ศาสนาเชนและศาสนาพุทธเป็นศาสนาแบบสมณะ
สมณะ (สันสกฤต: श्रमण ศฺรมณ; บาลี: สมณ) แปลว่า ผู้สงบ ผู้แสวงหา นักพรต[1] เป็นขบวนการศาสนาแบบอินเดียสมัยโบราณที่คู่ขนานไปกับศาสนาพราหมณ์ และเป็นต้นกำเนิดของศาสนาเชน ศาสนาพุทธ[3] รวมถึงลัทธิอาชีวกและลัทธิจารวาก[4][5]
พัฒนาการทางศาสนาที่สำคัญที่เกิดจากขบวนการสมณะ ได้แก่ การฝึกโยคะ สังสารวัฏ และโมกษะ ซึ่งยังแพร่หลายในศาสนาแบบอินเดียจวบจนปัจจุบัน[6]
ขบวนการสมณะมีแนวความเชื่อและปฏิบัติแตกต่างกัน เช่น บางกลุ่มเชื่อเรื่องอัตตา แต่บางกลุ่มเชื่อเรื่องอนัตตา บางกลุ่มเชื่อเรื่องกรรมเก่า แต่บางกลุ่มเชื่อเรื่องเจตจำนงเสรี บางกลุ่มนุ่งผ้ากาสาวพัสตร์ แต่บางกลุ่มเปลือยกาย บางกลุ่มเน้นหลักอหิงสามากถึงขั้นถือมังสวิรัติ แต่บางกลุ่มเห็นว่ากินเนื้อได้[7][8]
อ้างอิง
- เชิงอรรถ
- ↑ Monier Monier-Williams, श्रमण zramaNa, Sanskrit-English Dictionary, Oxford University Press, page 1096
- ↑ Svarghese, Alexander P. 2008. India : History, Religion, Vision And Contribution To The World. p. 259-60.
- ↑ AL Basham (1951), History and Doctrines of the Ajivikas - a Vanished Indian Religion, Motilal Banarsidass, ISBN 978-8120812048, pages 94-103
- ↑ James G. Lochtefeld (2002). The Illustrated Encyclopedia of Hinduism: N-Z, Volume 2 of The Illustrated Encyclopedia of Hinduism. The Rosen Publishing Group. p. 639. ISBN 9780823922871.
- ↑ Flood, Gavin. Olivelle, Patrick. 2003. The Blackwell Companion to Hinduism. Malden: Blackwell. pg. 273-4.
- ↑ Padmanabh S Jaini (2001), Collected papers on Buddhist Studies, Motilal Banarsidass, ISBN 978-8120817760, pages 57-77
- ↑ Padmanabh S Jaini (2000), Collected papers on Jaina Studies, Motilal Banarsidass, ISBN 978-8120816916, pages 3-14
- บรรณานุกรม