Share to:

 

สถานีย่อย:เคมี/บทความยอดเยี่ยมทั้งหมด

กุมภาพันธ์ 2550

ทองคำ คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 79 และสัญลักษณ์คือ Au (มาจากภาษาละตินว่า aurum) ทองคำเป็นธาตุโลหะทรานซิชั่นสีเหลืองทองมันวาวเนื้ออ่อนนุ่ม สามารถยืดและตีเป็นแผ่นได้ ทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีส่วนใหญ่ ทองคำใช้เป็นทุนสำรองทางการเงินของหลายประเทศ ใช้ประโยชน์เป็นเครื่องประดับ งานทันตกรรม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อ่านต่อ...


ที่เก็บถาวร

มีนาคม 2550

มารี กูรี (Maria Skłodowska-Curie) (7 พฤศจิกายน 2410 - 4 กรกฎาคม 2477) นักเคมีผู้ค้นพบรังสีเรเดียม ที่ใช้ยับยั้งการขยายตัวของมะเร็ง ซึ่งเป็นโรคร้ายที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่มีอัตราการตายของของคนไข้เป็นอันดับหนึ่งมาทุกยุคสมัย ด้วยผลงานที่มีความสำคัญต่อมนุษยชาติเหล่านี้ ทำให้มารี กูรีได้รับรางวัลโนเบลถึง 2 ครั้งด้วยกัน อ่านต่อ...


บทความคัดสรรก่อนหน้านี้: ทองคำ
ที่เก็บถาวร

พฤษภาคม 2550

กำมะถัน หรือ ซัลเฟอร์ (อังกฤษ: Sulfur หรือ Sulphur) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ S และเลขอะตอม 16 เป็นอโลหะที่มีอยู่ทั่วไป ไม่มีรสหรือกลิ่น และมีวาเลนซ์ได้มากมาย กำมะถันในรูปแบบปกติเป็นของแข็งสีเหลืองที่เป็นผลึก ในธรรมชาติ สามารถพบได้ในรูปธาตุเอง หรือแร่ซัลไฟด์และซัลเฟต เป็นธาตุจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต และพบในกรดอะมิโนหลายชนิด การใช้ในเชิงพาณิชย์ที่เป็นหลัก คือ ในปุ๋ย แต่นอกจากนี้ยังใช้ในดินปืน ไม้ขีดไฟ ยาฆ่าแมลง และยาฆ่ารา อ่านต่อ...


บทความคัดสรรก่อนหน้านี้: มารี กูรี - ทองคำ
ที่เก็บถาวร

กรกฎาคม 2550

อะตอม (กรีก: άτομον ; อังกฤษ: Atom) เป็นโครงสร้างขนาดเล็กมากมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ที่พบได้ในสิ่งของทุก ๆ อย่างรอบตัวเรา อะตอมประกอบไปด้วยอนุภาค 3 ชนิด คือ อิเล็กตรอน, ซึ่งมีประจุลบ, โปรตอน ซึ่งมีประจุบวก และนิวตรอน ซึ่งไม่มีประจุ

อะตอมเป็นองค์ประกอบพื้นฐานทางเคมีซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงตามปฏิกิริยาเคมี ธาตุที่พบได้ตามธรรมชาติบนโลกนี้นั้นมีปรากฏอยู่ประมาณ 90 ชนิดเท่านั้น (นอกเหนือจากนี้มี ธาตุบางชนิดเช่น เทคนิเซียม และ แคลิฟอร์เนียม ที่พบได้ในซูเปอร์โนวา และธาตุที่เลขอะตอมสูง (มากกว่า 100 ขึ้นไป) ที่สามารถสังเคราะห์ได้จาก การนำอะตอมมาชนกันด้วยความเร็วสูง)

เราเรียกอะตอม สองอะตอมว่าเป็นธาตุเดียวกันก็ต่อเมื่อ อะตอมสองอันนั้นมีจำนวนโปรตอนเท่ากัน โดยทั่วไปแล้ว ธาตุแต่ละธาตุไม่เหมือนกัน อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันอาจมีจำนวนนิวตรอนที่แตกต่างกัน เราเรียกสองอะตอมที่มีจำนวนโปรตรอนเท่ากันแต่จำนวนนิวตรอนแตกต่างกันนั้นจะเรียกว่าเป็นไอโซโทป (isotope) อ่านต่อ...


