Share to:

 

สถาปัตยกรรมอิหร่าน

หอคอยอาซาดิ เตหะราน สถาปัตยกรรมของอิหร่านยุคใหม่

สถาปัตยกรรมอิหร่าน หรือ สถาปัตยกรรมเปอร์เซีย (อังกฤษ: Iranian architecture หรือ Persian architecture; เปอร์เซีย: معمارى ایرانی, Memāri e Irāni) คือสถาปัตยกรรมของประเทศอิหร่านและหลายส่วนของเอเชียตะวันตก คอเคซัส และเอเชียกลาง มีประวัติย้อนไปอย่างน้อยถึง 5,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นแบบฉบับอันเป็นเอกลักษณ์ส่งผลไปอย่างกว้างขวาง ทั้งตุรกี อิรัก จนถึงอุซเบกิสถานและทาจิกิสถาน และจากคอเคซัสจนถึงแซนซิบาร์ อาคารแบบเปอร์เซียมีความหลากหลายตั้งแต่กระท่อมของชาวไร่ชาวนาจนถึงโรงน้ำชา และศาลาในสวน จนถึง "โครงสร้างอันยิ่งใหญ่ที่โลกได้เห็น"[1] นอกจากนั้นประตูโบราณ พระราชวัง มัสยิด กระนั้นเมืองที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วอย่าง เตหะราน ได้นำคลื่นการทำลาย ส่งผลให้เกิดสิ่งก่อสร้างใหม่

สถาปัตยกรรมอิหร่านมีความหลากหลายอย่างยิ่ง ทั้งในแง่โครงสร้างและความงาม ตั้งแต่แบบดั้งเดิมที่เคยเห็นชินตา มิได้มีนว้ตกรรมแบบฉับพลัน อย่างไรก็ตาม แผลซ้ำ ๆ จากการถูกรุกรานและการตกตะลึงทางวัฒนธรรม ได้ทำให้ "มีรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์ต่างจากประเทศมุสลิมอื่น"[2] ตัวอย่างงานที่สำคัญ "ได้สร้างความรู้สึกให้กับรูปทรงและมาตราส่วน ความคิดสร้างสรรค์ทางโครงสร้าง โดยเฉพาะในโครงสร้างทรงโค้งและโดม การตกแต่งอย่างชาญฉลาดซึ่งมากับความเป็นอิสรภาพและประสบความสำเร็จอย่างหาสถาปัตยกรรมอื่นใดมาเปรียบเทียบได้"[3]

อ้างอิง

  1. Arthur Upham Pope. Introducing Persian Architecture. Oxford University Press. London. 1971. p.1
  2. Arthur Upham Pope. Persian Architecture. George Braziller, New York, 1965. p.266
  3. Arthur Upham Pope. Persian Architecture. George Braziller, New York, 1965. p.266
Kembali kehalaman sebelumnya