Share to:

 

สถาบันเทคโนโลยีบันดุง

สถาบันเทคโนโลยีบันดุง
Institut Teknologi Bandung
ชื่อเดิมTechnische Hoogeschool te Bandoeng (ภาษาดัตช์)
คติพจน์In Harmonia Progressio (ละติน)
ก้าวหน้าอย่างสอดประสาน
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา3 กรกฎาคม ค.ศ. 1920 (ในฐานะ Technische Hoogeschool te Bandoeng)
2 มีนาคม ค.ศ. 1959 (ในฐานะ Institut Teknologi Bandung)
อธิการบดีมหาวิทยาลัยศ. ดร. เรยินี วิระฮะดิกุสุมะห์
อาจารย์1,207 คน (ข้อมูลในปี ค.ศ. 2014):[1]
ต่ำกว่าปริญญาตรี: 19 (1.57%)[1]
ปริญญาตรี: 300 (24.85%)[1]
ปริญญาเอก: 888 (73.57%)[1][ต้องการการอัปเดต]
ผู้ศึกษา27,436 คน (ข้อมูลในปี ค.ศ. 2022)[2]
ปริญญาตรี : 19,052 (ข้อมูลในปี ค.ศ. 2022)[2]
ปริญญาโท : 6,574 (ข้อมูลในปี ค.ศ. 2022)[2]
ปริญญาเอก : 1393 (ข้อมูลในปี ค.ศ. 2022)[2]
นักวิจัยหลังปริญญาเอก : 417 (ข้อมูลในปี ค.ศ. 2022)[2]
ที่ตั้ง
ถนนกะเนชะ 10, บันดุง
,
6°53′27″S 107°36′37″E / 6.890903°S 107.610378°E / -6.890903; 107.610378
วิทยาเขตวิทยาเขตทั้งหมด
795,646 m2[1][ต้องการการอัปเดต]
สีสีน้ำเงินเข้ม  [3][4]
เครือข่ายABET, ASAIHL, เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน, EBA Consortium, ASEA UNINET, Global E3, AOTULE, SEATUC, AACSB
มาสคอต
พระพิฆเนศ
เว็บไซต์www.itb.ac.id

สถาบันเทคโนโลยีบันดุง (ซุนดา: ᮄᮔ᮪ᮞ᮪ᮒᮤᮒᮥᮒ᮪ ᮒᮦᮊ᮪ᮔᮧᮜᮧᮌᮤ ᮘᮔ᮪ᮓᮥᮀ, อักษรโรมัน: Institut Téknologi Bandung; อินโดนีเซีย: Institut Teknologi Bandung; อังกฤษ: Bandung Institute of Technology, อักษรย่อ ไอทีบี (ITB)) เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในเมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย โดยผลิตผู้นำที่มีชื่อเสียงมากมายในด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การเมือง ธุรกิจ วิชาการ และวัฒนธรรม โดยทั่วไปแล้วสถาบันเทคโนโลยีบันดุงถือเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งในอินโดนีเซียซึง่เรียกกันว่า "ท็อป 3" ร่วมกับมหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย และ มหาวิทยาลัยกาจะฮ์ มาดา

ประวัติ

สถาบันเทคโนโลยีบันดุง ช่วงปี ค.ศ.1924 - ค.ศ.1932

สถาบันเทคโนโลยีบันดุงมีต้นกำเนิดมาจาก Technische Hoogeschool te Bandoeng (THB) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในช่วงที่อินโดนีเซียตกเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์มาหลายศตวรรษ โครงการนี้ก่อตั้งโดย กาเรล อัลเบิร์ต รูดอล์ฟ บอสชา (Karel Albert Rudolf Bosscha) นักธุรกิจและนักการกุศลชาวเยอรมัน-ดัตช์ ต่อมารัฐบาลอาณานิคมอนุมัติข้อเสนอของเขาเพื่อตอบสนองความต้องการความรู้ทางเทคนิคที่เพิ่มมากขึ้นในอาณานิคม

