ศาลหลักเมืองนครราชสีมา
ศาลหลักเมืองนครราชสีมา เป็นศาลที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับการสร้างเมืองนครราชสีมา ถือเป็นเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองประจำจังหวัด สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่บริเวณมุมวัดพระนารายณ์มหาราช ถนนจอมพล ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ประวัติในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2199-2231 ศาลหลักเมืองถูกสร้างเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัด เป็นที่เคารพนับถือและมากราบไหว้เป็นประจำ พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์ได้ยกกองทัพมายึดเมืองนครราชสีมา ได้ทำลายเมืองนครราชสีมา รวมถึงโค่นล้มเสาหลักเมืองลงด้วย วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2444 (ร.ศ. 119) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เสด็จพระราชดำเนินโดยรถไฟ ทรงได้เสด็จทอดพระเนตรศาลหลักเมือง ทรงจุดเทียนบูชาเทพารักษ์ แล้วเสด็จทรงม้าพระที่นั่งกลับทางประตูชุมพล วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2446 (ร.ศ.122) พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จมาทรงสังเวย ขณะนั้นพระองค์ทรงดำรงพระยศเป็นมกุฏราชกุมาร วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2506 เวลา 09.30 น. ประชาชนพ่อค้า ข้าราชการ ได้ร่วมกันสร้างศาลขึ้นใหม่แทนศาลเดิมซึ่งสร้างด้วยไม้ได้ชำรุดทรุดโทรมลง เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้ทำพิธีอัญเชิญขึ้นศาลใหม่ พ.ศ. 2509 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จมาทำพิธีสังเวยศาลหลักเมืองนครราชสีมา วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2480 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เล่ม 115[1][2] อ้างอิง
|