ศิริภา อินทวิเชียร
ศิริภา อินทวิเชียร (เกิด 14 กันยายน พ.ศ. 2532) ชื่อเล่น แนน อดีตผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร (ชวน หลีกภัย)[1] อดีตรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ประวัติศิริภา เกิดเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2532 ที่โรงพยาบาลพญาไท กรุงเทพมหานคร ชาวไทยเชื้อสายจีน เป็นบุตรีของ ชัยศล อินทวิเชียร และ สาวิณี สินธู [2] หลานของ สมร ลิมปิชาติ และ สุพร อินทวิเชียร ต้นตระกูลคือ “ลิ่มซุ่นหงวน” นักธุรกิจกิจการเหมืองแร่ โรงฟอกหนัง และธุรกิจขนส่งทางเรือที่ครั้งหนึ่งตกเป็นจำเลยในคดี “พลาติสัย” ปี พ.ศ. 2463 เรือโป๊ะของลิ่มซุ่นหงวนชื่อ ตงหลี นำเบอร์ (หมายเลข) 38 ถูกพายุพัดจนชนพลับพลาที่ประทับของรัชกาลที่ 6 โดยมี ปรีดี พนมยงค์ อาสาเป็นทนายฝั่งจำเลย ซึ่งเป็นคดีแรกและคดีเดียวที่ปรีดีว่าความ ในที่สุดแล้วคดีดังกล่าว ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาตัดสินให้ยกฟ้องจำเลย [3] การศึกษา
งานการเมืองศิริภาก้าวเข้าสู่เส้นทางการเมืองในปี พ.ศ. 2558 ด้วยการทำงานด้านการพัฒนาพื้นที่ในกรุงเทพมหานครกับพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาเป็นคณะทำงานของกษิต ภิรมย์ ซึ่งในขณะนั้นกษิตเป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) จากนั้นในปี 2558 ได้เข้าทำงานเป็นส่วนหนึ่งของคณะทำงาน ชวน หลีกภัย โดยรับผิดชอบงานด้านการเมืองและการต่างประเทศ[4] ในปี พ.ศ. 2561 ศิริภาร่วมก่อตั้งและเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่ม “ประชาธิปัตย์ยุคใหม่” หรือ “นิวเดม” (New Dem) ซึ่งเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ของพรรคประชาธิปัตย์ที่ทำงานการเมืองและลงสมัครรับเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2562 ในปีเดียวกันนี้เอง ด้วยความสามารถในการสื่อสารที่โดดเด่น ทำให้ศิริภาได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งรองโฆษก พรรคประชาธิปัตย์และโฆษกกลุ่มนิวเดม และได้เขียนคอลัมน์ด้านการเมืองและการต่างประเทศ "เปิดโลก" ให้กับหนังสือพิมพ์แนวหน้า [1] หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปในปี พ.ศ. 2562[5] ศิริภาได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร (ชวน หลีกภัย)[6] ทำให้ศิริภามีบทบาทในสายงานนิติบัญญัติ ทั้งการเป็นโฆษกและกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. ….[7] และอนุกรรมาธิการในคณะต่าง ๆ ในขณะเดียวกันยังเป็นกรรมการและคณะทำงานด้านเยาวชนและการต่างประเทศของพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยบทบาททางการเมืองที่สำคัญคือ กรณีการให้ความช่วยเหลือพระภิกษุชาวกัมพูชาที่ลี้ภัยมายังประเทศไทยและถูกทางการไทยควบคุมตัวและเตรียมส่งกลับกัมพูชา จึงดำเนินการเรียกร้องให้รัฐบาลปล่อยตัวผู้ลี้ภัยทางการเมืองและคัดค้านการส่งตัวกลับประเทศต้นทาง เนื่องจากเชื่อได้ว่าพระสงฆ์จะถูกกระทำการทรมานและบังคับให้สูญหาย และประสานการช่วยเหลือไปยังประเทศที่สาม [8] รวมถึงมีบทบาทในการเคลื่อนไหวเรียกร้องไม่ให้รัฐดำเนินการก่อสร้างอาคารบ้านหลวงบนพื้นที่สีเขียวของชุมชนในเขตพื้นที่พญาไท [9] ในการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2566 ศิริภา อินทวิเชียร ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขตเลือกตั้งที่ 24 ธนบุรี คลองสาน ราษฎร์บูรณะ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ การทำงานหลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ในปี พ.ศ. 2554 เข้าทำงานเป็นผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจที่ บริษัท ศิรินคร จำกัด ดำเนินธุรกิจด้านพลังงาน ขนส่งพลังงาน ก่อสร้าง และพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ก่อนเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ หลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทจากสหราชอาณาจักร เข้าทำงานเป็นนักวิเคราะห์ข้อมูลด้านการเงินที่บริษัท Kurt Geiger London ประเทศอังกฤษ ในช่วงปี พ.ศ. 2556 ถึง 2557 และกลับมาช่วยบริหารธุรกิจของครอบครัว ในส่วนงานบริหารโครงการก่อสร้าง พร้อมทั้งประกอบธุรกิจส่วนตัว เป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของแบรนด์เครื่องประดับ ESHVI ประจำประเทศไทย โดยวางจำหน่ายครั้งแรกในปี พ.ศ. 2556 ที่สยามพารากอน ประเทศไทย นอกจากการทำงานในแวดวงธุรกิจ ศิริภายังมีความสนใจและมีบทบาทในการทำงานเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ในปี 2553 ก่อตั้งโครงการ “แลใต้” ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในปี พ.ศ. 2557 ก่อตั้งชมรม “Social Connect” (ดีด้วย ช่วยกัน) รวบรวมเครือข่ายเยาวชนและคนรุ่นใหม่ทำกิจกรรมจิตอาสาเพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำและสร้างโอกาสทางสังคมที่เท่าเทียม ในปี พ.ศ. 2558 ก่อตั้งกลุ่ม “ศิริอาสา” (Siri Arsa) เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อสังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน เข้าร่วมกลุ่ม Global Shapers โดย World Economic Forum ซึ่งเป็นการรวบรวมเครือข่ายผู้นำยุคใหม่ทั่วโลกที่มุ่งทำงานเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในสังคม และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาเสรีภาพและประชาธิปไตยแห่งเอเชีย (เยาวชน) (Council of Asian Liberals and Democrats – CALD Youth) และเป็นตัวแทนเยาวชนที่ได้รับให้แสดงความคิดเห็นต่อประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในที่ประชุมของสหประชาชาติ[10] ในปี พ.ศ. 2563 จัดทำโครงการ “นมเพื่อน้อง”[11] และโครงช่วยเหลือผู้ประสบภัยโควิด-19 ดำเนินการประสานหาเตียงผู้ป่วย จัดทำและส่งมอบถุงยังชีพ บริการลงทะเบียนวัคซีนป้องกันโควิด–19 และบริการรถรับส่งผู้สูงอายุเข้ารับบริการวัคซีน ในปี พ.ศ. 2563 - 2565 คอลัมนิสต์ "เปิดโลก" หนังสือพิมพ์แนวหน้า [12] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|