อาคารเรียนได้รับการออกแบบในปี ค.ศ. 1918 โดยสถาปนิกชาวดัตช์ชื่อ เฮนรี มาแกลน โปนต์ (Henri Maclaine Pont) โดยผสมผสานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของอินโดนีเซียเข้ากับองค์ประกอบสมัยใหม่ [5] โดยเปิดทำการครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1920 ขณะนั้นมีเพียงแผนกที่เปิดทำการหนึ่งแผนกคือ คณะเทคนิคศาสตร์ และสาขาวิชาเอกทางวิชาการหนึ่งสาขาวิชาคือ ภาควิชาวิศวกรรมถนนและทรัพยากรน้ำ

ในช่วงทศวรรษที่ 1940 มหาวิทยาลัยได้เปลี่ยนมืออย่างรวดเร็วและมีการเปลี่ยนชื่อหลายครั้ง ในช่วงที่ญี่ปุ่นยึดครองในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และปีต่อ ๆ มา โรงเรียนแห่งนี้ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยอุตสาหกรรมโดยงญี่ปุ่น แต่ก็ใช้ไม่นานหลังจากที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้ เมื่อมีการประกาศอิสรภาพของอินโดนีเซีย มหาวิทยาลัยก็ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมัธยมเทคนิคโดยสาธารณรัฐที่เพิ่งตั้งใหม่ [6]

หนึ่งปีต่อมา รัฐบาลอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์กลับมายึดครองอินโดนีเซียอีกครั้งและเปลี่ยนทิศทาง จึงมีการเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็นมหาวิทยาลัยฉุกเฉินแห่งหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์ เนื่องจากการปฏิวัติแห่งชาติของอินโดนีเซียกำลังลุกลามไปทั่วอาณานิคม ในช่วงเวลานี้จึงเริ่มดำเนินการคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์ภายใต้ชื่อของมหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 1959 คณะทั้งสองของมหาวิทยาลัยอินโดนีเซียในบันดุงได้รับการประกาศให้เป็นหน่วยงานวิชาการแยกจากกัน สถาบันเทคโนโลยีบันดุงก่อตั้งขึ้นเพื่อการศึกษาระดับสูงในด้านสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เทคโนโลยี และศิลปศาสตร์ [7]

ในปี ค.ศ 2020 ศ. ดร. เรยินี วิระฮะดิกุสุมะห์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยจนถึงปี ค.ศ. 2025 แทน กาดาร์ซะห์ สุริยาดี [8] เธอเป็นอธิการบดีหญิงคนแรกของสถาบันแห่งนี้ตั้งแต่การก่อตั้งสถาบันโดยซูการ์โน [8]

วิทยาเขต

วิทยาเขตหลักของสถาบันเทคโนโลยีบันดุง รวมทั้งวิทยาเขตอื่น ๆ ครอบคลุมพื้นที่รวมประมาณ 770,000 ตารางเมตร[9]

วิทยาเขตกะเนชะ (Kampus ITB Ganesha)

วิทยาเขตหลักดั้งเดิม มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย นอกจากห้องเรียนและห้องปฏิบัติการแล้ว วิทยาเขตยังมีหอศิลป์ ศูนย์กีฬาเฉพาะ ห้องสมุดกลาง คลินิกการแพทย์ และพื้นที่นอกหลักสูตรอีกด้วย

วิทยาเขตจะตินะโงร์ (Kampus ITB Jatinangor)

เนื่องจากจำนวนนักศึกษาเพิ่มมากขึ้น จึงมีการตัดสินใจพัฒนาวิทยาเขตอื่นในที่อื่น วิทยาเขตที่สองในจะตินะโงร์ ทำหน้าที่เป็นส่วนสำคัญของมหาวิทยาลัยและอยู่ในสถานะเดียวกับวิทยาเขตกาเนชะ นักศึกษาใหม่ทุกคนจะมี 'ขั้นตอนเตรียมความพร้อมร่วม' (Tahap Persiapan Bersama - TPB) ในวิทยาเขตนี้โดยเริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2023 [10] [11]

วิทยาเขตจิเรบน (Kampus ITB Cirebon)

สถาบันเทคโนโลยีบันดุงมีแผนที่จะสร้างวิทยาเขตใหม่ในเมืองจิเรบน เพื่อรองรับการวิจัยและการศึกษาในอนาคต ซึ่งถือเป็นความมุ่งมั่นของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของอินโดนีเซียต่อไป

