สัญลักษณ์พาราลิมปิก จะมีไอคอน, ธง, และอื่น ๆ ที่ใช้ในคณะกรรมการพาราลิมปิกสากล สำหรับการส่งเสริมกีฬาพาราลิมปิก
คำขวัญ
คำขวัญของกีฬาพาราลิมปิกคือ "สปิริตทุกการกระทำ" (Spirit in Motion) คำขวัญนี้ใช้ในปี พ.ศ. 2547 ในการแข่งขันพาราลิมปิกที่กรุงเอเธนส์[ 1] คำขวัญในอดีตคือ "ใจ, กาย, สปริต" (Mind, Body, Spirit) ซึ่งในในปี พ.ศ. 2537[ 1]
ตราสัญลักษณ์พาราลิมปิก
ตราสัญลักษณ์พาราลิมปิกรุ่นใหม่
ตราสัญลักษณ์พาราลิมปิกประกอบด้วย 3 สี "แอจิโทซ" ได้แก่สี แดง, น้ำเงิน และเขียว อยู่ในลักษณะเดี่ยว ในพื้นหลังสีขาว แอจิโทซ ("ฉันเคลื่อน" ในภาษาละติน ) คือตราสัญลักษณ์ที่มีลักษณะเคลื่อนไหวด้วยเป็นขนาดเสี้ยวที่ไม่สมมาตร ตราสัญลักษณ์นี้สร้างขึ้นโดยบริษัทซโลช & เฟรน์ และได้รับการบรรจุเป็นตราสัญลักษณ์เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2546[ 1] [ 2]
สีของแอจิโทซซึ่งมีลักษณะพื้นหลังสีขาวและสีต่าง ๆ อีกสามสี ซึ่งธงชาติทั่วโลกส่วนมากก็ใช้สีแอจิโทซ สามสีของตราสัญลักษณ์อยู่บนตรงกลาง หมายถึง "บทบาทของคณะกรรมการพาราลิมปิกสากล (IPC) ที่นำนักกีฬาพิการทั่วทุกมุมโลก มาแข่งขันกันเพื่อชัยชนะ" รูปร่างเสี้ยวที่ไม่สมมาตรซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์มีวิสัยทัศน์ คือ "เพื่อให้นักกีฬาพาราลิมปิกมีความเป็นเลิศทางด้านกีฬาและให้นักกีฬามีความตื่นเต้นกับโลกอันสดใส"[ 1] [ 2]
ตราสัญลักษณ์พาราลิมปิกถูกตีพิมพ์ลงมาสู่ผลิตภันณฑ์ต่าง ๆ ครั้งแรง ในปี พ.ศ. 2546 เนื่องจากเวลาการแข่งขันมีอย่างจำกัด ทำให้ก่อนการแข่งขันพาราลิมปิกที่กรุงเอเธนส์ ในปี พ.ศ. 2547 สัญลักษณ์อันใหม่นี้จึงไม่ได้ใช้ในการแข่งขัน อย่างไรก็ตาม การปิดการแข่งขันในการแข่งขันพาราลิมปิกในครั้งนี้ ปักกิ่งได้มอบธงพาราลิมปิกที่มีตราสัญลักษณ์พาราลิมปิกใหม่ให้ด้วย[ 3] สัญลักษณ์ใหม่นี้จึงได้ใช้ในการแข่งขันพาราลิมปิกฤดูร้อน 2008 เป็นครั้งแรก[ 4]
ตราสัญลักษณ์พาราลิมปิกรุ่นแรก (พ.ศ. 2531–2537) ใช้ 5 ปา
ตราสัญลักษณ์พาราลิมปิกรุ่นสอง (พ.ศ. 2537–2547) ใช้ 3 ปา
สัญลักษณ์พาราลิมปิก
แต่ละการแข่งขันพาราลิมปิก มักต้องมีสัญลักษณ์เป็นของตัวเอง เมืองที่ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจะต้องสร้างสัญลักษณ์พาราลิมปิกเป็นของตัวเอง[ 5] การออกแบบจะต้องมีตราสัญลักษณ์พาราลิมปิก, ชื่อการแข่งขัน และสิ่งที่โดดเด่นในประเทศเจ้าภาพอย่างน้อยหนึ่งอย่าง
คณะกรรมการพาราลิมปิกสากล (IPC) จะเป็นผู้อนุมัติให้สามารถใช้สัญลักษณ์พาราลิมปิกในการแข่งขันนั้นได้ สัญลักษณ์พาราลิมปิกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการโปรโมตสินค้า และนำไปติดบนเสื้อผ้าของนักกีฬาพาราลิมปิกทุกคน ทุกตราสัญลักษณ์พาราลิมปิกล้วนแล้วเป็นทรัพย์สินของ IPC
ธง
คณะกรรมการพาราลิมปิกสากล พาราลิมปิกอากิโทส การใช้ กีฬา สัดส่วนธง 3:5 หรือ 1:2 ประกาศใช้ 20 ตุลาคม 2019
