Share to:

 

สกอตต์ มอร์ริซัน

สกอตต์ มอร์ริซัน
Scott Morrison
มอรืริซันใน ค.ศ. 2021
นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียคนที่ 30
ดำรงตำแหน่ง
24 สิงหาคม ค.ศ. 2018 – 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2022
กษัตริย์เอลิซาเบทที่ 2
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
รอง
ก่อนหน้าแมลคัม เทิร์นบุลล์
ถัดไปแอนโทนี แอลบานีส
หัวหน้าพรรคเสรีนิยม
ดำรงตำแหน่ง
24 สิงหาคม ค.ศ. 2018 – 30 พฤษภาคม ค.ศ. 2022
รองจอช ไฟรเดินเบิร์ก
ก่อนหน้าแมลคัม เทิร์นบุลล์
ถัดไปปีเตอร์ ดัตตัน แม่แบบ:Collapse infobox section begin
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ พลังงาน และทรัพยากร[1]
ดำรงตำแหน่ง
15 เมษายน ค.ศ. 2021 – 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2022
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ คริสเตียน พอร์เตอร์ (2021); เมลิซซา ไพรส์ในฐานะวิทยาศาสตร์และพลังงาน (2021–2022); แองกัส เทย์เลอร์ในฐานะอุตสาหกรรม (2021–2022)
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าคริสเตียน พอร์เตอร์
ถัดไปแมเดอลีน คิง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
6 พฤษภาคม ค.ศ. 2021 – 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2022
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ แคเรน แอนดรูว์
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าแคเรน แอนดรูว์
ถัดไปแคลร์ โอนีล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
30 มีนาคม ค.ศ. 2020 – 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2022
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ มาเทียส คอร์มันน์ (2020); ไซมอน เบอร์มิงแฮม (2020–2022)
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าไซมอน เบอร์มิงแฮม
ถัดไปเคที แกลลาเกอร์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
14 มีนาคม ค.ศ. 2020 – 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2022
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ เกรก ฮันต์
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าเกรก ฮันต์
ถัดไปมาร์ก บัตเลอร์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงบริการสาธารณะ
ดำรงตำแหน่ง
29 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 – 8 ตุลาคม ค.ศ. 2021
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้ามาเทียส คอร์มันน์
ถัดไปเบ็น มอร์ตัน
เหรัญญิกแห่งออสเตรเลีย[1]
ดำรงตำแหน่ง
21 กันยายน ค.ศ. 2015 – 28 สิงหาคม ค.ศ. 2018
นายกรัฐมนตรีแมลคัม เทิร์นบุลล์
ก่อนหน้าโจ ฮ็อกกี
ถัดไปจอช ไฟรเดินเบิร์ก
ดำรงตำแหน่ง
6 พฤษภาคม ค.ศ. 2021 – 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2022
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ จอช ไฟรเดินเบิร์ก
นายกรัฐมนตรีตนเอง
ก่อนหน้าจอช ไฟรเดินเบิร์ก
ถัดไปจิม ชาลเมอส์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงบริการสังคม
ดำรงตำแหน่ง
23 ธันวาคม ค.ศ. 2014 – 21 กันยายน ค.ศ. 2015
นายกรัฐมนตรี
ก่อนหน้าเควิน แอนดรูว์
ถัดไปคริสเตียน พอร์เตอร์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงตรวจคนเข้าเมืองและคุ้มครองชายแดน
ดำรงตำแหน่ง
18 กันยายน ค.ศ. 2013 – 23 ธันวาคม ค.ศ. 2014
นายกรัฐมนตรีโทนี แอบบ็อตต์
ก่อนหน้าโทนี เบิร์ก
ถัดไปปีเตอร์ ดัตตัน แม่แบบ:Collapse infobox section end
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรออสเตรเลีย
สำหรับคุก
เริ่มดำรงตำแหน่ง
24 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007
ก่อนหน้าบรูซ แบร์ด
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
สกอตต์ จอห์น มอร์ริซัน