อันดับและชื่อเสียง

สถาบันเทคโนโลยีบันดุงอยู่ในอันดับที่ 281 ของโลกใน QS World University Rankings ประจำปี ค.ศ. 2024 และอันดับที่ 60 ใน QS Asian University Rankings ประจำปี ค.ศ. 2024 นอกจากนี้สถาบันเทคโนโลยีบันดุงยังได้รับการจัดอันดับที่ 1201–1500 ทั่วโลกโดย THE World University Ranking 2023 และอันดับที่ 351–400 ใน THE Asia University Rankings 2023 อีกด้วย

ภายในประเทศ สถาบันเทคโนโลยีบันดุงอยู่ในอันดับที่ 2 โดย QS World University Rankings และอันดับที่ 3 โดย Times Higher Education [12] สถาบันเทคโนโลยีบันดุง ติดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำ 3 อันดับแรกของประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยได้คะแนนสูงสุดในการทดสอบเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐในประเทศอินโดนีเซียในปี ค.ศ. 2009 จากผู้สมัครทั้งหมด 422,159 คน และมีเพียง 2,000 คนเท่านั้นที่ได้รับการตอบรับ [13] ปัจจุบันนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ของสถาบันเทคโนโลยีบันดุงได้รับการยอมรับในระดับประเทศว่าเป็นคณะที่ดีที่สุดในประเทศ และด้วยเหตุนี้ คณะเหล่านี้จึงจัดเป็นคณะที่เข้าศึกษายากที่สุด

นอกจากคณะที่เน้นด้าน STEM แล้ว วิทยาเขตยังเปิดโรงเรียนธุรกิจที่ชื่อว่า School of Business and Management (SBM) อีกด้วย SBM ถือเป็นโรงเรียนธุรกิจที่มีชื่อเสียงและยอดเยี่ยมที่สุดในอินโดนีเซีย และได้รับการยกย่องให้เป็นโรงเรียนธุรกิจที่ดีที่สุดในอินโดนีเซียจากการจัดอันดับของ Eduniversal global brand magazine และ SWA Magazine นิตยสารที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในอินโดนีเซีย [14]

งานวิจัย

ตามที่อธิการบดีเปิดเผยว่า สถาบันเทคโนโลยีบันดุง ได้สร้างศูนย์วิจัยเหมืองแร่สูงแปดชั้นเพื่อใช้ในการวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น การวิจัยเกี่ยวกับแหล่งน้ำมัน การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การสำรวจทางธรณีวิทยา และการพัฒนาการสำรวจถ่านหิน มูลค่า 110,000 ล้านรูเปียห์ (12.1 ล้านเหรียญสหรัฐ)[15]

คณะและหลักสูตร

สถาบันเทคโนโลยีบันดุง ประกอบด้วยคณะและโรงเรียน 12 แห่ง ไม่เพียงแต่มุ่งเน้นเฉพาะสาขาวิชา STEM เท่านั้น แต่ยังรวมถึงศิลปะและการจัดการธุรกิจที่ได้รับการยอมรับทั้งในระดับประเทศและนานาชาติอีกด้วย [16]

กลุ่มวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

คณะคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

อินโดนีเซีย: Fakultas Matematika dan Ilmu Pengetahuan Alam (FMIPA)

  • คณิตศาสตร์
  • ฟิสิกส์
  • ดาราศาสตร์
  • เคมี
  • วิทยาการประกันภัย
โรงเรียนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพ - หลักสูตรวิทยาศาสตร์

อินโดนีเซีย: Sekolah Ilmu dan Teknologi Hayati - Program Sains (SITH-S)

  • ชีววิทยา
  • จุลชีววิทยา

กลุ่มเภสัชศาสตร์

โรงเรียนเภสัชศาสตร์

อินโดนีเซีย: Sekolah Farmasi (SF)

  • วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม
  • เภสัชกรรมคลินิก

กลุ่มวิศวกรรมศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยี - หลักสูตรวิทยาศาสตร์

อินโดนีเซีย: Sekolah Ilmu dan Teknologi Hayati - Program Rekayasa (SITH-R)

