สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ นามเดิม ฟื้น พลายภู่ ฉายา ชุตินฺธโร (20 มีนาคม พ.ศ. 2448 - 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539) เป็นสมเด็จพระราชาคณะ อดีตเจ้าคณะใหญ่หนกลาง อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม อดีตแม่กองบาลีสนามหลวง และอดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา
ชาติภูมิ
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ นามเดิมว่า ฟื้น พลายภู่ เกิดเมื่อวันอังคารที่ 3 แรม 11 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเส็ง เวลา 07.30 น. ตรงกับวันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2448 ที่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านคลองสะแก ตำบลคลองสะแก อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายฟุ้ง พรายภู่ และนางกัง พรายภู่
บรรพชาและอุปสมบท
บรรพชา
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 17 ปี เมื่อ พ.ศ. 2465 ปีจอ ณ พัทธสีมาวัดสามพระยา ตำบลวัดสามพระยา อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร โดยมีพระธรรมดิลก (ขาว เขมโก) ครั้งยังดำรงสมณศักดิ์เป็นพระสุธรรมธีรคุณ เจ้าอาวาสวัดสามพระยา เป็นพระอุปัชฌาย์
อุปสมบท
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2469 ณ พัทธสีมาวัดสามพระยา ตำบลวัดสามพระยา อำเภอพระนคร จังหวัพระนคร โดยมี พระธรรมดิลก (ขาว เขมโก) ครั้งยังดำรงสมณศักดิ์เป็น พระสุธรรมธีรคุณ เจ้าอาวาสวัดสามพระยา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูปลัดผาด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระมหาสละ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
วิทยฐานะ
หน้าที่การงาน
ด้านการปกครอง
- พ.ศ. 2481
- เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดสามพระยา
- เป็นเจ้าอาวาสวัดสามพระยา[1]
- เป็นเจ้าคณะหมวดบางขุนพรหม แขวงกลาง จังหวัดพระนคร
- เป็นรองเจ้าคณะมณฑลพิษณุโลก
- เป็นผู้ทำการแทนเจ้าคณะมณฑลพิษณุโลก
- พ.ศ. 2482
- เป็นเจ้าคณะมณฑลเหนือ
- เป็นเจ้าคณะอำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี
- พ.ศ. 2484
- เป็นสมาชิกสังฆสภา
- เป็นหัวหน้าพระธรรมธร
- พ.ศ. 2501 เป็นคณะกรรมการพิจารณาข้อบกพร่องของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484
- พ.ศ. 2502 เป็นคณะกรรมการพิจารณาแก้ไข เพิ่มเติม ตัดทอน ข้อบกพร่องของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484
- พ.ศ. 2503
- เป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การศึกษา[2]
- เป็นคณะกรรมการสังฆาณัติระเบียบพระคณาธิการ (ก.ส.พ.)
- เป็นคณะกรรมการดำเนินการสร้างธรรมสภา
- พ.ศ. 2504
- เป็นคณะกรรมการอำนวยการตั้งโรงเรียนพระคณาธิการ
- เป็นคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุง แก้ไข สังฆาณัติ ระเบียบพระคณาธิการ พ.ศ. 2486
- เป็นคณะกรรมการยกร่างหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี
- พ.ศ. 2485 - 2516 เป็นเจ้าคณะจังหวัดพระนคร
- พ.ศ. 2506 - 2513 เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม
- พ.ศ. 2506
- เป็นคณะอนุกรรมการร่างกฎมหาเถรสมาคม ว่าด้วยระเบียบการประชุมมหาเถรสมาคม
- เป็นคณะอนุกรรมการร่างกฎมหาเถรสมาคม ว่าด้วยการกำหนดหน้าที่ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2506
- เป็นคณะอนุกรรมการพิจารณาร่างกฎมหาเถรสมาคม ว่าด้วยเขตและอำนาจหน้าที่ในการปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค
- พ.ศ. 2507
- เป็นประธานอนุกรรมการพิจารณาร่างระเบียบการเดินทางไปต่างประเทศของพระภิกษุสามเณร (ศ.ต.ภ.)
- เป็นประธานอนุกรรมการพิจารณาศาสนสมบัติกลางประจำ (พ.ส.ป.)
- พ.ศ. 2507 - 2508 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะภาค 1 - 18
- พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2539 ไดัรับพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะใหญ่หนกลาง
งานการศึกษา
- พ.ศ. 2470 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี สำนักเรียนวัดสามพระยา
- พ.ศ. 2473 เป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง
- พ.ศ. 2480 เป็นกรรมการตรวจบาลีสนามหลวง
- พ.ศ. 2489 เป็นผู้อำนวยการสำนักอบรมสงฆ์ (ส.อ.ส)วัดสามพระยา
- พ.ศ. 2495 เป็นผู้อำนวยการสภาการศึกษาแห่ง ส.อ.ส
- พ.ศ. 2503 เป็นแม่กองบาลีสนามหลวง
สมณศักดิ์
มรณภาพ
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) ได้ถึงแก่มรณภาพด้วยภาวะออกซิเจนในเส้นเลือดต่ำผิดปกติ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 เวลา 09:19 น. ณ โรงพยาบาลศิริราช สิริรวมอายุได้ 90 ปี 333 วัน พรรษา 69 มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
อ้างอิง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกกรมธรรมการ เรื่อง ตั้งเจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดสามพระยา, เล่ม 55, ตอน 0 ง, 23 พฤษภาคม 2481, หน้า 408
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ ตั้งคณะสังฆมนตรี, เล่ม 77, ตอน 41 ง, 17 พฤษภาคม 2503, หน้า 1438
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ 2481
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ 2491
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ 2500
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 80, ตอน 122 ฉบับพิเศษ, 27 ธันวาคม 2506, หน้า 12-15
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์ (พระธรรมปัญญาบดี เป็นสมเด็จพระราชาคณะ , พระพรหมมุนี เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ประกาศ ณ วันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๘)
แหล่งข้อมูลอื่น