(1968-05-13) 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1968 (56 ปี)
ซิดนีย์ รัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย
พรรคการเมืองพรรคเสรีนิยม
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
พันธมิตร
คู่สมรสเจนนี วอร์เรน (สมรส 1990)
บุตร2
บุพการี
การศึกษามหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ (BSc Hons)[1]
ลายมือชื่อ
เว็บไซต์scottmorrison.com.au
ชื่อเล่นScoMo[2]

สกอตต์ จอห์น มอร์ริซัน (อังกฤษ: Scott John Morrison, นามสกุลออกเสียงว่า /ˈmɒrɪsən/;[3] 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1968) เป็นนักการเมืองชาวออสเตรเลียที่เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียคนที่ 30 ใน ค.ศ. 2018 ถึง 2022 และปัจจุบันดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตคุกของรัฐนิวเซาท์เวลส์ตั้งแต่ ค.ศ. 2007

มอร์ริซันเกิดที่ซิดนีย์และศึกษาวิชาภูมิเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ เขาเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬานิวซีแลนด์ใน ค.ศ. 1998 ถึง 2000 และเป็นกรรมการผู้จัดการในการท่องเที่ยวออสเตรเลียเมื่อ ค.ศ. 2004 ถึง 2006 มอร์ริซันเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการรัฐแห่งพรรคเสรีนิยมนิวเซท์เวลส์ใน ค.ศ. 2000 ถึง 2004 เขาได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรออสเตรเลียครั้งแรกในการเลือกตั้ง ค.ศ. 2007 ในฐานะตั้งแทนเขตคุกของรัฐนิวเซาท์เวลส์ และได้รับเลือกเป็นคณะรัฐมนตรีเงา

หลังพันธมิตรระหว่างพรรคเสรีนิยมและพรรคชาติชนะการเลือกตั้งใน ค.ศ. 2013 มอร์ริซันจึงได้รับเลือกเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตรวจคนเข้าเมืองและคุ้มครองชายแดนในรัฐบาลแอบบ็อตต์ ซึ่งเขามีส่วนร่วมในการดำเนินการ Operation Sovereign Borders ปีถัดมา เขากลายเป็นรัฐมนตรีในกระทรวงบริการสังคม จากนั้นจึงเลือกขั้นไปดำรงตำแหน่งเหรัญญิกในเดือนกันยายน ค.ศ. 2015 หลังแมลคัม เทิร์นบุลล์กลายเป็นนายกรัฐมนตรีต่อจากแอบบ็อตต์ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2018 ปีเตอร์ ดัตตันประสบความล้มเหลวในการท้าทายเทิร์นบุลล์ในการเป็นหัวหน้าพรรคเสรีนิยม ทำให้เกิดความตึงเครียดต่อไป และทางพรรคได้ลงคะแนนเลือกตั้งหัวหน้าพรรคครั้งที่สองในไม่กี่วันต่อมา โดยที่เทิร์นบุลล์ไม่ลงหาเสียง ในการลงคะแนนเสียง มอร์ริซันถูกมองเป็นผู้สมัครที่ประนีประนอมและเอาชนะทั้งดัตตันและจูลี บิชอป แล้วกลายเป็นหัวหน้าพรรคและนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2018