  • วิศวกรรมชีวภาพ
  • วิศวกรรมเกษตร
  • วิศวกรรมป่าไม้
  • เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
คณะธรณีศาสตร์และเทคโนโลยี

อินโดนีเซีย: Fakultas Ilmu dan Teknologi Kebumian (FITB)

  • วิศวกรรมธรณีวิทยา
  • วิศวกรรมธรณีศาสตร์และภูมิสารสนเทศ
  • อุตุนิยมวิทยา
  • สมุทรศาสตร์
คณะวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม

อินโดนีเซีย: Fakultas Teknik Pertambangan dan Perminyakan (FTTM)

  • วิศวกรรมเหมืองแร่
  • วิศวกรรมปิโตรเลียม
  • วิศวกรรมธรณีฟิสิกส์
  • วิศวกรรมโลหะการ
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

อินโดนีเซีย: Fakultas Teknologi Industri (FTI)

  • วิศวกรรมเคมี
  • วิศวกรรมฟิสิกส์
  • วิศวกรรมอุตสาหการ
  • การจัดการด้านวิศวกรรม
  • วิศวกรรมอาหาร
  • วิศวกรรมชีวพลังงานและเคมีภัณฑ์
โรงเรียนวิศวกรรมไฟฟ้าและสารสนเทศศาสตร์

อินโดนีเซีย: Sekolah Teknik Elektro dan Informatika (STEI)

  • วิศวกรรมไฟฟ้า
  • วิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมซอฟต์แวร์
  • วิศวกรรมพลังงาน
  • วิศวกรรมโทรคมนาคม
  • ระบบสารสนเทศ
  • วิศวกรรมชีวการแพทย์
คณะวิศวกรรมศาสตร์เครื่องกลและการบิน

อินโดนีเซีย: Fakultas Teknik Mesin dan Dirgantara (FTMD)

  • วิศวกรรมเครื่องกล
  • วิศวกรรมการบิน
  • วิศวกรรมวัสดุ
คณะวิศวกรรมศาสตร์โยธาและสิ่งแวดล้อม

อินโดนีเซีย: Fakultas Teknik Sipil dan Lingkungan (FTSL)

  • วิศวกรรมโยธา
  • วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
  • วิศวกรรมมหาสมุทร
  • วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ
  • วิศวกรรมบำบัดน้ำ
โรงเรียนสถาปัตยกรรมศาสตร์ การวางแผนและการพัฒนานโยบาย

อินโดนีเซีย: Sekolah Arsitektur, Perancangan, dan Pengembangan Kebijakan (SAPPK)

  • สถาปัตยกรรม
  • การวางผังเมือง

กลุ่มสังคมศาสตร์, ศิลปศาสตร์ และมนุษยศาสตร์

คณะศิลปกรรมและการออกแบบ

อินโดนีเซีย: Fakultas Seni Rupa dan Desain (FSRD)

  • วิจิตรศิลป์
  • งานฝีมือ
  • การออกแบบการสื่อสารด้วยภาพ
  • การออกแบบภายใน
  • การออกแบบผลิตภัณฑ์
โรงเรียนบริหารธุรกิจและการจัดการ

อินโดนีเซีย: Sekolah Bisnis dan Manajemen (SBM)

คณะศิลปกรรมและการออกแบบ

คณะศิลปกรรมและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีบันดุง เป็นคณะสำหรับการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโทด้านศิลปะภาพและการออกแบบของอินโดนีเซีย เป้าหมายทางวิชาการของ FSRD ITB คือการมอบการศึกษา การวิจัย และบริการชุมชนที่มีคุณภาพสูงขึ้นในทุกสาขาของศิลปะภาพและการออกแบบ[17] ในปี ค.ศ. 2022 หลักสูตรศิลปะและการออกแบบของคณะศิลปกรรมและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีบันดุง ได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 20 โรงเรียนศิลปะและการออกแบบชั้นนำในภูมิภาคเอเชียโดย QS World University Rankings [18]

บุคลากรและศิษย์เก่าที่สำคัญ

สถาบันเทคโนโลยีบันดุง ผลิตศิษย์เก่ามากกว่า 120,000 รายซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างชาติ โดยรวมถึง: [19]