บทความคัดสรรก่อนหน้านี้: กำมะถัน - มารี กูรี - ทองคำ
ที่เก็บถาวร

กันยายน 2550

น้ำ มี สูตรเคมี H2O, หมายถึงหนึ่ง โมเลกุล ของน้ำประกอบด้วยสองอะตอมของ ไฮโดรเจน และหนึ่งอะตอมของ ออกซิเจน เมื่ออยู่ในภาวะ สมดุลพลวัต (dynamic equilibrium) ระหว่างสถานะ ของเหลว และ ของแข็ง ที่ STP (standard temperature and pressure : อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน) ที่อุณหภูมิห้อง เป็นของเหลวเกือบ ไม่มีสี, ไม่มีรส, และ ไม่มีกลิ่น บ่อยครั้งมีการอ้างอิงทางวิทยาศาสตร์ว่ามันเป็น ตัวทำละลายของจักรวาล และน้ำเป็นสารประกอบบริสุทธิ์ชนิดเดียวเท่านั้นที่พบในธรรมชาติทั้ง 3 สถานะ อ่านต่อ... ---

บทความยอดเยี่ยมก่อนหน้านี้: อะตอม - กำมะถัน - มารี กูรี
ที่เก็บถาวร

พฤศจิกายน 2550

ออกซิเจน (อังกฤษ: Oxygen) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ O และเลขอะตอม 8 ธาตุนี้พบมาก ทั้งบนโลกและทั่วทั้งจักรวาล โมเลกุลออกซิเจน (O2, มักเรียกว่า free oxygen) บนโลกมีความไม่เสถียรทางเธอร์โมไดนามิกส์ การเกิดขึ้นครั้งแรกในโลก มาจากการทำงานของเชื้อแบคทีเรียอะแนโรบิกสังเคราะห์แสง และเพิ่มมากขึ้นในเวลาต่อมา เนื่องมาจากพืชปล่อยก๊าซออกซิเจนระหว่างการสังเคราะห์ด้วยแสง

ออกซิเจน เป็นส่วนประกอบที่สำคัญและมีปริมาณเป็นอันดับ 2 ของส่วนประของบรรยากาศโลกคือมีประมาณ 20.947% โดยปริมาตร อ่านต่อ...


บทความยอดเยี่ยมก่อนหน้านี้: น้ำ - อะตอม - กำมะถัน
ที่เก็บถาวร

มีนาคม 2551

อิเล็กโตรเนกาติวิตี (อังกฤษ: Electronegativity) คือการวัดความสามารถของอะตอมหรือโมเลกุลในการที่จะดึงดูดอิเล็กตรอน ในส่วนของการเชื่อมต่อทางเคมี ประเภทของการเชื่อมต่อส่วนใหญ่วัดกันที่ความแตกต่างใน อิเล็กโตรเนกาติวิตี ระหว่างอะตอมที่เกี่ยวข้อง อะตอมที่มีอิเล็กโตรเนกาติวิตีคล้ายกัน จะขโมย อิเล็กตรอนซึ่งกันและกันแล้วเกิดเป็น พันธะโควาเลนต์ แต่อย่างไรก็ดี ถ้าอิเล็กโตรเนกาติวิตี แตกต่างกันมากอิเล็กตรอนจะย้ายไปอยู่กับอะตอมใดอะตอมหนึ่งอย่างถาวร และเปลี่ยนเป็นการเชื่อมต่อแบบ พันธะไอออนิกแทน และยิ่งไปกว่านั้นถ้าอะตอมหนึ่งอะตอมใดมีแรงดึงดูดมากกว่าอีกอะตอมหนึ่งก็จะเกิดการเชื่อมต่อแบบโพลาร์ พันธะโควาเลนต์ อ่านต่อ...


บทความยอดเยี่ยมก่อนหน้านี้: ออกซิเจน - น้ำ - อะตอม
ที่เก็บถาวร

เมษายน 2558

ไฮโดรเจน (อังกฤษ: Hydrogen) เป็นธาตุเคมีที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 1 สัญลักษณ์ธาตุคือ H มีมวลอะตอมเฉลี่ย 1.00794 u (1.007825 u สำหรับไฮโดรเจน-1) ไฮโดรเจนเป็นธาตุที่เบาที่สุดและพบมากที่สุดในเอกภพ ซึ่งคิดเป็นมวลธาตุเคมีประมาณร้อยละ 75 ของเอกภพ ดาวฤกษ์ในลำดับหลักส่วนใหญ่ประกอบด้วยไฮโดรเจนในสถานะพลาสมา ธาตุไฮโดรเจนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหาได้ค่อนข้างยากบนโลก ไอโซโทปที่พบมากที่สุดของไฮโดรเจน คือ โปรเทียม (ชื่อพบใช้น้อย สัญลักษณ์ 1H) ซึ่งมีโปรตอนหนึ่งตัวแต่ไม่มีนิวตรอน อ่านต่อ...


บทความยอดเยี่ยมก่อนหน้านี้: อิเล็กโตรเนกาทิวิตี - ออกซิเจน - น้ำ
ที่เก็บถาวร
Kembali kehalaman sebelumnya