ธงของพาราลิมปิกมีลักษณะพื้นหลังสีขาว และตรงกลางเป็นสัญลักษณ์ของพาราลิมปิก
ธงพาราลิมปิกในปัจจุบันถูกเชิญขึ้นสู่เสาครั้งแรงในการแข่งขันพาราลิมปิกฤดูหนาว ณ แวนคูเวอร์ ในปี พ.ศ. 2553
คบเพลิงและการวิ่งคบเพลิง
ไฟจากกระถางคบเพลิงที่ใช้ในการแข่งขันพาราลิมปิกฤดูร้อน 2000
เมื่อถึงการแข่งขันพาราลิมปิกฤดูหนาว 2010 ประเทศเจ้าภาพได้มีการเสนอแนวคิดในการจุดคบเพลิงขึ้นในพาราลิมปิก[ 14] เมื่อการแข่งขันพาราลิมปิกฤดูร้อน 2012 ได้มีการเสนอแนวคิดในการวิ่งคบเพลิง โดยจะนำไฟมาจากประเทศเจ้าภาพนั้น โดยการวิ่งคบเพลิงประเทศเจ้าภาพจะเป็นผู้กำหนดเส้นทางในการวิ่งคบเพลิง 1–2 วันก่อนที่จะนำไฟไปจุดบนกระถางคบเพลิงนั้น การวิ่งคบเพลิงจำเป็นที่จะต้องอยู่ในเมืองที่มีการเปิดมหกรรมพาราลิมปิกในเมืองเจ้าภาพนั้น ๆ เมื่อพิธีเปิดเริ่มขึ้นก็จะนำคบเพลิงไปจุดที่กระถางคบเพลิง พอถึงพิธีปิดการแข่งขัน ก็จะดับไฟบนกระถางคบเพลิงลง ถือว่าเป็นการปิดการแข่งขันอย่างเป็นทางการ[ 15] [ 16]
เหรียญรางวัล
เหรียญรางวัลพาราลิมปิกของอิน ชาร์ป จากการแข่งขันที่ซิดนีย์ พ.ศ. 2543
เหรียญรางวัลพาราลิมปิกถือเป็นรางวัลของการแข่งขันพาราลิมปิก โดยที่มีเหรียญ 3 เหรียญ ได้แก่ เหรียญเงินชุบทอง (ส่วนใหญ่มักเรียกว่า เหรียญทอง), เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง ซึ่งจะมอบให้กับผู้ชนะ 3 คนสุดท้ายของการแข่งขันนั้น ๆ
สำหรับการแข่งขันพาราลิมปิก เหรียญรางวัลจะถูกออกแบบมาเพื่อสะท้อนถึงกีฬาเจ้าภาพ
เพลงสดุดี
เพลงชาติประจำพาราลิมปิก หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า เพลงสดุดีพาราลิมปิก เป็นเพลงที่ใช้บรรเลงเมื่อมีการเชิญธงพาราลิมปิกขึ้นสู่ยอดเสา เพลงนี้เป็นเพลงบรรเลงในตอนแรก และใช้ชื่อว่า "Hymne de l’Avenir" ( "เพลงชาติแห่งอนาคต") ประพันธ์ทำนองโดย ทีเลอร์ นานิส จนในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2539 IPC ได้อนุมัติให้เพลงนี้เป็นเพลงประจำพาราลิมปิก[ 17]
ในเวลาต่อมา นักร้องสาวชาวออสเตรเลีย แจรม คาร์เนอร์ ได้เป็นผู้ประพันธ์คำร้องขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2544[ 18]
คำปฏิญาณพาราลิมปิก
คำปฏิญาณพาราลิมปิก ถือเป็นการกล่าวคำสัญญา โดยจะมีตัวแทนที่พูดอย่างน้อย 3 คน ได้แก่ ตัวแทนนักกีฬา, ผู้ฝึกสอน และเจ้าหน้าที่ ซึ่งจะกล่าวคำปฏิญาณในช่วงเปิดมหกรรรมการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกนั้น ๆ
นักกีฬาที่จะกล่าวคำปฏิญาณจะถูกคัดเลือกจากประเทศเจ้าภาพ พร้อมกับถือธงพาราลิมปิก โดยจะกล่าวคำดังต่อไปนี้:
คำปฏิญาณนักกีฬา
"In the name of all the competitors, I promise that we shall take part in these Paralympic Games, respecting and abiding by the rules which govern them, committing ourselves to a sport without doping and without drugs, in the true spirit of sportsmanship for the glory of sport and the honor of our teams."[ 19]
