สมการของล็อนด็อนสมการของล็อนด็อน พัฒนาโดยพี่น้อง ฟริทซ์และไฮนทซ์ ล็อนด็อน ในปี ค.ศ. 1935 เกี่ยวข้องกับเรื่องกระแสไฟฟ้าในสนามแม่เหล็กไฟฟ้าภายในหรือรอบ ๆ ตัวนำยวดยิ่ง กล่าวกันว่าสมการนี้เป็นคำอธิบายปรากฏการณ์สภาพนำยวดยิ่งที่ง่ายที่สุด และสามารถอธิบายปรากฏการณ์ไมส์เนอร์ได้[1] สมการ: ∇2 B= B/ λL2 ) และ ∇2 J= J/ λL 2 ....... (1) โดย λL เป็นค่าคงตัวใด ๆ ที่ต่อมาถูกเรียกว่าความลึกซาบซึมได้ของล็อนด็อน (London penetration depth) เป็นตัวแปรแบบ Phenomenological parameter การหาคำตอบจากสมการ (1) จะขึ้นกับลักษณะรูปร่างและเงื่อนไขขอบเขตของปัญหาที่สนใจ แต่อย่างไรก็ตามคำตอบจะอยู่รูป B =B_0 e(-x/ λL) เมื่อพิจารณาระยะทางตามแกน x แสดงว่าสนามแม่เหล็กสามารถทะลุเข้าไปในเนื้อตัวนำยวดยิ่งได้ λL หน่วย จึงจะมีค่าสนามแม่เหล็ก (B) ลดลงเหลือเป็น B/e โดย e = 2.718 อ้างอิง
|