มอร์ริซันได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สองหลังทำให้พรรคพันธมิตรฯ ชนะแบบพลิกล็อกในการเลือกตั้งใน ค.ศ. 2019[4] เขาเกือบถูกรวมประณามจากการลาพักร้อนในช่วงฤดูไฟป่าออสเตรเลียใน ค.ศ. 2019–20 และจากการตอบสนองภัยพิบัติของรัฐบาล[5] มอร์ริซันก็ถูกวิจารณ์จากการตอบสนองต่อข้อกล่าวหาประพฤติผิดทางเพศในรัฐสภา ค.ศ. 2021[6] ในช่วงการระบาดทั่วของโควิด-19 มอร์ริซันได้จัดตั้งคณะรัฐมนตรีแห่งชาติ และในช่วง ค.ศ. 2020 ออสเตรเลียได้รับเสียงชื่นชมจากการเป็นหนึ่งในประเทศตะวันตกไม่กี่ประเทศที่สามารถยับยั้งไวรัสได้สำเร็จ[7] แม้ว่าจะถูกวิจารณ์จากการแจกจ่ายวัคซีนล่าช้าก็ตาม[8] ในด้านนโยบายต่างประเทศ มอร์ริซันทำหน้าที่ควบคุมดูแลการลงนามความป้องกัน AUKUS และเกิดความตึงเครียดระหว่างออสเตรเลียกับจีน[9] และออสเตรเลียกับฝรั่งเศสที่มากขึ้น[10] มอร์ริซันยังสนับสนุนด้านโลจิสติกแก่ยูเครนโดยตรง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามระหว่างประเทศต่อรัสเซียในช่วงต้นของการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย ค.ศ. 2022 มอร์ริซันถูกวิจารณ์จากการตอบสนองต่อน้ำท่วมออสเตรเลียตะวันออก ค.ศ. 2022[11][12][13] และการรับรู้ถึงความเฉยเมยต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[14][15] รัฐบาลมอร์ริซันพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งสหพันธรัฐในออสเตรเลีย ค.ศ. 2022 ทำให้เขากลายเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่ดำรงตำแหน่งครบสมัยนับตั้งแต่จอห์น โฮเวิร์ด หลังพ่ายแพ้การเลือกตั้ง มอร์ริซันประกาศว่าเขาจะลงจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคเสรีนิยม และให้ปีเตอร์ ดัตตันดำรงตำแหน่งหัวหน้าแทนที่เขา[16][17]

ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา

มอร์ริซันเกิดที่ชานเมืองเวเวอร์ลีย์ในซิดนีย์[18][19] เขาเป็นลูกชายคนที่สองจากลูกชายสองคนของ Marion (สกุลเดิม Smith) กับจอห์น ดักลาส มอร์ริซัน (1934–2020).[20] พ่อของเขาเคยเป็นตำรวจประจำสภาเทศบาลเวเวอร์ลีย์ ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งนายกสมัยเดียว[21] ตาของมอร์ริซันเกิดที่นิวซีแลนด์[22] ย่าของเขาเป็นหลานสาวของแมรี กิลมอร์ นักกวีชาวออสเตรเลีย ใน ค.ศ. 2012 ตอนครบปีเสียชีวิต 50 ปี เขาทำพิธีรำลึกเธอในรัฐสภาออสเตรเลีย[23] มอร์ริซันสืบตระกูลจากวิลเลียม รอเบิตส์ นักโทษที่ถูกตั้งข้อหาขโมยเส้นด้ายและถูกส่งไปยังออสเตรเลียด้วยกองเรือแรกใน ค.ศ. 1788[24]