คำแปล : "ในนามของผู้แข่งขันทั้งหมด เราจะขอสัญญาว่า เราจะมีส่วนรวมและเคารพในการแข่งขันพาราลิมปิกในครั้งนี้ เราจะเล่นกีฬาโดยปราศจากสารกระตุ้นทั้งหมด เราจะเล่นกีฬาโดยมีจิตวิญญาณอันบริสุทธิ์ เพื่อเป็นเกียรติศักดิ์แก่ทีมของเราเอง"
เจ้าหน้าที่ที่จะกล่าวคำปฏิญาณ ยังมาจากประเทศเจ้าภาพ โดยที่จะถือผืนธงตรงมุม การกล่าวคำปฏิญาณอาจจะแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย:
คำปฏิญาณผู้ตัดสิน (คำปฏิญาณเจ้าหน้าที่ )
"In the name of all the judges and officials, I promise that we shall officiate in these Paralympic Games with complete impartiality, respecting and abiding by the rules which govern them, in the true spirit of sportsmanship."[ 20]
คำแปล : "ในนามของผู้ตัดสินและเจ้าหน้าที่ทั้งหมด เราสัญญาว่า เราจะปฏิบัติหน้าที่ในการแข่งขันพาราลิมปิกในครั้งนี้อย่างเที่ยงธรรม เราจะเคารพและปฏิบัติตามกฎ เราจะปฏิบัติหน้าที่โดยมีจิตวิญญาณอันบริสุทธิ์"
ผู้ฝีกสอนที่จะกล่าวคำปฏิญาณ ยังมาจากประเทศเจ้าภาพ โดยที่จะถือผืนธงตรงมุม การกล่าวคำปฏิญาณอาจจะแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย:
คำปฏิญาณผู้ฝึกสอน
"In the name of all coaches and other members of the athletes entourage, I promise that we shall commit ourselves to ensuring that the spirit of sportsmanship and fair play is fully adhered to and upheld in accordance with the fundamental principles of the Paralympic movement."
คำแปล : "ในนามของผู้ฝึกสอนและสมาชิกผู้ติดตามนักกีฬาทั้งหมด เราขอสัญญาว่า เราจะให้นักกีฬานั้น เล่นกีฬาโดยมีจิตวิญญาณอันบริสุทธิ์ และเล่นตรงไปตรงมา เราจะทำเต็มที่เพื่อให้สอดคล้องกับการแข่งขันพาราลิมปิก"
ผู้กล่าว
ข้างล่างนี้คือรายชื่อผู้ที่ได้กล่าวคำปฏิญาณ[ 19] [ 21]
รางวัลพิเศษพาราลิมปิก
รางวัลพิเศษพาราลิมปิก ถือเป็นรางวัลสูงสุดของการแข่งขันพาราลิมปิก ผู้ที่ได้รับเหรียญนี้จะได้ตราสัญลักษณ์ของคณะกรรมการพาราลิมปิกนานาชาติอีกด้วย คุณสมบัติของผู้ได้รับรางวัลพิเศษพาราลิมปิก คือ การช่วยเหลืออันเป็นประโยชน์ต่อวงการพาราลิมปิก[ 27] [ 28]
ตัวนำโชค
แต่ละการแข่งขันพาราลิมปิกจะต้องมีตัวนำโชคของประเทศเจ้าภาพ โดยตัวนำโชตอาจสื่อถึงสัตว์ประจำชาติ หรือเหตุการต่าง ๆ ในประเทศเจ้าภาพนั้น ๆ ปัจจุบันได้มีการผลิตสินค้าตัวนำโชค เพื่อให้เยาวชนสนใจในการแข่งขันพาราลิมปิก
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "New Logo and Motto for IPC" . International Paralympic Committee. 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 6 April 2008. สืบค้นเมื่อ 18 August 2015 .
↑ 2.0 2.1 International Paralympic Committee – The IPC logo, motto and flag , CRWFlags.com
↑ New Logo and Motto for IPC เก็บถาวร 6 เมษายน 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , International Paralympic Committee (IPC)
↑ Firsts at the Torino 2006 Paralympic Winter Games , International Paralympic Committee (IPC)
↑ Paralympic Emblems เก็บถาวร 4 มีนาคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , The Official Website of the Beijing 2008 Olympic Games
↑ Lillehammer 1994 , International Paralympic Committee (IPC)
↑ 7.0 7.1 7.2 An introduction to emblems and mascots of Paralympic Games (photos attached) เก็บถาวร 7 กันยายน 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , The Official Website of the Beijing 2008 Olympic Games
↑ Emblems of Paralympic Summer Games – Athens 2004 เก็บถาวร 26 กรกฎาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , The Official Website of the Beijing 2008 Olympic Games
↑ Beijing Paralympics Emblem unveiled (photo attached) เก็บถาวร 6 มีนาคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , The Official Website of the Beijing 2008 Olympic Games, July 13, 2004
↑ Vancouver 2010 paralympic games Emblem Graphic standards เก็บถาวร 2010-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , The Official Website of the Vancouver 2010 Olympic Games
↑ "London 2012 logo to be unveiled" . BBC Sport . 4 June 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-06-04 .
↑ Get involved: Handover – London 2012 เก็บถาวร 29 สิงหาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
↑ Paralympic Emblem เก็บถาวร 4 มกราคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , The Official Website of the Rio 2016 Olympic and Paralympic Games, December 25, 2015
↑ Games symbols and mascots , Get Set – London 2012 Education Programme
↑ "London 2012 offers first look at the Paralympic Torch" . paralympic.org . 29 February 2012.
↑ Stoke Mandeville , Stoke Mandeville to feature in all Paralympic Games Torch Relays
↑ IPC Handbook – Bylaws Governance and Organizational Structure เก็บถาวร 26 สิงหาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (.pdf file ), International Paralympic Committee (IPC)
↑ Susanne Reiff, บ.ก. (2001). "Graeme Connors adds Lyrics to Paralympic Hymn" . The Paralympian . No. 4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2002-01-06. สืบค้นเมื่อ 2017-03-20 .
↑ 19.0 19.1 "Paralympic Winter Games History ", U.S. Olympic Committee .
↑ "Summary of the Opening Ceremony" . Beijing 2008 Olympic Games . 6 September 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 12 September 2008.
↑ "Paralympic Oath" (PDF) . International Paralympic Committee (IPC). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 19 June 2010.
↑ 22.0 22.1 China opens Beijing Paralympic Games in celebration of life and humanity , English People's Daily Online, September 7, 2008
↑ Paralympic Games kick off in Vancouver เก็บถาวร 22 มีนาคม 2010 ที่ archive.today , National Post, March 12, 2010
↑ Abby curl official to read Paralympic oath เก็บถาวร 12 มีนาคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , AbbyNews.com, March 8, 2010
↑ 25.0 25.1 25.2 Michael Hirst BBC 2012 (2012-08-30). "Paralympic Games 'return home' to UK" . Bbc.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2014-02-19 .
↑ "Sochi 2014 Paralympic Opening Ceremony lights up Russia" . paralympic.org. 7 March 2014. สืบค้นเมื่อ 22 March 2014 .
↑ The Paralympian – Issue 1/2010 เก็บถาวร 19 มิถุนายน 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , The Paralympian page 14, International Paralympic Committee (IPC)
↑ Paralympic Order , International Paralympic Committee (IPC)
แหล่งข้อมูลอื่น