สมมุติฐานว่างในสถิติศาสตร์อนุมาน คำว่า "สมมุติฐานว่าง" (อังกฤษ: null hypothesis) ปกติหมายถึงประพจน์ทั่วไปหรือฐานะโดยปริยายว่าไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างสองปรากฏการณ์ที่วัด หรือไม่มีความแตกต่างในกลุ่ม[1] การปฏิเสธหรือหักล้างสมมุติฐานว่าง หรือคือสรุปว่ามีเหตุผลเชื่อได้ว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างสองปรากฏการณ์ เป็นงานศูนย์กลางของการปฏิบัติวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ และกำหนดเกณฑ์แม่นยำสำหรับการปฏิเสธสมมุติฐานหนึ่ง โดยทั่วไปสันนิษฐานว่าสมมุติฐานว่างว่าเป็นจริงจนหลักฐานชี้เป็นอื่น ในวิชาสถิติศาสตร์ มักย่อเป็น H0 มโนทัศน์สมมุติฐานว่างใช้แตกต่างกันในแนวเข้าสู่การอนุมานเชิงสถิติสองอย่าง ในแนวเข้าสู่การทดสอบนัยสำคัญของโรนัลด์ ฟิชเชอร์ (Ronald Fisher) จะปฏิเสธสมมุติฐานว่างบนพื้นฐานข้อมูลซึ่งไม่น่าเป็นไปได้อย่างสำคัญว่าสมมุติฐานว่างเป็นจริง แต่ไม่มีการยอมรับหรือพิสูจน์สมมุติฐานว่าง แบบนี้คล้ายกับการพิจารณาคดีอาญา ซึ่งสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ (ไม่ปฏิเสธสมมุติฐานว่าง) จนกว่างถูกพิสูจน์ว่ามีความผิด (ปฏิเสธสมมุติฐานว่าง) นอกเหนือจากข้อสงสัยอันมีเหตุผล (มีนัยสำคัญทางสถิติ) ในแนวเข้าสู่การทดสอบสมมุติฐานของเจอร์ซี เนย์แมน (Jerzy Neyman) และอีกอน เพียร์สัน (Egon Pearson) สมมุติฐานว่างจะขัดแย้งกับสมมุติฐานทางเลือก และสมมุติฐานทั้งสองมีความต่างกันบนพื้นฐานของข้อมูล โดยมีอัตราความผิดพลาดแน่นอน ผู้สนับสนุนแนวเข้าสู่ทั้งสองต่างวิจารณ์กันและกัน ทว่า ปัจจุบันแนวเข้าสู่ผสมมีการใช้แพร่หลายและปรากฏในตำรา แต่แนวเข้าสู่ผสมก็ถูกวิจารณ์ว่าไม่ถูกต้องและไม่ปะติดปะต่อ อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |