Share to:

 

สรวาสติวาท

แนวปฏิบัติของศาสนาพุทธแบบทิเบต โดยธรรมเนียมแล้วยึดถือตามวินัยของนิกายสรวาสติวาท

สรวาสติวาท (สันสกฤต: सर्वास्तिवाद) หรือ สัพพัตถิกวาท (บาลี: สพฺพตฺถิกวาท) เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายสาวกยาน ที่พระอุปคุตก่อตั้งขึ้น คัมภีร์ทีปวงศ์ระบุว่านิกายนี้แยกมาจากมหีศาสกะ ส่วนหลักฐานฝ่ายสันสกฤตกล่าวว่าแยกมาจากนิกายเถรวาทโดยตรง นิกายนี้แพร่หลายไปทั่วอินเดียกลางและอินเดียเหนือ รวมทั้งแพร่หลายไปสู่เอเชียกลางและประเทศจีนด้วย หลักธรรมของนิกายนี้เขียนด้วยภาษาสันสกฤต นิกายนี้ในญี่ปุ่นเรียกว่านิกายกุชา

หลักธรรมโดยทั่วไปใกล้เคียงกับเถรวาท แต่ต่างกันที่ว่านิกายนี้ถือว่า ขันธ์ห้าเป็นของมีอยู่จริง (ในระดับสมมุติสัจจะ) พระอรหันต์เสื่อมได้ สิ่งทั้งหลายมีอยู่และเป็นอยู่ในลักษณะสืบต่อ

นิกายสรวาสติวาทมองว่า ความจริงมีสองระดับ

  1. สมมุติสัจจะ เป็นความจริงระดับสมมุติ เป็นความจริงแบบโลก จัดเป็นสังขตธรรม เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยอาศัยเหตุปัจจัย
  2. ปรมัตถสัจจะ เป็นสิ่งสมบูรณ์ในตัวเอง ไม่ต้องอาศัยสิ่งอื่น เรียกว่าอสังขตธรรม ได้แก่ พระนิพพาน

นิกายนี้ถือตามคัมภีร์มหาวิภาษซึ่งเป็นอรรถกถาของคัมภีร์ชญานปรัสถานเป็นหลัก[1] คัมภีร์ของนิกายนี้มีผู้แปลเป็นภาษาจีนและภาษาทิเบตไว้มาก พระภิกษุในทิเบตปัจจุบันถือวินัยของนิกายนี้

อ้างอิง

  • อภิชัย โพธิ์ประสิทธิ์ศาสตร์. พระพุทธศาสนามหายาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กทม. มหามกุฏราชวิทยาลัย. 2539
  1. ฟื้น ดอกบัว.ปวงปรัชญาอินเดีย. กทม. ศยาม. 2555 หน้า 367 - 368
Kembali kehalaman sebelumnya