มอร์ริซันเติบโตในชานเมืองบรอนต์ เขาเคยมีอาชีพเป้นนักแสดงเด็กที่ปรากฏในโฆษณาโทรทัศน์และมีบทบาทไม่มากในรายการท้องที่[25] มอร์ริซันเข้าศึกษาที่ Sydney Boys High School ก่อได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (B.Sc.) สาขาภูมิเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์[1][26][27]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 แม่แบบ:Cite Au Parliament
  2. "Scott Morrison or ScoMo — is it time he retired the nickname now he's Prime Minister?". ABC News. September 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2020. สืบค้นเมื่อ 22 March 2020.
  3. "morrison". The Free Dictionary (ภาษาอังกฤษ). n.d. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2021. สืบค้นเมื่อ 14 March 2021.
  4. Belot, Henry (19 May 2019). "Federal election result: Scott Morrison says 'I have always believed in miracles' as Coalition retains power". Australian Broadcasting Corporation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2019. สืบค้นเมื่อ 18 May 2019.
  5. Remeikis, Amy (21 December 2019). "Scott Morrison's Hawaii horror show: how a PR disaster unfolded". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 December 2019. สืบค้นเมื่อ 23 December 2019.
  6. Mao, Frances (2 March 2021). "How rape allegations have rocked Australian politics". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2021. สืบค้นเมื่อ 15 March 2021.
  7. "Australia has almost eliminated the coronavirus — by putting faith in science". Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 May 2021. สืบค้นเมื่อ 16 July 2021.
  8. Topsfield, Jewel (30 May 2021). "Why has the vaccine rollout been so slow?". The Sydney Morning Herald.
  9. Hadley, Erin (29 December 2021). "Australia-China relations continued to sour in 2021. What can we expect in 2022?". ABC News. สืบค้นเมื่อ 30 December 2021.
  10. "Aukus: French minister condemns US and Australia 'lies' over security pact". BBC News. 19 September 2021. สืบค้นเมื่อ 20 September 2021.
  11. Karp, Paul (4 April 2022). "Liberal MP accuses Scott Morrison of 'ruthless bullying' and scheming at the expense of flood victims". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 7 April 2022.
  12. Haslam, Alex (11 March 2022). "Scott Morrison's tone-deaf leadership is the last thing traumatised flood victims need. Here are two ways he can do better". The Conversation. สืบค้นเมื่อ 12 March 2022.
  13. Henriques-Gomes, Luke (15 April 2022). "Coalition faces criticism for limiting 'top-up' payment to Lismore flood victims only". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 17 April 2022.
  14. RN Breakfast (8 November 2021). "Scott Morrison accused of failing to understand the 'urgency' of climate change". ABC News. สืบค้นเมื่อ 12 November 2021.
  15. Victor, Daniel; Cave, Damien (3 November 2021). "Australia's climate pledges fall short, again, critics say". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 29 May 2022.
  16. "Live: Morrison calls Albanese to concede electoral defeat as Labor, independents unseat Coalition". ABC News (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). 20 May 2022. สืบค้นเมื่อ 21 May 2022.
  17. "Peter Dutton elected new Liberal Party leader, Sussan Ley becomes deputy leader". ABC News. 30 May 2022.
  18. "Scott Morrison: fast facts". National Archives of Australia. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 December 2021. สืบค้นเมื่อ 31 December 2021.
  19. "Key facts about Scott Morrison, Australia's new prime minister". Australian Financial Review. 24 August 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 May 2020. สืบค้นเมื่อ 25 August 2018.
  20. "Scott Morrison's father John, a former policeman and mayor, dies aged 84". ABC News. 23 January 2020. Retrieved 23 May 2022.
  21. Nick Bryant (February 2012). "Scott Morrison: So Who the Bloody Hell Are You?". The Monthly. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 April 2018. สืบค้นเมื่อ 7 February 2018.
  22. "Members' statements in relation to citizenship: Scott Morrison". Parliament of Australia. เก็บถาวร 14 มีนาคม 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 7 February 2018.
  23. Hansard, 29 November 2012 เก็บถาวร 10 สิงหาคม 2021 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 13 February 2019
  24. "Scott Morrison speaks of convict ancestry as he welcomes new citizens". The Sydney Morning Herald. 26 January 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 February 2019. สืบค้นเมื่อ 13 February 2019.
  25. Deborah Snow (30 April 2016). "Scott Morrison's relentless rise to power". The Sydney Morning Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2018. สืบค้นเมื่อ 7 February 2018.
  26. "Key facts about Scott Morrison, Australia's new prime minister". Australian Financial Review. 24 August 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 February 2019. สืบค้นเมื่อ 7 February 2019.
  27. "Who is Scott Morrison? Meet Australia's new Prime Minister". SBS News. 24 August 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 February 2019. สืบค้นเมื่อ 7 February 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya