วิโอเลต วอเทียร์ (เกิด 10 ตุลาคม พ.ศ. 2536) ชื่อเล่น วี เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง และนักแสดงลูกครึ่งไทย-เบลเยียม เธอเป็นที่รู้จักจากการเข้าร่วมประกวดร้องเพลงในรายการ เดอะวอยซ์ไทยแลนด์ (ฤดูกาลที่ 2) มีผลงานแสดงภาพยนตร์เรื่อง ฟรีแลนซ์..ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ, พรจากฟ้า และ ดายทูมอร์โรว์ โดยเธอได้รับรางวัลรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์, รางวัลสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย, คมชัดลึก อวอร์ด และรางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง ฟรีแลนซ์..ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ (2558)[1]
ชีวิตและการทำงาน
ชีวิตช่วงแรก
วิโอเลต วอเทียร์ เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2536 ที่เมืองโยโกฮามะ จังหวัดคานางาวะ ประเทศญี่ปุ่น[2] พ่อของเธอคือฟรองซัวส์ วอเทียร์ ชาวเบลเยียม เป็นวิศวกรซอฟต์แวร์[3] แม่ของเธอคือ รองศาสตราจารย์รุจิรา ตาปราบ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอาจารย์ประจำคณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง[4] มีน้องชาย 1 คนชื่อกานต์ วิโอเลตกล่าวว่าได้รับการเลี้ยงดูอย่างวัฒนธรรมไทยมากกว่าตะวันตก[5] โดยจะใช้ภาษาไทยกับมารดา ใช้ภาษาฝรั่งเศสกับบิดา และเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นมาบ้างในช่วงที่ญีปุ่น[2] จบการศึกษาประถมศึกษาจากโรงเรียนมาเรียลัย มัธยมศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า นอกจากนี้ยังเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนโครงการเอเอฟเอส ประเทศแคนาดา จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาภาพยนตร์และภาพนิ่ง
2013–2018: Competition on The Voice Thailand and career beginnings
วิโอเลตมีผลงานเล่นมิวสิกวิดีโอเพลง "หายใจออกก็เหงา หายใจเข้าก็คิดถึง" ของ วงซีควินท์ จากนั้นได้ร่วมประกวดร้องเพลงในรายการ เดอะวอยซ์ไทยแลนด์ ซีซั่นที่ 2 ร้องเพลง "Leaving on a Jet Plane" ในรอบ Blind audition ที่คลิปมียอดวิวสูงที่สุดของฤดูกาล[6] แต่สามารถผ่านไปได้ถึงแค่รอบน็อคเอ้าท์เท่านั้น ต่อมาได้แสดงเป็นตัวประกอบในภาพยนตร์เรื่อง ฝากไว้..ในกายเธอ ของค่ายจีทีเอช รวมถึงร้องเพลงประกอบด้วย ในปีนั้นเองมีผลงานเขียนเพลง อย่างเพลง "Walk You Home" จากภาพยนตร์ ไอฟาย..แต๊งกิ้ว..เลิฟยู้
จากนั้นร้องเพลงประกอบละครช่องสามอีกหลายเพลง อย่างเช่น เพลง "อยากรู้หัวใจตัวเอง" จากละคร แอบรักออนไลน์, เพลง "สะดุด" จากละคร นางสาวทองสร้อย คุณแจ๋วหมายเลข 1 รวมถึงเพลง "หากฉันตาย" จากละคร ขอเป็นเจ้าสาวสักครั้งให้ชื่นใจ และเพลงประกอบโฆษณาไอศกรีมคอร์นเน็ตโตที่ได้ร้องกับโจอี้ บอย ซึ่งได้ร่วมแต่งเพลงนี้ด้วย ต่อมามีผลงานแสดงภาพยนตร์เรื่อง ฟรีแลนซ์..ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ ที่ทำให้เธอได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 25[7] รางวัลสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย ครั้งที่ 6 รางวัลคมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 13 และรางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 24 ในสาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จากทั้ง 4 สถาบัน และยังได้ร้องเพลงประกอบภาพยนตร์ชื่อเพลง "Vacation Time" ร้องร่วมกับอภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข
2018–2020: Breakthrough with first album
พ.ศ. 2561 ปล่อยเพลงสากลเพลงแรกคือ "Drive" ต่อด้วยเพลงสากลเพลงที่ 2 ในเพลง "Smoke" ออกมาในปีเดียวกัน โดยติดอันดับ 1 บน Apple Music Chart ถึง 8 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว สิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย และศรีลังกา จนใน พ.ศ. 2563 ปล่อยเพลงสากลเพลงที่ 3 ในเพลง "Brassac"[8]
ชีวิตส่วนตัว
ปัจจุบัน กำลังคบหาดูใจกับจิรายุ ละอองมณี นักแสดงและนักร้องนำวงเรโทรสเปกต์
จุดยืนทางการเมือง
วิโอเลตสนับสนุนการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 และต่อต้านการใช้ความรุนแรงในเหตุการณ์การสลายการชุมนุมที่แยกปทุมวัน พ.ศ. 2563 [9]
ผลงานดนตรี
อัลบั้ม
ชื่ออัลบั้ม
|
รายละเอียด
|
รายชื่อเพลง
|
Glitter and Smoke
|
|
รายชื่อเพลง
- Smoke
- Brassac
- We Own This World
- Drive
- Cool ร่วมกับ SYPS
- Love and Money
- Unstoppably ร่วมกับ Max Jenmana
- I’d Do It Again
- All That I Can Do
|
Your Girl
|
|
รายชื่อเพลง
- ระวังเสียใจ (Warning)
- Toxic
- ไม่อยากคุย (Taxi)
- ยื้อเพื่อ? (Be Honest)
- โลกร้าย (Sick) ร่วมกับ แพทริคอนันดา
- อย่าใจร้ายกับตัวเอง (It's Okay)
- กักตัว (Quarantine)
- This is our life ร่วมกับ ส้ม มารี
- จินตนาการ (Imagine)
- ตั้งแต่มีเธอฉันมีความสุข (This Time)
|
ซิงเกิล
เพลงประกอบภาพยนตร์ และละคร
ซิงเกิลรับเชิญ
ซิงเกิลพิเศษ
เพลงอื่น ๆ
การแต่งเพลง
ผลงานการแสดง
ภาพยนตร์
ละครโทรทัศน์
ออนไลน์
การจัดรายการวิทยุ
- ดีเจคลื่น Cat Radio (2558)
คอนเสิร์ต
- Star Theque GTH 11 ปีแสงคอนเสิร์ต (2558)
- YOU BETTER LOVE ME CONCERT (2566)
- 4 Queens Concert (2566)
รางวัล
หมายเหตุ
- ↑ "ฝากไว้" ติดอันดับเพลง IW Chart ที่เปิดมากที่สุดทางสถานีวิทยุประจำเดือนสิงหาคม 2557 ในอันดับ 37[14]
- ↑ "สะดุด" ติดอันดับเพลง IW Chart ที่เปิดมากที่สุดทางสถานีวิทยุประจำเดือนตุลาคม 2558 ในอันดับ 39[16]
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
รางวัลของวิโอเลต วอเทียร์ |
---|
|
---|
2534–2540 | |
---|
2541–2551 | |
---|
2552–2562 | |
---|
2563–2573 | |
---|
|
---|
2533–2540 | |
---|
2541–2551 | |
---|
2552–2562 | |
---|
2563–2573 | |
---|
|
|
---|
ฤดูกาล | |
---|
พิธีกร | |
---|
โค้ช | |
---|
ผู้ชนะการแข่งขัน | |
---|
รองชนะเลิศอันดับ 1 | |
---|
รองชนะเลิศอันดับ 2-3 | |
---|
บุคคลอื่นที่มีชื่อเสียง | ฤดูกาลที่ 1 | |
---|
ฤดูกาลที่ 2 | |
---|
ฤดูกาลที่ 3 | |
---|
ฤดูกาลที่ 4 | |
---|
ฤดูกาลที่ 5 | |
---|
ฤดูกาลที่ 6 | |
---|
ฤดูกาลที่ 7 | |
---|
ฤดูกาลที่ 8 | |
---|
|
---|
บทความที่เกี่ยวข้อง | |
---|