รายการอ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Webmaster Team, Unit Sumber Daya Informasi ITB. "ITB - Fakta dan Angka". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 July 2015. สืบค้นเมื่อ 25 July 2015.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Biro Administrasi Umum dan Informasi ITB. "Data Mahasiswa per jenjang". สืบค้นเมื่อ 2 January 2024.
  3. "Siskumdang - ITB - Document Details - SK Rektor No. 324/SK/K01/OT/2008". itb.ac.id. 18 December 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 December 2012. สืบค้นเมื่อ 10 April 2018.
  4. CMYK 100,70,0,0 http://www.colorhexa.com/004dff
  5. The quest for the ultimate architecture Indonesia in the late colonial period , pac-nl.org
  6. "Usia ITB Genap 100 Tahun, Begini Sejarah Singkatnya". Bandung Kita (ภาษาอินโดนีเซีย). 2020-07-03. สืบค้นเมื่อ 2020-07-25.
  7. "PP 155-2000::Penetapan ITB sebagai BHMN". ngada.org (ภาษาอินโดนีเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-25. สืบค้นเมื่อ 2020-07-25.
  8. 8.0 8.1 Indonesia, C. N. N. "Reini Wirahadikusumah, Rektor Perempuan Pertama ITB". teknologi (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2024-01-29.
  9. ITB, Webmaster Team, Direktorat Sistem dan Teknologi Informasi. "Fakta dan Angka -". Institut Teknologi Bandung (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2020-07-25.
  10. Ernis, Devy (2023-03-29). "ITB Pindahkan Kegiatan Akademik Mahasiswa Baru 2023 ke Kampus Jatinangor". Tempo (ภาษาIndonesian). สืบค้นเมื่อ 2023-04-18.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  11. ITB, Webmaster Team, Direktorat Sistem dan Teknologi Informasi. "Kampus ITB Jatinangor Bersiap Sambut Kedatangan Mahasiswa TPB -". Institut Teknologi Bandung (ภาษาIndonesian). สืบค้นเมื่อ 2023-04-18.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  12. "World University Rankings 2023". Times Higher Education (ภาษาอังกฤษ). 4 October 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-10-14.
  13. https://siswa.smkdarunnajah.sch.id/[ลิงก์เสีย]
  14. Peringkat Ranking Sekolah Bisnis Terbaik di Indonesia | blog strategi + manajemen
  15. "ITB plans Rp 110b research center". December 2, 2011.
  16. ITB, Webmaster Team, Direktorat Sistem dan Teknologi Informasi. "Fakultas dan Sekolah -". Institut Teknologi Bandung (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2020-07-25.
  17. Academic Report 2014: Faculty of Art & Design, Bandung Institute of Technology. Bandung Institute of Technology. 2014. pp. 6–7. ISBN 9786029815023.
  18. "QS World University Rankings for Art & Design 2022". Top Universities (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-01-05.
  19. inspiraloka (2019-08-11). "100 Alumni ITB (Institut Teknologi Bandung) yang Paling Terkenal". Inspiraloka (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2020-07-25.
  20. "Vice President - President of Indonesia Collection Website". kepustakaan-presiden.perpusnas.go.id. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-25. สืบค้นเมื่อ 2020-06-22.
  21. Adiguna, J. (October 25, 2011). "Indonesia's 2011 queen". The Jakarta Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 October 2011. สืบค้นเมื่อ 25 October 2011.
  22. "Maria Selena Crowned as New Miss Indonesia". Jakarta Globe. October 8, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 November 2011. สืบค้นเมื่อ 25 October 2011.
  23. Sheehan, Susan (June 13, 2017). "Ridwan Kamil Turns an Unconventional Home in Indonesia Into an Ingenious Recycling System". Architectural Digest. No. September 2009. สืบค้นเมื่อ 28 December 2020.
  24. "Ridwan Kamil". 19 June 2020.
  25. Wissema, J. G. (2009-01-01). Towards the Third Generation University: Managing the University in Transition (ภาษาอังกฤษ). Edward Elgar Publishing. ISBN 978-1-84844-618-2.
  26. "Biografi Presiden Soekarno" (ภาษาอินโดนีเซีย). Biografi Tokoh. 19 October 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-23. สืบค้นเมื่อ 2024-09-30.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya