจ

วิศวกรรมสำรวจ อังกฤษ: Survey Engineering เป็นศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจ บันทึก ประมวลผล วิเคราะห์ เผยแพร่ และ การใช้งานสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นเชิงภูมิศาสตร์ (ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบนผิวโลก) อวกาศ และใต้ดิน วิศวกรรมสำรวจประกอบด้วยสาขาวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกันเพื่อให้เข้าใจลักษณะแบบจำลองของปรากฏการณ์ทางกายภาพต่าง ๆ และสามารถถ่ายทอดสิ่งเหล่านั้นลงมาเป็นข้อมูลรูปแผนที่ที่มีความถูกต้องและ น่าเชื่อถือทางตำแหน่งและข้อมูลอธิบายปรากฏการณ์นั้น ๆ สาขาวิชาวิศวกรรมสำรวจประกอบด้วย

  • การรังวัดระยะใกล้ด้วยภาพถ่ายทางอากาศ(Close range photogrametry)
  • การรังวัด
  • ระบบภูมิสารสนเทศ (Geo-Information System, GIS)
  • การรังวัดด้วยสัญญาณระบบดาวเทียมนำหน (Global Navigation Satellite System, GNSS)
  • การรังวัดและทำแผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศ (Digital Photogrammetry)
  • การรังวัดและทำแผนที่จากภาพดาวเทียมรายละเอียดสูง (High Resolution Satellite Imagery)
  • การสำรวจระยะไกล (Remote Sensing)
  • การทำแผนที่ด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer-assisted Mapping)
  • งานรังวัดขั้นสูง (Geodetic Surveying) และงานรังวัดความละเอียดสูง (High Precision Measurement)

สำหรับการเรียนการสอนสาขาวิศวกรรมสำรวจในประเทศไทย มีดังนี้

  1. ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2498 และในปัจจุบันเป็นภาควิชาเดียวในประเทศไทยที่เปิดการเรียนการสอนและวิจัยในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกทางด้านวิศวกรรมสำรวจ
  2. สาขาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ เก็บถาวร 2012-04-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ชื่อเดิม วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ) เริ่มก่อตั้งตั้งขึ้นมา เมื่อพ.ศ. 2498 เปิดสอนการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีภาคปกติ และปริญญาตรีภาคสมทบ
  3. สาขาวิศวกรรมสำรวจและสารสนเทศภูมิศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (วิทยาเขตบางเขน) เปิดสอนการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีภาคพิเศษ
  4. หลักสูตรสาขาวิชาวิศวกรรมสำรวจ สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เปิดสอนในระดับปริญญาตรี (รับนักศึกษาแผนการเรียนวิทย์-คณิต ปวช. และ ปวส.)
  5. สาขาวิศวกรรมแผนที่และการทหาร ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เปิดสอนการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี (รับเฉพาะนักเรียนนายร้อย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เพื่อสำเร็จไปรับราชการในกรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย และกองทัพบก)
  6. หลักสูตรวิศวะกรรมสํารวจ โรงเรียนแผนที่ กรมแผนที่ทหาร รับวุฒิมัธยมศึกษาปีที่6 เกรดเฉลี่ย2.2ขึ้นไปโดยจบหลักสูตรรับวุฒิระดับปวส.ติดตําแหน่งสิบตรี และ บรรจุลงกรมแผนที่ทหาร หรือ นทพ/นพค ทั่วประเทศ
Kembali kehalaman sebelumnya